ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
หลักการดับเพลิง
สามารถทำได้ 4 วิธีดังนี้
1. การลดความร้อนที่จะทำให้เกิดการระเหย (ELIMINATION HET CAUSING OILVAPOURIZATION)
ไอระเหยของน้ำมัน คือ เชื้อเพลิงความร้อนทำให้น้ำมันระเหยเป็นไอ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องลดความร้อนลงเพื่อไม่ให้น้ำมันระเหยเป็นไอ น้ำเป็นตัวสำคัญที่สุดในการลดความรัอนโดยน้ำที่ฝอยละเอียด จะมีประสิทธิภาพมาก ฝอยน้ำที่ฉีดลงไปบนเปลวไฟจะไปลดความร้อน ซึ่งจะเป็นตวทำให้เกิดการกลายเป็นไอของน้ำมัน และเป็นการลดอุหณภูมิ ของผิวน้ำมัน ซึ่งเป็นการป้องกันการระเหยเป็นไอด้วย นอกจากนั้นยัง เป็นตัวลดความร้อนของวัสดุอุปกรณ์ใกล้เคียงต่างๆให้ต้ำกว่าจุดติดไฟ ของไอน้ำมันด้วย
2. การป้องกันออกซิเจนในอากาศรวมตัวกับเชื้อเพลิง (PREVENT OXYGEN IN AIR COMBINING WITH FUEL)
การป้องกันมิให้ออกซิเจนรวมตัวกับเชื้อเพลิงทำได้สองอย่างคือการใช้แก๊สเฉื่อย ไปลงจำนวนออกซิเจนในอากาศ หรือการใช้สิ่งที่ผนึกอากาศคลุมเชื้อเพลิงไว้ สำหรับพื้นที่ที่เพลิงไหม้ไม่ใหญ่โตนักใช้คาร์บอนไดออกไซด์ ผงเคมีแห้งหรือ ไอน้ำจะได้ผลดี โฟมจะเป็นตัวกั้นอากาศกับเชื้อเพลิงอย่างดี ถ้าสามารถคลุม พื้นที่ ได้ทั้งหมดไม่มีช่องว่าง แต่ใช้กับน้ำมันที่กำลังใหลไม่ได้ ผ้ากระสอบ หรือผ้าหนาที่เปียกๆ สามารถที่จะดับเพลิงที่เกิดในภาชนะที่เล็กๆได้
3. การกำจัดเชื้อเพลิง (ELIMINATE FUEL SUPPLY)
เมื่อขาดเชื้อเพลิงไฟก็จะดับซึ่อสามารถทำได้ดังนี้
-นำเชื้อเพลิงออกจากบริเวณอัคคีภัย หรือโดยการถ่ายทิ้ง(blowdown) สูบน้ำมันออกจากถัง การปิดลิ้นหรือการเปรื่อนทิศทางการไหลเป็นต้น
-ในกรนีที่ขนย้ำยเชื้อเพลิงไม่ได้ ให้ใช่วิธีนำสารอื่นๆมาเคลือบผิว ของเชื้อเพลิงนี้เอาไว้ เช่น โฟม น้ำละลายเกลือ น้ำละลายผงชักฟอก หรือ สารอื่นๆเมื่อฉีดลงบนผิววัสดุแล้วจะปรกคุมอยู่นานตราเท่าที่น้ำ หรือสารเคมีที่ผสมในน้ำไม่สลายตัว
4. การตัดปฏิกิริยาลูกโซ่ (CHAIN REACTION)
เป็นวิธีการดับเพลิงแบบใหม่ที่ได้ผลมากโดยการใช้สารบางชนิดที่มีความไวต่อออกซิเจนมากฉีดลง สารดังกล่าวแก่พวก ไฮโดรคาร์บอน ประกอบกับฮาโลเจน(HALOGENATED HYDROCARBON)ซึ่งสารฮาโลเจน ได้แก่ไอโดดีโบรมีน ครอรีนและฟลูออลีน(เรียงตาลำดับความสามารถในการใช้งาน )สารดับเพลิงประเภทนี้เรียกว่า"ฮาลอน(HALON)"เป็นต้น
การแยกประเภทของไฟ
แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามมาตรฐาน NFPA
ไฟประเภท A เป็นเพลิงที่ลุกไหม้จาก ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติก ยาง เป็นต้น
ไฟประเภท B เป็นเพลิงที่ลุกไหม้จากของเหลวติดไฟชนิดต่างๆ สารเคมี ก๊าซ น้ำมัน
ไฟประเภท C เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟอยู่
ไฟประเภท D เป็นเพลิงไหม้โลหะ หรือสารเคมีที่เป็นโลหะ
แหล่งกำเนิดอัคคีภัย
การป้องกันและลดความสูญเสียจากอัคคีภัย
หลักการดับเพลิง
เครื่องมือดับเพลิงชนิดต่างๆ
สารพิษต่างๆที่อยู่ในควันไฟที่อาจเกิดขึ้นขณะเกิดเพลิงไหม้