ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
ขั้นตอนในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นวางแผน
ขั้นเตรียมการ ขั้นผลิตและขั้นประเมิน
1. ขั้นวางแผน ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้
- แต่งตั้งกลุ่มผลิตรายวิชา ประกอบด้วย ประธาน บรรณาธิการ
นักวิชาการด้านเนื้อหา นักเทคโนโลยีการศึกษาและผู้จัดการหรือเลขานุการ
- พิจารณาคัดเลือกผู้เขียนได้แก่ อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
เพื่อเขียนเนื้อหาสาระสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละ รายวิชา
โดยพิจารณาจากคุณวุฒิและประสบการณ์ที่ตรงกับเนื้อหาสาระที่จะเขียนในรายวิชานั้นๆ
แล้วจึงเสนอชื่อผู้เขียน
โดยฝ่ายเลขานุการจะเป็นผู้จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและผลงานของทุกท่านเสนอไปยังโครงการการศึกษาไร้พรมแดน
เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโครงการ
นำเสนอสภาวิชาการเพื่อพิจารณาและอนุมัติต่อไป
- เมื่อสภาวิชาการพิจารณาอนุมัติกลุ่มผลิตรายวิชาแล้ว
ประธานกลุ่มผลิตรายวิชาจะแจ้ง
และมอบหมายงานให้ผู้เขียนในแต่ละหน่วยไปพิจารณาและจัดทำรายละเอียด
เกี่ยวกับการแบ่งหน่วยการสอนเป็นตอนและหัวเรื่อง
โดยผู้เขียนในแต่ละหน่วยจะไปจัดทำแผนผังแนวคิดของแต่ละหน่วย แล้วกำหนดชื่อตอน
ชื่อหัวเรื่อง และหัวเรื่องย่อย
แล้วจึงนำโครงร่างดังกล่าวเสนอกลุ่มผลิตรายวิชาเพื่อพิจารณา
- กลุ่มผลิตรายวิชาจะร่วมกันพิจารณาชื่อตอนและหัวเรื่องที่ผู้เขียน
แต่ละหน่วยเสนอมา โดยพิจารณาความ สอดคล้องและความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
ทั้งในหน่วยการสอนและระหว่างหน่วยการสอน เป็นการป้องกันความซ้ำซ้อน
ที่อาจเกิดขึ้น
- กลุ่มผลิตรายวิชามีประธานเป็นผู้ดูแลการผลิตชุดวิชานั้น
ประธานอาจเป็นบรรณาธิการเอง
หรือคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมในกลุ่มผลิตมาเป็นบรรณาธิการแทน
ซึ่งผู้ที่เป็นบรรณาธิการนี้จะต้องเป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ในเนื้อหาสาระทั้งหมด
คอยตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาสาระ ความถูกต้องของภาษาและรูปแบบ
ทั้งยังต้องคอยติดต่อประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในการจัดพิมพ์
ดังนั้นบรรณาธิการจะต้องเป็นผู้ที่มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีความรับผิดชอบสูง
เพื่อให้สื่อสิ่งพิมพ์มีมาตรฐานและเสร็จทันเวลากำหนด
- ในการเตรียมเนื้อหาสาระที่จะจัดพิมพ์ ผู้เขียนแต่ละท่านจะใช้โปรแกรม
Microsoft Word ในการเขียนเนื้อหาแล้วเก็บบันทึกข้อมูลลงในแผ่นดิสก์ในรูปแบบของ
Word Document File โดยมีกำหนดระยะเวลา ที่แน่นอนในการส่งต้นฉบับ (Hard Copy)
ให้ผู้เขียนส่ง พร้อมแผ่นดิสก์ให้แก่กลุ่มผลิตรายวิชา เพื่อร่วมกันตรวจสอบ
ความถูกต้องของเนื้อหาวิชาที่เสนอ ความยากง่าย ความทันสมัยของเนื้อหาและข้อมูล
และความถูกต้องของการใช้ภาษา และศัพท์เฉพาะ
ถ้ามีข้อขัดแย้งหรือเกิดปัญหาในเรื่องความถูกต้องของเนื้อหา
บรรณาธิการจะเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับผู้เขียนหรือประธานกลุ่มผลิตรายวิชา
เพื่อหาข้อยุติและตรวจสอบครั้งสุดท้ายก่อนนำส่งให้นักวิชาการการพิมพ์เพื่อจัดวางรูปหน้า
(Layout) ใหม่ในคอมพิวเตอร์ระบบแมคอินทอช
-
นักวิชาการการพิมพ์จัดรูปหน้าสิ่งพิมพ์โดยใช้โปรแกรมจัดวางรูปหน้าชั้นสูงคือโปรแกรม
Adobe PageMaker ช่วยในการจัดการ โดยนักวิชาการการพิมพ์จะทำการเปลี่ยนแปลง
ตัวอักษรและรูปแบบจาก Word Document File ที่ผู้เขียนใช้เขียนต้นฉบับมาเป็น
PageMaker File แทน (PageMaker ใช้กันทั่วไปในสำนักพิมพ์ในเมืองไทย)
ถ้าสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทไหนหรือเล่มใดที่ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมจัดการชั้นสูงในการจัดทำ
Layout นักวิชาการการพิมพ์ก็จะใช้โปรแกรม Microsoft Word
ของคอมพิวเตอร์ระบบพีซี ซึ่งเป็น Format เดียวกันกับที่ผู้เขียนจัดส่งมาให้
ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนในการผลิต และเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดทำ
- เพื่อให้สิ่งพิมพ์มีรูปแบบแสดงเอกลักษณ์โดดเด่นของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จึงกำหนดการใช้ขนาดของกระดาษปกให้เป็นกระดาษอารต์การ์ด น้ำหนัก 210 กรัมต่อตารางเมตร ขนาด A4 (210 x 297 มิลลิเมตร) และกระดาษเนื้อในเป็นกระดาษปอนด์ขาว น้ำหนัก 60 กรัมต่อตารางเมตร ขนาด A4 (210 x 297 มิลลิเมตร) ส่วนตัวอักษรในสื่อสิ่งพิมพ์ทุกชนิดให้เป็นอักษร AngsanaUPC
2. ขั้นเตรียมการ
ในการเตรียมการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มหาวิทยาลัยต้องจัดตั้งศูนย์หรือหน่วยงานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ขึ้น
พร้อมทั้งจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญใน
การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และอุปกรณ์ในการออกแบบ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบพีซี
เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบแมคอินทอช เครื่องสแกนเนอร์
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ความเร็วสูง(ขาว/ดำ) และZip Drive
รวมไปถึงการจัดหาอุปกรณ์ในการพิมพ์ เช่น กระดาษปก และกระดาษสำหรับพิมพ์
เนื้อหาสาระของเอกสารแต่ละประเภท
3. ขั้นผลิต
เมื่อนักวิชาการการพิมพ์ได้รับข้อมูลที่จะผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจากบรรณาธิการ
ก็จะจัดทำ Layout ให้เป็นมาตรฐานตามแบบที่ทางมหาวิทยาลัยกำหนด
นักวิชาการการพิมพ์จะทำการพิมพ์ Dummy
ออกมาเพื่อส่งกลับไปให้ผู้เขียนและบรรณาธิการได้ตรวจสอบเนื้อหาสาระและรูปแบบอีกครั้ง
ว่าตรงกับที่ผู้เขียนต้องการนำเสนอหรือไม่
ผู้เขียนและบรรณาธิการสามารถแก้ไขหรือเพิ่มเติมเนื้อหาสาระใน Dummy นั้นได้เลย
แล้วส่งกลับไปยัง นักวิชาการการพิมพ์เพื่อทำการปรับแต่ง
จนกว่าจะเรียบร้อยสมบูรณ์และไม่มีข้อผิดพลาดใด ๆ
เมื่อเนื้อหาที่จะนำเสนอมีความถูกต้องสมบูรณ์แล้วนักวิชาการการพิมพ์ก็จะพิมพ์ออกมาอีกครั้งเป็น
ฉบับสมบูณ์เพื่อส่งต่อไปที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษาดำเนินการผลิตเป็นสิ่งพิมพ์ตามจำนวนที่ต้องการต่อไป
4. ขั้นประเมิน
ในการประเมินคุณภาพของสื่อสิ่งพิมพ์นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากนักศึกษาทุกท่าน เพื่อให้ได้รับข้อมูลที่สอบถามกลับมาและนำข้อมูลเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์นั้นๆ ให้ได้คุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
การประเมินผลสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทของการพิมพ์