ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
หลักการสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1. การระบุค่าต่าง ๆ ของโปรแกรม
ได้แก่ ค่ากำหนดแถบไม้บรรทัด (Ruler) ว่าเป็นนิ้ว, เซนติเมตรหรือ มิลลิเมตร
และยังมีการกำหนดระยะกระโดด หรือที่เรียกว่า Tab ซึ่งควรปรับแต่งค่าเหล่านี้
ก่อนการพิมพ์ให้เหมาะกับความถนัดและเหมาะกับงานพิมพ์นั้น
จะช่วยให้การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เกิดความสะดวกรวดเร็ว และตรงกับความต้องการ
2. การกำหนดค่าของกระดาษ กระดาษแบ่งตามผิวได้ 2 ประเภทคือ
- กระดาษไม่เคลือบผิว เป็นกระดาษที่ไม่มีการเคลือบของผิวกระดาษด้วยสารใด ๆ
จะมีลักษณะ เป็นผิวขุรขระ
- กระดาษเคลือบผิว เป็นกระดาษที่มีการเคลือบผิวด้วยสารเคมีที่ผิวกระดาษ เพื่อให้เกิดความมัน และเรียบ ซึ่งมาตรฐานสิ่งพิมพ์ขององค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน ISO (International Organization for Standardization) แบ่งมาตรฐานกระดาษไว้ 3 ชุด ชุด A และ B สำหรับงานพิมพ์ทั่วไป และชุด C สำหรับงานซองจดหมาย ซึ่งกระดาษจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า สัดส่วนความกว้างและความยาวอยู่ที่ 1 : 1.414 โดยประมาณ
3. การตั้งค่าเครื่องพิมพ์
ได้แก่ การตั้งระยะกั้นหน้า (Left Margin) การตั้งระยะกั้นหลัง (Right Margin) การตั้งระยะขอบบน (Top Margin) หรือการตั้งระยะขอบล่าง (Bottom) เครื่องพิมพ์ แต่ละประเภท แตกต่างกัน หากไม่ได้กำหนดค่าเครื่องพิมพ์ งานพิมพ์ที่ได้อาจเสียระยะในการจัดพิมพ์ไว้ในเอกสาร
ขั้นตอนการออกแบบสิ่งพิมพ์
- เก็บรวบรวมข้อมูลของสิ่งพิมพ์
- สรุปลักษณะต่าง ๆ เช่น ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์, ลักษณะกระดาษ
- ออกแบบแนวคิดสื่อสิ่งพิมพ์ว่าต้องการให้ออกมาให้รูปแบบใด
- ทดลองทำและแก้ไขในสิ่งที่ต้องการปรับปรุง
- พิมพ์สื่อสิ่งพิมพ์
กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
1. ภาพรวมในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
มุ่งการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้แสดงเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีอย่างโดดเด่น
โดยกำหนดสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทให้มีขนาดและรูปแบบเฉพาะแบบเดียวกัน
เพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์และบูรณภาพ
2. บทบาทอาจารย์ นักวัดผล นักเทคโนโลยีการศึกษา และนักศึกษา
ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นั้นต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานจากบุคคลหลายกลุ่มที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีความเข้าใจและร่วมมือที่ดีต่อกันระหว่างกลุ่มบุคคลเหล่านี้ ได้แก่ อาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นนักวิชาการด้านเนื้อหา เป็นผู้เขียนเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาที่จะนำมาผลิตเป็น สื่อสิ่งพิมพ์
นักวัดผลการศึกษา มีบทบาทร่วมกับนักวิชาการด้านเนื้อหาในการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียน ออกแบบประเมินก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน การจัดทำข้อสอบประเภทต่าง ๆ เพื่อเป็นเครื่องมือใช้ในการประเมินผลการศึกษา รวมไปถึงการวิเคราะห์ข้อสอบและการสร้างคลังข้อสอบประจำวิชา
นักเทคโนโลยีการศึกษา มีบทบาทในการออกแบบภาพประกอบและกราฟฟิคของสื่อสิ่งพิมพ์
นักศึกษา มีบทบาทที่สำคัญในการเรียนรู้และร่วมทดสอบ ประเมินประสิทธิภาพของสื่อสิ่งพิมพ์ โดยให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้สื่อสิ่งพิมพ์
3. อุปกรณ์การผลิต
ในระยะแรกที่ทางมหาวิทยาลัยยังไม่มีโรงพิมพ์เป็นของตนเอง สื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภทสามารถดำเนินการผลิตได้ที่ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา และอุปกรณ์ที่ใช้ในการออกแบบสิ่งพิมพ์ซึ่ง ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง อาทิเช่น เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ Zip Drive เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้จะต้องเป็นเครื่องมือที่ทันสมัยและมีความเร็ว
4. สภาพแวดล้อมในการผลิต
ตามที่มหาวิทยาลัยจัดตั้งหน่วยผลิตและพัฒนาสื่อการศึกษา เพื่อเป็นหน่วยกลางในการผลิตสื่อมัลติมีเดีย ทั้งสื่อภาพ สื่อเสียง สื่อกราฟิก และสื่อพิมพ์ เพื่อนำไปใช้ในระบบการศึกษาไร้พรมแดนและเพื่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นในมหาวิทยาลัย งานผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกของหน่วยฯ นี้ได้ โดยสภาพแวดล้อมในด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์นั้นต้องให้มีความเหมาะสมในด้านบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการออกแบบสื่อโดยมีอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะสม
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
บทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์
การออกแบบและจัดหน้าสื่อสิ่งพิมพ์
ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์
การประเมินผลสื่อสิ่งพิมพ์
ประเภทของการพิมพ์