ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
นโยบายการแทรกแซงกลไกราคาน้ำมันในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516
เนื่องจากในขณะนั้นเกิดวิกฤตการณ์ราคาน้ำมันขึ้นทั่วโลกราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศสูงขึ้น
และเกิดการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น
รัฐบาลจึงได้ดำเนินการการออกพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวการณ์ขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. 2516 เพื่อให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในการออกมาตรการต่างๆ
เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
จนกระทั่งในปี 2520 กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม (Organization of
the Petroleum Exporting Countries : OPEC) ได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ
แต่รัฐบาลได้ขึ้นราคาขายปลีกในสัดส่วนที่น้อยกว่าราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น
รัฐบาลโดยใช้มาตรการลดอัตราภาษีผลิตภัณฑ์น้ำมันลงตามส่วนของต้นทุนน้ำมันดิบ
แต่ในกรณีน้ำมันเตาการลดอัตราภาษีไม่พอเพียงกับต้นทุนราคาน้ำมันดิบ
รัฐบาลจึงได้ใช้วิธีลดภาษีที่เก็บจากน้ำมันเบนซินมากกว่าต้นทุนที่เพิ่ม
และกันเงินส่วนนี้ไว้ในกองทุน
โดยได้อาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.
2516
เรื่องการกำหนดให้ผู้ค้าน้ำมันส่งเงินเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและการจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ค้าน้ำมัน
เพื่อจัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้โรงกลั่นน้ำมัน
และผู้นำเข้าส่งเงินเข้ากองทุน และเงินกองทุนนี้นำไปชดเชยให้ผู้ค้าน้ำมันเตา
ในปี พ.ศ. 2521 รัฐบาลได้ประกาศเพิ่มค่าเงินบาท
ทำให้ผู้นำเข้าน้ำมันได้กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
รัฐบาลเห็นว่ากำไรที่เกิดขึ้นไม่ใช่กำไรจากการดำเนินงาน
จึงได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 206/2521 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2521
จัดตั้งกองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ)
และกำหนดให้ผู้นำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงนำส่งกำไรที่เกิดจากการเพิ่มค่าเงินบาทเข้ากองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
(เงินตราต่างประเทศ) เพื่อเก็บไว้ใช้ทดแทนเมื่อราคาน้ำมันดิบเพิ่มสูงขึ้น
ในปี พ.ศ. 2522 ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนมากขึ้นเพราะ
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียมได้ประกาศขึ้นราคาน้ำมันดิบ 4 ครั้ง
ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ
ไม่ให้ผันผวนไปตามการเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
และรัฐบาลต้องการรวมกองทุนต่างๆ
ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นกองทุนเดียว
จึงได้จัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขึ้น ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0201/9
ลงวันที่ 27 มีนาคม 2522 โดยรวมกองทุนรักษาระดับน้ำมันเชื้อเพลิง กับ
กองทุนรักษาระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เงินตราต่างประเทศ) เข้าด้วยกัน
ปี 2546
เกิดความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกขึ้นมาอีกครั้งโดยมีสาเหตุสำคัญมาจากเหตุการณ์ต่างๆดังนี้
- การทำสงครามของสหรัฐอเมริกาในประเทศอิรักซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่
- ปัญหาทางการเมืองในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกจากปัญหาดังกล่าวทำให้เวเนซุเอลาไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบได้
- น้ำมันสำรองของสหรัฐอเมริกาลดระดับลง
รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะนั้น
ไม่ต้องการให้ความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อสภาวะเศรษฐกิจ
จึงกำหนดมาตรการตรึงราคาน้ำมัน
เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจซึ่งมาตรการครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพราะความผันผวนมีระยะสั้นราคาน้ำมันก็กลับสู่ภาวะปกติ
ในปี 2547 ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกครั้ง
รัฐบาลจึงออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 4/2547 เรื่อง
กำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
(มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547)
เป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ. 2516 เพื่อดำเนินมาตรการแทรกแซงราคาน้ำมันโดยการตรึงราคาน้ำมัน
การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
รายรับและรายจ่ายของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
การลำดับเหตุการณ์การแทรกแซงราคาของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ที่มา http://www.efai.or.th/index-theoil.html