ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
นาฏศิลป์ไทย
ในสังคมของมนุษย์ที่เกิดมาในแต่ละประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเชื่อชาติ ภาษา หรือเพศใดก็ตามถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน
แต่สิ่งที่ทุกชาติทุกภาษาจะต้องมีเป็นเอกลักษณ์สิ่งนั้นคือ "ศิลปะ"
ซึ่งเป็นสิ่งที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันนี้
ไม่มีใครสามารถแย่งชิงไปได้ และยังเป็นเอกลักษณ์เด่นชัดของชาตินั้น ๆ
ที่จะต้องหวงแหน และรักษามิให้หมดสิ้นไป
ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน
มีศิลปวัฒนธรรมที่บ่งถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ จนเป็นที่ชื่นชอบของนานาประเทศ
ที่ได้พบเห็นความงดงามในศิลปวัฒนธรรมไทย ถึงแม้ว่าในสังคมปัจจุบัน
กำลังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากต่างชาติ
อันหลากหลายที่กำลังหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยก็ตาม
แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังสามารถอนุรักษ์และสืบทอดได้มาจนถึงทุกวันนี้ ก็คือ
"นาฎศิลป์" อันเป็นศิลปะประจำชาติที่คนไทยทุกคนควรช่วยกันรักษ์และให้การสนับสนุน
เพื่อให้ศิลปะนี้คงอยู่สืบไปในอนาคต
นาฏศิลป์ ความหมายโดยรวม คือ ศิลปะการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่าง ๆ
ของร่างกายอย่างปราณีต อ่อนช้อย จนเกิดความงดงามวิจิตรบรรจง
คำว่า "นาฎศิลป์" เป็นคำสมาส แยกได้เป็น 2 คำ คือ นาฎ และ ศิลป์
นาฎ หมายถึง การร่ายรำและการเคลื่อนไหวไปมา สันสฤตใช้รูปศัพท์คำว่า นฤตย
ภาษามคธใช้คำว่า นจจ และคำว่า นฤตย
เป็นชื่อย่างหนึ่งของการฟ้อนรำบวงสรวงพระผู้เป็นเทวาลัย
โดยเลือกเอาจังหวะและท่ารำที่เป็นไปด้วยท่าเคารพสักการะ
และเลือกตอนที่แสดงเป็นการกระทำนับเนื่องในชีวประวัติของผู้เป็นเจ้า ส่วนคำว่า สจจ
มีคำอธิบายเพิ่มเติม ได้แก่ การฟ้อนรำ
นับตั้งแต่การฟ้อนรำพื้นเมืองของชาวบ้านตลอดไป จนถึงการฟ้อนที่เรียกว่าระบำของนางรำ
ระบำเดี่ยว ระบำคู่ ระบำชุด
ศิลปะ ความหมายศิลปะกว้างขวางออกไปตามความคิดของแต่ละแขนงสาขา
ซึ่งจะกำหนดแน่นอนไม่ได้เนื่องจากมีการเปลงอยู่เสมอ ในสมัยแรกๆ ศิลปะหมายถึง
การช่างทั่วๆ ไป ต้องใช้ฝีมือปฏิบัติโดยอาศัยมือ ความคิด และความชำนาญ
ในการที่จะประกอบวัตถุนั้นๆ ให้บังเกิดความงดงามประณีต ละเอียดอ่อน
ก่อให้เกิดความชื่นชมยินดีแก่ผู้ที่ได้พบเห็น
ศิลปะ อาจหมายถึง การแสดงออกเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์การลอกเลียนแบบ
การถ่ายทอดความหมายต่างๆ หรือเป็นสิ่งที่มนุษย์เกิดจินตนาการในอันที่จะแสดงคุณค่า
แห่งความงามออกมาในรูปแบบต่างๆ หรือได้พบเห็นจากธรรมชาติ แล้วนำมาดัดแปลง
ประดิษฐ์ขึ้นให้มีความวิจิตรละเอียดอ่อนซาบซ้ำ
ศิลปะนั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ทุกลักษณะ
ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งที่จำนำศิลปะอันสูงส่งปรากฎแก่มวลมนุษย์ คือ แรงบันดาลใจ
ศิลปะที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องให้ความเพลิดเพลิน นิยมยินดี ซาบซึ่งแก่ผู้ดู ผู้ชม
รวมทั้งความคิด สติปัญญา ความงามด้านสุนทรียภาพ
ศิลปะ เป็นคำ ภาษาสันสฤต (ส.ศิลป ซ ป. สิปป ว่า มีฝีมือยอดเยี่ยม)
ซึ่งหมายถึง การแสดงออกมาให้ปรากฎขึ้นอย่างงดงามน่าพึงชม ก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ
ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Arts"
ศิลปะ อาจแบ่งแยกออกตามความสำคัญดังนี้
1. วิจิตร ศิลป์ หรือประณีตศิลป์ (Fine Arts)
เป็นศิลปะแห่งความงามที่มุ่งหมายเพื่อช่วยสนองความต้องการทางอารมณ์ จิตใจ สติปัญญา
ก่อให้เกิดความสะเทือนใจ นับเป็นศิลปะบริสุทธิ์ที่สร้างสรรค์ จากสติปัญญา จิตใจ
ร่วมกับความเจริญทางด้านสุนทรียภาพของศิลปินแต่ละคน แสดงออกโดยใช้ฝีมือเป็นส่วนใหญ่
แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. วรรณกรรม ( Literature )
2. ดนตรีและนาฎศิลป์ ( Music and Drama )
3. จิตกรรม ( Painting )
4. ประติมากรรม ( Sculpture )
5. สถาปัตยกรรม (
Architecture )
วิจิตรศิลป์ 5 ประเภทนี้ ก่อให้เกิดอารมณ์และพุทธิปัญญา กล่าวคือ
มนุษย์อาศัยศิลปะเพื่อแสวงหาความดี และความบันเทิงใจให้แก่จิตใจคน
เห็นคุณค่าทางศาสนาและวรรณคดี ความสง่างามแห่งสถาปัตยกรรม บังเกิดความพอใจ
และมีอารมณ์คล้อยตามไปกับความรู้สึกนึกคิดของเรื่องราวและการแสดงออกของศิลปิน
2. ประยุกต์ศิลป์ ( Applied Arts) เป็นศิลปะแห่งอัตถประโยชน์
เพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์และด้านวัตถุที่ก้าวหน้า
โดยนำไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับหัตถกรรมและโภคภัณฑ์ เช่น เครื่องใช้ภายในบ้าน
การประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย อาหาร
ซึ่งศิลปะในการจัดตกแต่งให้มีความงดงามส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจและอารมณ์
3. มัณฑณศิลป์ (Decorative Arts) เป็นศิลปะแห่งการตกแต่งประดับประดา
เช่นการตกแต่งสวน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ ห้องรับแขก
โดยใช้ศิลปะในการจัดตกแต่งให้มีความงดงาม ส่งเสริมคุณค่าทางจิตใจและอารมณ์
4. อุตสาหกรรมศิลป์ หรือพาณิชยศิลป์ (Industrial or Commercial Arts)
เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นเพื่อประโยชน์ ในการใช้สอยส่วนใหญ่
ทำเป็นอุตสาหกรรมในครอบครัว หรือในโรงงานอันเป็นผลิตผล เพื่อการเงิน เช่น
การผลิตเครื่องปั้นดินเผา งานไม้ งานโลหะ เป็นต้น ส่วนด้านพาณิชยศิลป์นั้น คือ
ศิละเกี่ยวกับการค้า ซึ่งต้องพยายามออกแบบให้เหมาะสมหรือถูกรสนิยมของประชาชน ได้แก่
ศิลปะการโฆษณา การจัดตู้โชว์ ภาพโปสเตอร์
5. ศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Arts)
เป็นศิลปะเพื่อสนองตอบอารมณ์ของศิลปินในการแสดงผลงานของตนออกมาในรูปความคิดอิสระ
โดยมิได้มุ่งหวังให้มีผลทางการเงินเป็นสำคัญ
นับเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นเพื่อศิลปะโดยแท้จริง
6. Plastic Arts เป็นศิลปะประเภทที่มีรูปทรง คือ
มีคุณค่าเชิงสามมิติ (Three Dimensions) มีความกว้าง สูง (ยาว) และความลึก
(มีปริมาตรและน้ำหนัก) ได้แก่ จิตรกรรมภาพพิมพ์ (Graphic Arts )
รวมทั้งประติมากรรมและสถาปัตยกรรมด้วย
ศิลปะที่กล่าวมานี้
ล้วนเป็นศิลปะที่มีคุณค่าทางความงามในแต่ละสาขาตามแนวต่างๆ การให้ความคิด
การสร้างสรรค์แตกต่างกันออกไป สรุปรวมได้ว่า ศิลปะทุกประเภท
มีจุดมุ่งหมายเป็นจุดเดียวกัน ก็คือ สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นที่นิยมยินดี
ขัดเกลาความคิดและจิตใจให้ผ่องใส อันจะก่อให้เกิดความสุขแก่มวลมนุษย์โดยทั่วไป
ศิลปะ ได้แก่ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น
โดยดัดแปลงจากธรรมชาติให้ประณีตงดงาม
ดังนั้น คำว่า "นาฎศิลป์" จึงประมวลได้ว่า คือ
การฟ้อนรำที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติด้วยความประณีตอันลึกซึ่ง
เพียบพร้อมไปด้วยความวิจิตรบรรจงอันละเอียดอ่อนนอกจาก หมายถึง การฟ้อนรำ ระบำรำเต้น
ยังหมายถึงการ้องและการบรรเลงด้วย
นาฏศิลป์ไทย จำแนกออกได้เป็น
การแสดงโขน (Khon) หมายถึง
ศิลปะการแสดงที่มุ่งการเต้นให้เข้าจังหวะเพลงดนตรีหน้าพาทย์
ผู้แสดงส่วนใหญ่จะสวมหัวโขน นิยมใช้ผู้ชายแสดง ตัวแสดงแบ่งเป็น พระ นาง ยักษ์
และลิง โขนแต่งกายแบบยืนเครื่อง มีผู้พากย์และเจรจาแทน
ผู้แสดงไม่ต้องร้องและเจรจาเองเพียงแต่ทำท่าทางตามบทพากย์และคำร้อง
เรื่องที่นำมาแสดงคือรามเกียรติ์ (Ramakian)
การแสดงละคร (Drama) หมายถึง ศิลปะที่แสดงเป็นเรื่องราว
มีเหตุการณ์เกี่ยวโยงเป็นตอน ๆ มุ่งการร่ายรำประกอบเพลงขับร้องและดนตรี
นิยมใช้ผู้หญิงแสดง มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดความรื่นเริง บันเทิงใจ
ความสนุกสนานเพลิดเพลินและสอดแทรกแนวความคิด คติธรรมและปรัชญาแก่ผู้ดูผู้ชม
การแสดงรำและระบำ (Thai Dance)
หมายถึงศิลปะแห่งการร่ายรำประกอบเพลงดนตรีและบทขับร้อง โดยไม่เล่นเป็นเรื่องราว
ในที่นี้หมายถึงรำและระบำที่มีลักษณะเป็นการแสดงแบบมาตราฐาน
ซึ่งมีความหมายที่จะอธิบายได้พอสังเขปดังนี้
1. รำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 1-2 คน
เช่นการรำเดี่ยว การรำคู่ การรำอาวุธ เป็นต้น
มีลักษณะการแต่งกายตามรูปแบบของการแสดง ไม่เล่นเป็นเรื่องราว
อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี มีกระบวนท่ารำ
โดยเฉพาะการรำคู่จะต่างกับระบำ
เนื่องจากท่ารำจะมีความเชื่อมโยงสอดคล้องต่อเนื่องกัน
และเป็นบทเฉพาะสำหรับผู้แสดงนั้น ๆ เช่น รำเพลงช้า เพลงเร็ว รำแม่บท รำเมขลา
รามสูร เป็นต้น
2. ระบำ หมายถึง ศิลปะแห่งการร่ายรำที่มีผู้แสดงตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
มีลักษณะการแต่งกายคล้ายคลึงกัน กระบวนท่าร่ายรำคล้ายคลึงกัน ไม่เล่นเป็นเรื่องราว
อาจมีบทขับร้องประกอบการรำเข้าทำนองเพลงดนตรี
ซึ่งระบำแบบมาตรฐานมักบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ การแต่งกายนิยมแต่งกายยืนเครื่องพระ
นางหรือแต่งแบบนางในราชสำนัก เช่น ระบำสี่บท ระบำกฤดาภินิหาร ระบำฉิ่ง