ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
การแต่งองค์ทรงเครื่อง
การแสดงนาฏศิลป์ไทย ทั้งโขนและละครนั้นได้จำแนกผู้แสดงออกเป็น 4 ประเภทตามลักษณะของบทบาทและการฝึกหัดคือ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวลิง ซึ่งในแต่ละตัวละครนั้น นอกจากบุคลิกลักษณะที่ถ่ายทอดออกมาให้ผู้ชมทราบจากการแสดงแล้ว เครื่องแต่งการของผู้แสดงก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่า ผู้นั้นรับบทบาทแสดงเป็นตัวใดเครื่องแต่งการนาฏศิลป์ไทยมีความงดงามและกรรมวิธีการประดิษฐ์ที่วิจิตรบรรจงเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะที่มาของเครื่องแต่งกายนาฎศิลป์ไทยนั้น จำลองแบบมาจากเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์(เครื่องต้น) แล้วนำมาพัฒนาให้เหมาะสมต่อการแสดง ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ฝ่าย ดังนี้
เครื่องแต่งตัวพระ
คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นผู้ชายประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
เครื่องแต่งตัวนาง
คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงหรือผู้รำที่แสดงเป็นหญิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
สำหรับเครื่องแต่งตัวพระและนางดังกล่าวนี้ จะใช้แต่งกายสำหรับผู้ระบำมาตราฐาน เช่น ระบำสี่บท ระบำพรหมาสตร์และระบำกฤดาภินิหาร เป็นต้น และยังใช้แต่งกายสำหรับตัวละครในการแสดงละครนอกและละครในด้วย ส่วนในระบำเบ็ดเตล็ด เช่น ระบำนพรัตน์ ระบำตรีลีลา ระบำไตรภาคี ระบำไกรลาสสำเริง ระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ หรือระบำสัตว์ต่าง ๆ จะใช้เครื่องแต่งกายตามความเหมาะสมกับการแสดงนั้น ๆ เช่น นุ่งโจงกระเบน ห่มผ้าสไบ และสวมชุดไทยต่าง ๆ เป็นต้น ตลอดจนยังมีการแสดงหรือการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองของท้องถิ่นต่าง ๆ ซึ่งจะมีการแต่งกายที่แตกต่างกันไปตามแต่ละท้องถิ่นด้วย
เครื่องแต่งตัวยักษ์ (ทศกัณฐ์ )
คือ เครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
เครื่องแต่งตัวลิง (หนุมาน)
คือเครื่องแต่งกายของผู้แสดงเป็นตัวลิงประกอบด้วยส่วนประกอบของเครื่องแต่งกายดังนี้
- การละเล่นพื้นเมือง (Folk Dance)
- การแต่งองค์ทรงเครื่อง