วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
อปริหานิยธรรม 7
อปริหานิยธรรม 7 หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เสื่อม 7 ประการ ผู้ปฏิบัติ ธรรมนี้จะเป็นไปเพื่อความเจริญทั้งฝ่ายบ้านเมืองและฝ่ายสงฆ์ คือ
ฝ่ายบ้านเมือง
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์ การอยู่ร่วมกัน
การทำงานร่วมกันของคนในสังคมจะต้องมีการพบปะ ประชุมปรึกษาหารือกันสม่ำเสมอ
เพื่อแก้ไขปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
ยอมรับในเหตุผลที่ถูกต้องที่เป็นประโยชน์
เพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกันของทุกคนในสังคมซึ่งความเจริญไม่เกิดความเสื่อมในทุกกรณี
เช่น ในครอบครัว พ่อ แม่ ลูก มีอะไรพูดกันปรึกษากัน ลูกก็จะอบอุ่น
ปัญหาลูกไปติดยาเสพย์ติด ก็จะไม่เกิดขึ้น ในสถานที่ทำงาน
หัวหน้ามีการประชุมปรึกษากับผู้ร่วมงานทุกครั้ง งานก็จะราบรื่น หากมีข้อผิดพลาด
ทุกคนก็จะยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น 2. พร้อมเพรียงกันประชุม
เลิกประชุมและกระทำกิจที่ควรทำ
เพื่อให้เกิดความยุติธรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหมู่คนที่อยู่รวมกันไม่กินแหนงแคลงใจกัน
จะทำงานอะไรก็สำเร็จได้ เช่นในครอบครัวมีอะไรปรึกษาหารือกันก็ต้องอยู่พร้อมๆ
กันเพื่อทุกคนจะได้ยอมรับในสิ่งที่จะทำลงไปด้วยความเต็มใจ
3.
ไม่บัญญัติสิ่งที่ยังไม่ได้บัญญัติและไม่เลิกล้มสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว เช่น
บ้านเมืองจะสงบสุขได้ ทุกคนจะต้องบัญญัติและไม่ล้มเลิก ระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ
ของคณะและสังคมตามความพอใจของตนหรือของกลุ่มโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง ตัวอย่าง
เช่น นักเรียนจะต้องแต่งเครื่องแบบของโรงเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
จะแต่งกายตามใจตนเองไม่ได้
4.
เคารพนับถือผู้ใหญ่การเคารพและรับฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
เพราะผู้ใหญ่เกิดก่อน ผ่านประสบการณ์มามากกว่า
ประกอบกับการอยู่ร่วมกันในสังคมต้องมีผู้นำ ถ้าเราให้การเคารพและเชื่อฟังผู้นำ
สังคมก็จะไม่วุ่นวาย เช่น ถ้าลูกเชื่อฟังพ่อ แม่
ก็จะเป็นคนดีได้เพราะไม่มีพ่อแม่คนไหน อยากลูกตนเองให้ชั่ว
5. ไม่ข่มเหงล่วงเกินสตรี สตรีถือว่าเป็นเพศแม่ เป็นเพศที่อ่อนแอ
บุรุษควรให้เกียรติให้ การยกย่อง ปกป้องไม่ให้ใครละเมิดสิทธิหรือข่มเหงรังแก
ถ้าสังคมใดๆ ผู้หญิงถูกฉุดคร่าข่มขืน มากๆ ความเสื่อมก็จะเกิดกับสังคมนั้น
6. สักการะเคารพเจดีย์
หมายถึงการให้ความเคารพและปกป้องรักษาปูชนียสถานที่สำคัญในศาสนา
เพื่อจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของกลุ่มคนในหมู่คณะที่อยู่ร่วมกันและระลึกถึงกันเช่น
การเคารพพระปฐมเจดีย์
7. ให้การอารักขา คุ้มครอง อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์
คือการคุ้มครองบรรพชิตซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาให้คงอยู่ตลอดไป
เช่นการทำบุญด้วยปัจจัย 4 เป็นต้น
ฝ่ายพระสงฆ์
1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
ในกิจของสงฆ์ที่ต้องทำร่วมกันไม่ว่าเรื่องเล็กหรือใหญ่ เช่น การทำอุโบสถสังฆกรรม
2. พร้อมเพรียงกันประชุม
เลิกประชุมและทำกิจที่สงฆ์ต้องทำการประชุมถือว่าเป็นกิจที่สงฆ์ต้องทำร่วมกัน
แต่การที่จะให้สงฆ์ทุกรูปยอมรับซึ่งกันและกัน
เพื่อความสามัคคีก็จะต้องอาศัยความพร้อมเพรียงกันทุก ๆ ครั้ง เช่น
การทำพิธีกรรมในงานมงคลนิยมใช้พระสงฆ์ 9 รูป ก็ต้องมาพร้อมกันจึงจะทำพิธีกรรมได้
3. ไม่บัญญัติในสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติ
ไม่ล้มเลิกสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้ ถือว่าสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้
เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญที่พระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตาม
4. เคารพนับถือและรับฟังถ้อยคำของภิกษุผู้ใหญ่
ในการปกครองของพระสงฆ์จะให้อำนาจแก่ผู้ที่มีความสามารถตามบรรดาศักดิ์ เช่น
ภิกษุผู้ใหญ่สังฆบิดร สังฆปรินายก
ภิกษุทุกรูปจะต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย
5. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
เพราะพระสงฆ์ตัดแล้วซึ่งกิเลสตัณหา ความอยากมีอยากได้จะต้องไม่เกิดขึ้น
จึงจะเป็นที่ยกย่องของคนทั่วไป
6. ยินดีในเสนาสนะอันควร คือพระสงฆ์ต้องมีชีวิตเรียบง่าย
มุ่งแสวงหาธรรมเพื่อเผยแพร่ให้กับผู้อื่น
7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณร เป็นผู้มีศีล
ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาสขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข คือ
พระสงฆ์ต้องใจกว้างยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่และมีความปรารถนาดีต่อสมาชิกเก่า
เพื่อสังคมสงฆ์จะได้ไม่เกิดความเสื่อม