ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

แนวคิดและทฤษฎีทางสังคม

ทฤษฎีโครงสร้าง – หน้าที่ (Structural – Functional Theory)
ทฤษฎีการขัดแย้ง (Conflict Theory)
ทฤษฎีปริวรรตนิยม (Exchange Theory)
ทฤษฎีการกระทำระหว่างกันด้วยสัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism)
ทฤษฎีปรากฎการณ์นิยม (Phenomenology)
สังคมวิทยากับการศึกษา (Sociology of Education)

ทฤษฎีปริวรรตนิยม
(Exchange Theory)

ทฤษฎีปริวรรตนิยมในจิตวิทยาพฤติกรรม

ไม่จำต้องขูดลึกลงไปถึงความคิดหรือพุทธิปัญญา (Cognition) ของมนุษย์ พฤติกรรมนิยมคือ เป็นสาขาหนึ่งของอรรถประโยชน์นิยมในหลายแง่ เพราะ แนวความคิดนี้ยึดหลักการที่ว่าทั้งมนุษย์และสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แสวงหารางวัลหรือสิ่งตอบแทนด้วยกันทั้งคู่และจะเลือกทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุด (ให้กำไรมาก) แต่ได้รับโทษน้อยที่สุด (ลงทุนน้อย) สำหรับพวกพฤติกรรมนิยม คำว่ารางวัลหรือสิ่งตอบแทนหมายถึง พฤติกรรมที่เสริมพลัง (Reinforce) ส่วนคำว่าการลงโทษ หมายถึง พฤติกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือพฤติกรรมของสิ่งอื่นในสิ่งแวดล้อมที่ปิดกั้นไม่ให้สิ่งมีชีวิตสนองความต้องการจำเป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ ได้แก่ การหลีกเลี่ยงจากความเจ็บปวด (Pain)

ทฤษฎีปริวรรตนิยมสมัยใหม่ รางวัลไปใส่แทนที่คำว่าประโยชน์ แม้ว่าได้มีการปรับปรุงแต่สังกัปพื้นฐานของพฤติกรรมนิยมแล้ว ก็ยังปรากฏมีหลักสากลภาพเชิงทฤษฎีสำคัญหลายอย่างจากพฤติกรรมนิยมอยู่ในทฤษฎีปริวรรตสังคมวิทยาโดยเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย คือ

  1. ในสถานการณ์ใดๆ สิ่งมีชีวิตจะแสดงพฤติกรรมที่ก่อผลตอบแทนมากที่สุด และให้โทษทัณฑ์น้อยที่สุด
  2. สิ่งมีชีวิตจะประพฤติซ้ำพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นว่า ให้ผลตอบแทนงามมาในอดีต
  3. สิ่งมีชีวิตจะประพฤติซ้ำในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับอดีต ซึ่งพฤติกรรมเช่นนั้นจะส่งผลตอบแทนงาม
  4. สิ่งกระตุ้นที่ในอดีตให้ผลตอบแทนงาม จะก่อให้เกิดพฤติกรรมทำนองเดียวกับอดีตอีก
  5. สิ่งมีชีวิตจะแสดงความโกรธ หากพฤติกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งในอดีตเยก่อผลตอบแทน แต่ปัจจุบันไม่ก่อผลเช่นนั้นอีก
  6. สิ่งมีชีวิตได้รับรางวัลจากพฤติกรรมเฉพาะอย่างใดมากขึ้นเท่าใด พฤติกรรมนั้นก็จะลดรางวัลเท่านั้น (เนื่องจากสถานการณ์) และสิ่งมีชีวิตนั้นก็จะมีแนวโน้มที่จะประพฤติแบบอื่นเพื่อหารางวัลอย่างอื่นต่อไป

 

เมื่อนักทฤษฎีปริวรรตสังคมวิทยา นำหลักพฤติกรรมนิยมใช้ศึกษามนุษย์ก็ได้พบว่ามนุษย์ต่างกับสัตว์ในห้องทดลองที่มีความสามารถสูงกว่าในการเกี่ยวข้องเรื่องราวที่ซับซ้อน เพราะ มนุษย์มีความสามารถในการย่อความ คิดคำนวณ คาดผลในอนาคต ซึ่งทางเลือกต่างๆและการกระทำอย่างอื่นอีกมาก ได้ดังนี้ นักอรรถประโยชน์นิยมได้กล่าวว่า นอกจากนั้นในการยืนสังกัปต่างๆของพฤติกรรมนิยมมาใช้ นักทฤษฎีปริวรรตนิยมปัจจุบันก็จำต้องเอาสังกัปต่างๆของ Introspective Psychology และ Structural Sociaology มาใช้ด้วย เพราะ มนุษย์นั้นไม่เพียงแต่จะคิดซับซ้อน แต่ความคิดของมนุษย์ยังมีอารมณ์ และถูกควบคุมด้วยพลังทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่างอีกด้วย (แนวคิดเช่นนี้ นำเข้ามาในทฤษฎีปริวรรตครั้งแรกโดย Mauss และ Levi-Strauss) เมื่อยอมรับกันว่าหลักการของพฤติกรรมนิยมต้องผสมกับแนวคิดเรื่องกระบวนการจิตวิทยาภายใน และอิทธิพลของโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมแล้ว ก็จำเป็นต้องมองการแลกเปลี่ยนว่าค่อยๆเขยิบฐานะสูงขึ้น จากการเป็นกิจกรรมที่ให้รางวัลแก่บุคคลแต่ละคนโดยตรง ไปเป็นของสังคมและให้รางวัลทางอ้อม พฤติกรรมที่กระทำตามโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรมประกอยกับความสามารถทางจิตวิทยาของมนุษย์ทำให้ข่ายงานการแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นทางอ้อมและยืดเยื้อดำรงอยู่ได้นาน

มองย้อนกลับไปถึงอิทธิพลของพฤติกรรมที่มีต่อทฤษฎีปริวรรตนิยมแล้วจะเห็นได้ว่า มีการผสมพันธุ์แบบน่าทึ่งระหว่างแนวคิดและหลักการต่างๆเกิดขึ้น แม้จะมีศัพท์แสงและหลักพฤติกรรมอยู่อย่างชัดแจ้ง แต่ก็ได้มีการนิยมสังกัปและปรุงแต่งหลักการ โดยนำเอาข้อคิดของอรรถประโยชน์นิยมและแนวคิดทางมานุษยวิทยา ส่วนที่เป็นปฏิกิริยาโต้ตอบอรรถประโยชน์นิยมมาใช้ด้วย ผลสุดท้ายปรากฏว่า นักทฤษฎีปริวรรตนิยมทิ้งไปเสียมาก เมื่อนำแนวคิดและหลักการนั้นมาใช้กับมนุษย์และการจัดระเบียบเป็นกลุ่มทางสังคมและวัฒนธรรมของมนุษย์

สังกัปและฐานคติอรรถประโยชน์นิยมที่สำคัญ
ทฤษฎีปริวรรตนิยมในมานุษยวิทยา
ทฤษฎีปริวรรตนิยมในจิตวิทยาพฤติกรรมย์
ประเภทของทฤษฎีปริวรรตนิยม
ทฤษฎีปริวรรตนิยมของโฮมันส์ (Homans)
ทฤษฎีการแลกเปลี่ยนรวมหมู่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย