ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
มาร์กซ์
(Karl Marx 1818-1883)
นักปรัชญาชาวเยอรมัน เป็นผู้มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดในสมัยปัจจุบัน
ความคิดของเขาพอที่จะสรุปได้ว่า รัฐเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นเลยสำหรับสังคม
หรือรัฐเป็นสิ่งที่จะต้องหายไปในที่สุดในกระแสวิวัฒนาการของสังคม
มาร์กซ์มีความเห็นว่าสังคมต้องมีรัฐก็เพราะสังคมมนุษย์มีบทบาทพื้นฐานคือการผลิต
การผลิตของมนุษย์ทำให้เกิดชนชั้นขึ้น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายผู้สามารถเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
และผู้ใช้แรงงานการผลิตแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต ตัวอย่างเช่น
นายทุนเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม และกรรมกรเป็นพียงผู้ขายแรงงานในโรงงาน
เมื่อนั้นฝ่ายที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจะกลายเป็นผู้มีอำนาจ
และเพียรพยายามที่จะรักษาสถานภาพและอำนาจของตนไว้ จึงได้สร้างอำนาจรัฐขั้นมา
รัฐจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นในแง่ที่เป็นเครื่องมือในการกดขี่ของฝ่ายมีอำนาจที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต
เพื่อรักษาสถานภาพและทำให้ตนมีผลประโยชน์ตอบแทนสูงที่สุด
รัฐจึงจำเป็นในแง่รักษาผลประโยชน์ของชนบางกลุ่มเท่านั้น
มิใช่จำเป็นตลอดไปสำหรับสังคมมนุษย์ ทั้งนี้ ถ้าวิธีการผลิตของสังคม
ไม่มีใครเป็นฝ่ายยึดกุมการผลิต หรือปัจจัยการผลิตเป็นส่วนกลาง
เมื่อนั้นชนชั้นทางสังคมไม่มี หรือกลายเป็นสังคมไร้ชนชั้น
และไม่จำเป็นต้องสร้างรัฐขึ้นมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกดขี่หรือขูดรีดอย่างใดทั้งสิ้น
ด้วยเหตุดังกล่าว
จึงสามารถสรุปได้ว่า สังคมในอุดมคติของมาร์กซ์คือสังคมมที่ไม่มีชนชั้น
(Classless Society) เพราะพื้นฐานการผลิตเป็นแบบคอมมูน
คือไม่มีใครเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต และเป็นสังคมที่ปราศจากรัฐ
สมาชิกของสังคมสามารถปกครองดูแลตนเอง และควบคุมความประพฤติของตนเองได้
เราจะเห็นได้ว่าในสังคมปัจจุบันก็ยังมีความจำเป็นในการควบคุมหรือการจัดการเกี่ยวกับทางด้านเศรษฐกิจ
เช่น การจัดการเกี่ยวกับการผลิต นั่นหมายความว่า
ยังคงมีอำนาจศูนย์กลางที่ควบคุมสังคมบางส่วน
และยังมีแนวความคิดในกลุ่มอนาธิปไตยที่ปฏิเสธอำนาจการจัดการใด ๆ
ทั้งสิ้นโดยสิ้นเชิง
เพราะอำนาจหรือการควบคุมเป็นสิ่งชั่วร้ายและเป็นศัตรูตัวร้ายของมนุษย์
ถ้าขจัดอำนาจรัฐได้โดยสิ้นเชิง
สิ่งที่ชั่วร้ายที่เคยเกิดกับมนุษย์ทั้งหลายจะพลอยหายไปด้วย
ดังนั้นสังคมที่ดีที่สุดควรเป็นสังคมที่ไร้รัฐ และไร้องค์กรใด ๆ ทั้งสิ้น
และปล่อยให้แต่ละคนร่วมมือกันจากความรู้สึกเป็นเพื่อนจากความรัก
และจากความเข้าใจที่เกิดขึ้นเองโดยไม่มีการบังคับนั่นเอง
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส
(Thales)
อานักซิมานเดอร์
(Anaximander)
อานักซิเมเนส
(Anaximenes)
ไพธากอรัส
(Pythagoras)
เฮราคลีตุส
(Heraclitus)
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส
(Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส
(Empedocles)
อานักซาโกรัส
(Anaxagoras)
เดมอคริตุส
(Democritus)
โปรแทกอรัส
(Protagoras)
โสคราตีส
(Socrates)
พลาโต้
(Plato)
อาริสโตเติ้ล
(Aristotle)
เซนต์
ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส
ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์
ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ
(Jean Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม
(Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์
(J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์ (Karl Marx
1818-1883)