ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
รุสโซ
(Jean Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส เขาเห็นว่า
สังคมร่วมสมัยตอนนั้นมีลักษณะขัดแย้งกับธรรมชาติของมนุษย์เป็นสังคมที่เสแสร้ง
อุปโลกน์บิดเบือน และฟุ่มเฟือย แม้แต่วิทยาศาสตร์กับศิลปะก็เป็นสิ่งเสแสร้ง
เพราะวิทยาศาสตร์เกิดจากความรู้สึกหยิ่งผยองในตัวเองไม่ใช่เกิดจากความรู้สึกที่แท้จริง
และศิลปะก็เกิดจากความรู้สึกฟุ้งเฟ้อมากกว่าความรู้สึกที่แท้จริงเช่นกัน
รุสโซจึงหันไปชื่นชมการใช้ชีวิตสมัยดึกดำบรรพ์
เพราะเป็นชีวิตที่อิสระและได้ทำตามความปราถนาของตนและมีคุณธรรมอย่างง่าย ๆ
คือไม่สร้างความเจ็บปวดหรือความทุกข์ให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
ดังนั้นสังคมปัจจุบันในทัศนะของเขา
จึงมองเป็นสังคมที่บิดเบือนให้เป็นความรู้สึกแข่งขันและเปรียบเทียบ
และความรู้สึกสาใจ ถ้าคู่แข่งขันต้องพ่ายแพ้และประสบความย่อยยับลงไป
ในทัศนะของเขาเห็นว่า สิ่งที่มีความสำคัญคือ
เสรีภาพต้องเป็นสิ่งควบคู่กับสังคม
ถึงแม้ว่าเสรีภาพในทางสังคมจะแตกต่างจากเสรีภาพขณะที่มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสภาพตามธรรมชาติก็ตาม
แต่เสรีภาพในสังคมก็เป็นขั้นตอนของการวิวัฒนาการของมนุษย์ ดังนั้น
ถ้าสังคมใดยกเลิกเสรีภาพก็เท่ากับสังคมนั้นถูกทำลายคุณสมบัติของมนุษย์โดยสิ้นเชิง
เมื่อสังคมและรัฐเกิดจากเสรีภาพ และให้ความเคารพในเสรีภาพในสังคม
มนุษย์ก็ไม่จำเป็นต้องเผชิญกับเผด็จการ ปัญหาดังกล่าวของรุสโซ
คือการสร้างเจตน์จำนงร่วม (General will) ซึ่งต้องกลายมาเป็นแกนนำสังคม
เป็นเจตน์จำนงที่มุ่งสู่ความดีของทุกคน
มิใช่การคำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะตนและเฉพาะกลุ่ม
แต่เป็นเจตน์จำนงของคนในสังคมทั้งชาติ
จะเห็นว่าตามทัศนะของรุสโซนั้นเป็นบ่อเกิดของอำนาจทางการเมือง หรือเรียกว่า
อำนาจอธิปไตยอันเป็นของประชาชนทั้งหมด ดังนั้นสังคมจึงเป็นองค์กรร่วม
หรือเป็นเอกภาพเพื่อคนทั้งชาติ
สังคมที่ดีจึงต้องอาศัยพื้นฐานสำคัญคือศีลธรรมอันยิ่งใหญ่ของสมาชิกที่มีเจตน์จำนงร่วมกันแต่เริ่มแรก
จึงจะเป็นเสรีภาพและอำนาจทางอธิปไตยอย่างแท้จริง.
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส
(Thales)
อานักซิมานเดอร์
(Anaximander)
อานักซิเมเนส
(Anaximenes)
ไพธากอรัส
(Pythagoras)
เฮราคลีตุส
(Heraclitus)
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส
(Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส
(Empedocles)
อานักซาโกรัส
(Anaxagoras)
เดมอคริตุส
(Democritus)
โปรแทกอรัส
(Protagoras)
โสคราตีส
(Socrates)
พลาโต้
(Plato)
อาริสโตเติ้ล
(Aristotle)
เซนต์
ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส
ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์
ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ (Jean
Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม
(Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์
(J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์
(Karl Marx 1818-1883)