ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาโลกตะวันตก

โธมัส ฮอบส์

 (Thomas Hobbes 1588-1679)

นักปรัชญาชาวอังกฤษ ท่านมีทัศนะว่า การเคลื่อนที่ (Movement) เป็นมูลบทที่ทุกคนต้องยอมรับว่ามีจริง โดยแบ่งความรู้เป็น 4 แขนง คือ

1.เรขาคณิต วิชาว่าด้วยการเคลื่อนที่ของเทห์ (Bodies)
2.ฟิสิกส์ วิชาว่าด้วยผลกระทบต่อกันของเทห์ที่เคลื่อนที่
3.จริยศาสตร์ วิชาที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของระบบประสาท
4.การเมือง วิชาที่ว่าด้วยผลกระทบต่อกันของระบบประสาท

ท่านได้ดึงทฤษฎีเหล่านี้เชื่อมไปที่ความมีศีลธรรมและคุณธรรมที่รัฐและรัฐควรมีต่อกัน และให้ความเห็นว่า โดยสภาพธรรมชาติ มนุษย์เป็นคนเห็นแก่ตัวยึดมั่นในตัวตน (Self-Assertion) และการรักษาตัวเอง (Self-Preservation) ทั้ง 2 อย่างนี้มนุษย์เรียกว่าสิทธิตามธรรมชาติ (A Natural Right) นั่นหมายความว่า มนุษย์เปรียบเหมือนอินทรีย์อื่น ๆ คือเคลื่อนไหวเพื่อตัวตนของตน และรักษาตัวเอง เพราะมันเป็นกฏของการเคลื่อนที่ของอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยเหตุดังกล่าว สภาพแรกของอินทรีย์รวมทั้งมนุษย์ที่ต้องเผชิญ คือการปะทะกันระหว่างอินทรีย์ การขัดแย้งกันของอินทรีย์ และสงครามระหว่างอินทรีย์ ทั้งนี้เพราะต่างฝ่ายต่างยึดมั่นในตัวตนของตนและต่างฝ่ายต่างรักษาตนเอง จากทัศนะข้างตน จึงเป็นการจำเป็นของรัฐที่ต้องมีขึ้นทั้ง ๆ ที่โดยสภาพธรรมชาติมนุษย์มิได้อยู่ในรัฐหรือรัฐเกิดขึ้นเพราะความจำเป็น ทำให้สภาพธรรมชาติเกิดความขัดแย้งกัน ปะทะกันและสงครามระหว่างกัน โดยไม่มีรัฐหรืออำนาจกลางใดที่คอยควบคุมดูแล ทัศนะเกี่ยวกับสังคมและรัฐของฮอบส์จึงแตกต่างจากทัศนะของอริสโตเติ้ล กล่าวคืออริสโตเติ้ลมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตว์สังคม เพราะสังคมช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ดี คือทีคุณธรรมทางศีลธรรมทางปัญญา แต่ฮอบต์กับมีทัศนะว่า โดยธรรมชาติมนุษย์ไม่ใช่สัตว์สังคม แต่เป็นสัตว์ที่เห็นแก่ตัว เพราะต่างมีสิทธิที่จะยึดมั่นตัวตนของตนและรักษาตัวตนของตนไว้ ดังนั้นมนุษย์จึงต้องตกลงจัดตั้งสังคมและรัฐขึ้น และมอบอำนาจการปกครองสูงสุดให้แก่รัฐ เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของรัฏฐาธิปัตย์แล้วจะขัดขืนหรือต่อต้านอำนาจนั้น ๆ ไม่ได้ กฏหมายที่ออกโดยรัฐจึงยุติธรรมทั้งสิ้น.

 

แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส (Thales)
อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)
อานักซิเมเนส (Anaximenes)
ไพธากอรัส (Pythagoras)
เฮราคลีตุส (Heraclitus)
เซโนฟาเนส (Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส (Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย (Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส (Empedocles)
อานักซาโกรัส (Anaxagoras)
เดมอคริตุส (Democritus)
โปรแทกอรัส (Protagoras)
โสคราตีส (Socrates)
พลาโต้ (Plato)
อาริสโตเติ้ล (Aristotle)
เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่ (Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์ ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ (Jean – Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม (Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์ (Karl Marx 1818-1883)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย