ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาโลกตะวันตก

อาริสโตเติ้ล

 (Aristotle)

เกิดเมื่อ พ.ศ. 159 ที่สตากิรา ในแคว้นเธรซ ท่านเป็นศิษย์ของพลาโต และท่านเป็นนักปรัชญาคนสุดท้ายของกรีกสมัยรุ่งเรือง ท่านเกิดในตระกูลแพทย์จึงมีนิสัยรักการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ต่อมาท่านได้ศึกษาชีววิทยา โดยเฉพาะชีวิตสัตว์ทะเล ท่านได้ตั้งสำนักของตนขึ้นเรียกว่า ลีเซอุม (Lyceum) และต่อมาได้สร้างห้องสมุดเพื่อสะสมหนังสือและอุปกรณ์การสอน ส่วนที่เหมือนกันระหว่างพลาโตและอริสโตเติ้ล คือรัฐและสังคมเป็นธรรมชาติ เมื่อมนุษย์ต้องมีสังคมร่วมกัน การมีรัฐและสังคมที่ดี ย่อมทำให้เกิดความสุขได้ดีที่สุด

ทัศนะนี้จึงเป็นทัศนะในเรื่องโลกแห่งประสบการณ์ของท่านนั้นเอง อีกทัศนะหนึ่งเรื่องโลกแห่งแม่แบบ ท่านเชื่อความเป็นจริงของแม่แบบ เพราะความงามเป็นแม่แบบของวัตถุงามทั้งหลาย ท่านไม่เชื่อพลาโตที่ว่า แม่แบบคือแบบของความงามอยู่แยกต่างหากจากวัตถุ ตามความคิดของอริสโตเติ้ลนั้น วัตถุงามคือวัตถุที่มีแบบของความงามอยู่ในตัวของวัตถุนั้น ไม่ใช่วัตถุนั้นเลียนแบบ แบบของความงามในโลกอื่นซึ่งอยู่แยกต่างหากออกไปจากวัตถุ และจากทัศนะนี้จึงนำไปสู่ทัศนะที่ว่า สรรพสิ่งต้องมีแบบหนึ่งแบบใดเป็นแบบประจำตัวหรือเป็นแบบเฉพาะตัว เช่น วัตถุงามต้องมีความงามเป็นแบบและสรรพสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบเฉพาะของตนในที่สุด เขาเชื่อว่าแบบของมนุษย์คือจิต จิตของมนุษย์มีลักษณะที่แตกต่างจากสัตว์ทั้งหลายคือคิดหาเหตุผลหรือมีเหตุผล ดังนั้นการมีเหตุผลจึงเป็นแบบที่มนุษย์ต้องพยายามบรรลุถึงในที่สุด เพื่อนำไปสู่แบบเฉพาะของตนนั้นเอง ซึ่งวิถีชีวิตที่แสดงถึงความสำเร็จของมนุษย์ในแง่ของการบำรุงเลี้ยงจิตแห่งเหตุผลมี 2 รูปแบบ คือ

  1. ชีวิตที่มีเหตุผล หมายถึงชีวิตที่สามารถประพฤติทางสายกลาง (The mean) ไม่มากไม่น้อยอย่างเหมาะสม
  2. ชีวิตที่ตริตรองถึงสัจจะ ไม่ใช่เพียงใช้เหตุผลเท่านั้น แต่หมายถึงการใช้ชีวิตในลักษณะที่ตริตรองถึงสัจจะที่เหนือกว่าการแสวงหาความเหมาะสมเท่านั้น อริสโตเติ้ล มีความเห็นว่า “ความสุขที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ที่การแสวงหาสัจจะ ผู้มีชีวิตเพื่อการแสวงหาสัจจะ เรียกว่ามีคุณธรรมทางปัญญา (Intellectual Virtues)

สรุปความเห็นของอริสโตเติ้ลได้ว่า ชีวิตที่ดีสำหรับมนุษย์ก็คือชีวิต ที่มีคุณธรรมทางศีลธรรม คือมีความประพฤติที่เหมาะสม และชีวิตที่มีคุณธรรมทางปัญญา คือการตริตรองถึงสัจจะ ดังนั้นเมื่อโยงไปถึงสังคมและรัฐ จึงต้องมีคุณธรรมทางศีลธรรม และมีคุณธรรมทางปัญญานั่นเอง จึงเท่ากับมนุษย์ได้บรรลุแบบเฉพาะของตน และได้รับความสุขด้วย เราจะสัเกตได้ว่า ปรัชญาของท่านมีแนวโน้มเอียงทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง และในสมัยกลางก็เกิดปรัชญาการเมืองขึ้น โดยนักปรัชญารุ่นต่อมา ปรัชญาเหล่านั้นได้ถูกดึงไปเป็นเครื่องมือสำหรับอธิบายและส่งเสริมคำสอนของศาสนาคริสต์ให้ดูมีเหตุผลยิ่งขึ้น คือมีลักษณะส่งเสริมและยกย่องพระเจ้า

 

แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส (Thales)
อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)
อานักซิเมเนส (Anaximenes)
ไพธากอรัส (Pythagoras)
เฮราคลีตุส (Heraclitus)
เซโนฟาเนส (Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส (Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย (Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส (Empedocles)
อานักซาโกรัส (Anaxagoras)
เดมอคริตุส (Democritus)
โปรแทกอรัส (Protagoras)
โสคราตีส (Socrates)
พลาโต้ (Plato)
อาริสโตเติ้ล (Aristotle)
เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่ (Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์ ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ (Jean – Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม (Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์ (Karl Marx 1818-1883)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย