ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
เดมอคริตุส
(Democritus)
เกิด พ.ศ. 83-173 ที่เมืองอับเดรา (Abdera) ในแคว้นเธรส (Thrace)
ท่านเป็นศิษย์ของผู้ก่อตั้งสำนักปรัชญาปรมาณูนิยม (The School of Atomists)
มีชื่อว่า ลิวซิปปุส(Leucippus)
ผู้มีชีวิตร่วมสมัยเดียวกันกับเอมเปโดเคลสและอานักซาโกรัส
ได้ศึกษาปรัชญาจากสำนักเอเลียเป็นต้นฉบับ ท่านรุ่งเรืองถึงขีดสุดในปี พ.ศ. 103
และได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ของท่านขื่อ เดมอคริตุส
ผลงานชิ้นสำคัญขิงเดมอคริตุส ที่ยังเหลือปรากฏอยู่ให้เราได้รู้จัก
ผลงานของท่านมีมากที่สุดคนหนึ่งในสมัยโบราณกว่า 60 ชิ้น
แต่ได้สูญหายไปเกือบหมดที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันเป็นเพียงเศษนิพนธ์
ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์, อภิปรัชญญา, จริยศาสตร์, ประวัติศาสตร์,
และคณิตศาสตร์
ท่านยอมรับระหว่างความเที่ยงแท้ถาวรกับการเปลี่ยนแปลง
โดยมีทัศนะไม่ต่างจากเอมเปโดเคลสและอานักซาโกรัส เบื้องแรกท่านยอมรับว่า
การเปลี่ยนแปลงในโลกเป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิสธ
การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่กระทบกระเทือนต่อปฐมธาตุหรือแก่นแท้ของโลก นั่นก็คือ
แม้สรรพสิ่งในโลกจะกำลังเปลี่ยนแปลง
ปฐมธาตุหรือส่วนประกอบดั่งเดิมของโลกไม่เคยเปลี่ยนแปลงและจะไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ปัญหาที่ว่า ปฐมธาตุคืออะไร ? เดมอคริตุสกล่าวว่า ปฐมธาตุไม่ใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ
อย่างที่เอมเปโดเคลสเสนอ สำหรับเดมอคริตุสแล้ว ปฐมธาตุคือ ปรมาณู หรือ อะตอม (Atom)
และคำว่า ปรมาณู หมายถึง วัตถุที่มีขนาดเล็กที่สุดไม่สามารถจะแบ่งย่อยได้อีกแล้ว
จึงหมายถึงของสิ่งเดียวกับ อะตอม ที่แปลว่า สิ่งที่ไม่อาจตัดแบ่งออกไปได้อีก
(Uncuttable) ดังนั้น
ปรมาณูหรืออะตอมจึงได้แก่ชิ้นส่วนเล็กที่สุดของสสารที่เหลืออยู่ภายหลังการตัดแบ่งสสารชิ้นหนึ่ง
ๆ ปรมาณูนั้นเป็นอนุภาคเล็กที่สุดของสสาร มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
ปรมาณูเป็นวัตถุดิบสำหรับสร้างโลก มันมีอยู่ก่อนหน้าการกำเนิดของโลก
เพราะปรมาณูเกิดขึ้น สรรพสิ่งจึงเกิดขึ้น เพราะปรมาณูแยกตัวออกจากกัน
สรรพสิ่งจึงแตกสลาย การเกิดเป็นเพียงการรวมตัวกันของปรมาณูที่นอนรออยู่แล้ว
ส่วนการดับเป็นการแยกตัวของปรมาณู โดยนัยนี้ปรมมาณูจึงมีอยู่ก่อนการเกิดโลก
และจะคงอยู่ต่อไปหลังโลกแตกสลาย ปรมาณูไม่มีการเกิดดับ ปรมาณูไม่มีวันเปลี่ยนแปลง
ไม่มีวันถูกทำลาย ปรมาณูจึงเป็นความจริงแท้ของโลก มันมีลักษณะเช่นเดียวกับภาวะ
(Being) ของปาร์มีนิเดส จะต่างกันก็ตรงที่ว่า
ภาวะเป็นมวลสารชิ้นเดียวมหึมาที่แผ่ติดเป็นพืดทั่วจักรวาล
ส่วนปรมาณูก็คือภาวะนั่นเอง ได้ถูกสับย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
เหตุนั้นสิ่งทั้งสองจึงมีลักษณะเช่นเดียวกัน
คือเป็นความแท้ที่คงที่ถาวรชั่วนิรันดร์
ทานกล่าวว่า ปรมาณูมีมากมายนับไม่ถ้วน
พอที่จะสร้างระบบจักรวาลไม่รู้จบทีเดียว ปรมาณูแต่ละชิ้นแตกต่างกันที่ปริมาณ
คืออาจมีรูปร่างต่างกัน ขนาดต่างกัน และน้ำหนักมากน้อยต่างกัน
นอกจากนี้แล้วปรมาณูไม่มีข้อแตกต่างจากกันและกัน ไม่มีข้อแตกต่างทางคุณภาพ ไม่มีสี
กลิ่น รส ไม่บรรจุเชื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้โดยเฉพาะ ดังนั้นปรมาณูจึงไม่ใช่ดิน
น้ำ ลม ไฟ เหตุนั้นจึงกล่าวได้ว่า ปรมาณูแตกต่างกันที่ปรมาณ ไม่ใช่คุณภาพ
ท่านบอกว่า ปรมาณูที่เข้ารวมตัวกันจนก่อให้เกิดสิ่งต่าง ๆ
ไม่มีตัวการภายนอกทำให้ปรมาณูเคลื่อนที่
ไม่มีพลังงานแห่งความรักและความเกลียดอย่างที่เอมเปโดเคลสเสนอ
ไม่มีพลังจิตหรือมโนอย่างที่อานักซาโกรัสเข้าใจ
ปรมาณูเคลื่อนที่เข้าหากันเพราะมันมีพลังเคลื่อนไหวในตัวเอง
ปรมาณูเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเหมือน ละอองฝุ่นในแสงแดด
ทานบอกว่าปรมาณูจะเคลื่อนที่ไปไหนมาไหนได้ก็เพราะมีที่ว่างหรืออวกาศ
อวกาศเป็นของที่มีอยู่จริงทั้ง ๆ ที่ไม่อาจมองเห็นหรือแตะต้องได้
สิ่งที่มีอยู่จริงไม่จำเป็นต้องมีรูปร่างตัวตน อวกาศไม่ใช่ของว่างเปล่า
แท้จริงอวกาศและปรมาณูล้วนเป็นของจริงแท้เท่า ๆ กัน
อวกาศนี้มีลักษณะเช่นเดียวกับอภาวะ (Non-Being) ของปาร์มีนิเดส
จะต่างกันตรงที่ว่าสำหรับปาร์มีนิเดส อภาวะไม่มีอยู่จริง
แต่อวกาศของเดมอคริตุสเป็นของจริงแท้ ๆ พอกับปรมาณู เหตุนั้น เดมอคริตุสจึงกล่าวว่า
ความจริงแท้ในโลกมีอยู่ 2 อย่างคือ ปรมาณู และ อวกาศ ท่านกล่าวว่า ก่อนกำเนิดโลก
ปรมาณูจำนวนนับไม่ถ้วนลอยกระจายในห้วงอวกาศ เนื่องจากปรมาณูมีน้ำหนัก
และขนาดประจำตัว ปรมาณูที่ใหญ่กว่าและหนักกว่าจะตกลงเบื้องล่าง
แล้วปะทะกับปรมาณูที่เล็กกว่าเบากว่าก่อให้เกิดวงวน (Vortex)
วงวนนี้มีสภาพเหมือนวังน้ำวนที่พัดเอาทุกสิ่งทุกอย่างเข้ามาในรัศมีทำการของตน
ปรมาณูภายในวงวนจะรวมตัวกันโดยปรมาณูที่มีรูปร่างและขนาดคล้ายคลึงกัน
จะเกาะตัวกันเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ และสิ่งต่าง ๆ จนเป็นโลกนี้และดวงดาวในจักรวาล
ดังนั้นการเกิดโลกและการเปลี่ยนแปลงใด ๆ
บนพื้นโลกล้วนเนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของปรมาณูนั่นเอง
ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ได้เคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงโดยความบังเอิญ เดมอคริตุสกล่าวว่า
การเคลื่อนที่ของปรมาณูดำเนินตาามกฏกลศาสตร์ (Mechanical Law)
อันตายตัวไม่มีอะไรเกิดขึ้นอย่างไร้เหตุผล
สรรพสิ่งเกิดขึ้นตามเหตุผลและความจำเป็น ในทัศนะเรื่องวิญญาณ ท่านกล่าวว่า
วิญญาณของคนเราเกิดจากการรวมกลุ่มของปรมาณูที่กลมที่สุด ประณีตที่สุด
คล่องแคล่วที่สุด เรียกปรมาณูพวกนี้ว่า ปรมาณูวิญญาณ. (Soul Atom)
มันแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย ทำหน้าที่อำนวยการความเคลื่อนไหวของอวัยวะในร่างกาย
ทำหน้าที่ต่างกันไป เช่น ปรมาณูส่วนสมองทำหน้าที่คิด ปรมาณูส่วนหัวใจทำหน้าที่โกรธ
ดังนั้นปรมาณูวิญญาณมีการถ่ายเทเข้าออกในร่างกายของเรา เวลาหายใจออก
ปรมาณูวิญญาณบางส่วนออกไปกับลมหายใจ หายใจเข้าปรมาณูวิญญาณบางส่วนเข้ามา
ชีวิตคนเราจึงดำเนินไปตามปกติตราบที่ปรมาณูวิญญาณนี้มีการถ่ายเทเป็นไปสม่ำเสมอ
ในเวลาตายปรมาณูมีสภาพเหมือนกระจัดกระจายไปคนละทิศละทาง
ปรมาณูวิญญาณเหล่านี้จะคุมตัวกันเป็นสัมภเวสีที่เที่ยวหาภพชาติเกิดใหม่จึงไม่มี
ส่วนทฤษฎีความรู้ของท่าน ได้ถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ความรู้เทียมกับความรู้แท้ ความรู้อย่างแรกเกิดจากประสาทสัมผัส เช่น การเห็นภาพ,
ได้ยินเสียง เกิดขึ้นเพราะวัตถุต่าง ๆ แพร่ ภาพเหมือน(Images)
ของตัวเองกระจายออกไปรอบด้าน ภาพเหมือนจะกระทบเข้าประสาทตาของเรา
ประสาทตารายงานไปยังปรมาณูวิญญาณที่ทำหน้าที่เห็นภาพ การเห็นภาพจึงเกิดขิ้น
และในเวลาที่ภาพเหมือนแล่นผ่านอากาศ
กระทบประสาทตาปรากฏมีภาพเหมือนของวัตถุอื่นเข้าแทรกซ้อน
การเห็นภาพจะสับสนกลายเป็นภาพลวงตา เดมอคริตุสกล่าวว่า
ความรู้ระดับสัมผัสนี้เป็นควมรู้เทียม เพราผัสสะบิดเบือนโลกภายนอก เช่น ตารายงานว่า
เห็นวัตถุสีขาวอยู่ตรงหน้า สมมติว่ามีสตรีสวมเสื้อผ้าสีขาว ประสาทหูรายงานว่า
เธอพูดกับเราด้วยเสียงมอันไพเราะ จมูกเราได้กลิ่นน้ำหอมอ่อน ๆ เราเชื่อสนิทว่า สี
เสียง และกลิ่นเหล่านั้น มีอยู่จริงตรงหน้าเรา ท่านตั้งปัญหาว่า สี เสียง
และกลิ่นมาจากไหน ? ไม่ใช่สตรีที่อยู่เบื้องหน้าเราอย่างแน่นอน
เพราะสตรีที่อยู่เบื้องหน้าเรานั้น
แท้จรริงเป็นเพียงกองแห่งปรมาณูจำนวนหนึ่งเท่านั้น
สิ่งทั้งหลายในโลกเกิดจากการรวมตัวของปรมาณู ซึ่งเป็นสิ่งไม่มีสี เสียง กลิ่นหรือรส
ดังนั้นวัตถุในโลกทั้งหมดจึงไร้ สี เสียง รส
และกลิ่นเป็นสิ่งที่ใจเราสร้างขึ้นหลังจากที่ภาพเหมือนของวัตถุมากระทบประสาทสัมผัสของเรา
คุณภาพเหล่านี้ นักปรัชญายุคต่อมาจึงเรียกว่า คุณภาพทุติยภูมิ
คุณภาพทุติยภูมิไม่ได้มีอยู่จริงในวัตถุ การรับรู้นั้นจึงเป็นความรู้เทียม
ความรู้ที่แท้ต้องเป็นความรู้เกี่ยวกับปรมาณูตามที่เป็นจริง
คือรู้ตัวคุณภาพปฐมภูมิของปรมาณูว่า มันมีรูปร่าง ขนาด และน้ำหนักเท่านั้น
เพราะปรมาณูเล้กมากเราจึงไม่เห็น เราเพียงคิดถึงความมีอยู่ของปรมาณูด้วยเหตุผล
(Reason) ดังนั้นความรู้แท้ถึงความจริงเรื่องปรมาณู
จึงเกิดขึ้นจากความคิดที่มีเหตุผล ความรู้แท้เป็นความรู้ระดับเหตุผล
ไม่ใช่ระดับสัมผัส เดมอคริตุสจึงให้ความสำคัญแก่เหตุผลมากกว่าสัมผัส
นักปรัชญาเรียกท่านว่า เป็นนักเหตุผลนิยม (Ratoinalist)
เดมอคริตุส กล่าวว่า เทพเจ้าเกิดจากการรวมตัวของปรมาณูที่ประณีตมาก
จึงมีอำนาจและเหตุผลเหนือมนุษย์ เทพเจ้ามีอายุยืนยาวกว่ามนุษย์ แต่ไม่เป็นอมตะ
เทพเจ้ามีวันตายเหมือนกัน ท่านบอกว่า เทพเจ้าไม่นิยมมาแทรกแซงกิจการภายในของมนุษย์
ดังนั้น มนุษย์ไม่จำเป็นต้องกลัวเกรงหรือเซ่นไหว้เทพเจ้าแต่ประการใด
ในเรื่องจริยศาสตร์ท่านกล่าวว่า ชีวิตทุกชีวิตมีจุดหมายคือ ความสุข
ความสุขคือความสบายใจ เนื่องจากความสงบราบเรียบภายในดวงใจ
ไม่ใช่ความสุขทางเนื้อหนังประเภทนี้เกิดชั่วครึ่งชั่วยาม ท่านบอกว่า
คนเรายิ่งลดความทะยานอยากลงได้มากเท่าใด โอสาศที่เขาจะชอกช้ำใจ
เพราะความผิดหวังก็มีน้อยลงเท่านั้น.
สรุป เดมอคริตุส เป็นนักวัตถุนิยม (Materialist)
เพราะเชื่อว่าความจริงสูงสุด เป็นอนุภาคของสสารหรือปรมาณู
วิญญาณในทัศนะของท่านก็เป็นปรมาณู เป็นอัจฉริยของชาวกรีกที่นัปรัชญาปรมาณูนิยม
ได้คนพบปรมาณูแล้วหลายศตวรรษ และปรัชญาของท่านเป็นที่ยอมรับในคริสต์ศตวรรษที่ 19
นี่เอง เดมอคริตุสกล่าวว่า ปรมาณูหรืออะตอมเป็นสิ่งที่แบ่งแยกไม่ได้
แต่นัวิทยาศาสตร์ได้แยกส่วนประกอบของปรมาณูออกเป็นประจุไฟฟ้าอีเลคตรอน โปรตรอน
และนิวตรอน นับว่าปรัชญาของท่านมีอิทธิพลต่อแนวความคิดของนักปรัชญายุคต่อมา
และได้รับการกล่าวถึงเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เป็นการสิ้นสุดปรัชญากรีกสมัยเริ่มต้น
ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเอเธนส์
และมีความเจริญก้าวหน้าถึงขีดสุด นักปรัชญากรีกในสมัยเริ่มต้น
เป็นนักปรัชญาธรรมชาติ มีความสนใจอยู่แต่เรื่องปฐมธาตุของโลก
อันเป็นปัญหาที่ไกลตัวมนุษย์ ส่วนนักปรัชญาสมัยกรีกรุ่งเรือง
ได้ให้ความสนใจปัญหาใกล้ตัวมนุษย์ยิ่งขึ้น ความคิดของกลุ่มโซฟิสต์ (Sophists)
มีอิทธิพลมากต่อความเปลี่ยนแปลงของนักปรัชญายุคนี้ คำว่าโซฟิสต์
ในภาษาอังกฤษแปลงมาจากคำในภาษากรีกอันเป็นคำเรียกครู ในสมัยที่กรีกรุ่งเรือง
จึงได้แก่ครูผู้จาริกไปตามนครรัฐต่าง ๆ เพื่อสั่งสินศิลปวิทยาการ
พวกโซฟิสต์เปิดสอนวิทยาการหลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์ ปรัชญา
และวาทศิลป์ นักปรัชญากลุ่มของโซฟิสต์มีหลายคน คือ
1) โปรแทกอรัส (Protagoras) สอนหลักการสร้างความสำเร็จทางการเมือง
2)
กอร์เกียส (Gorgias) สอนวิชาวาทศิลป์และการเมือง
3) โปรดิคุส (Prodicus)
สอนไวยากรณ์และคณิตศาสตร์
4) ฮิปเปียส(Hippias) สอนประวัติศาสตร์ คณิตศาสตร์
และฟิสิกส์
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส
(Thales)
อานักซิมานเดอร์
(Anaximander)
อานักซิเมเนส
(Anaximenes)
ไพธากอรัส
(Pythagoras)
เฮราคลีตุส
(Heraclitus)
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส
(Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส
(Empedocles)
อานักซาโกรัส
(Anaxagoras)
เดมอคริตุส
(Democritus)
โปรแทกอรัส
(Protagoras)
โสคราตีส
(Socrates)
พลาโต้
(Plato)
อาริสโตเติ้ล
(Aristotle)
เซนต์
ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส
ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์
ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ
(Jean Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม
(Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์
(J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์
(Karl Marx 1818-1883)