ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาโลกตะวันตก

อานักซาโกรัส

 (Anaxagoras)

เกิด พ.ศ.43-115 ที่เมืองคลาโซเมแน (Clazomenae)เป็นนักปรัชญาคนสำคัญของนครเอเธนส์ ที่เจริญรุ่งเรืองที่สุด และเป็นยุคทองกล่าวคือ มีนักปฏิมากรเอกอย่างฟีเดียส, เฮโรโดตุสผู้เป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์, ท่านเป็นตระกูลที่มั่งคั่ง ได้สละสมบัติออกเดินทางแสวงหาความรู้ทางปรัชญา และวิทยาศาสตร์ และเปิดสำนักสอนปรัชญาที่กรุงเอเธนส์ ได้สร้างผลงานไว้เป็นหนังสือปรัชญามมีชื่อเรียกว่า” ธรรมชาติ” (On nature) ท่านเชื่อเช่นเดียวกับสำนักเอเลีย ท่านเห็นว่า สิ่งทั้งหลายไม่อาจเกิดมีขึ้นจากความว่างเปล่า ส่วนประกอบของโลกได้ลอยคว้างอยู่ในห้วงอวกาศ โดยผสมปนเปสับสนยุ่งเหยิง จนกระทั้งได้มีพลังอย่างหนึ่งมารวบรวมส่วนประกอบเหล่านั้นเข้าเป็นระเบียบ ดังนั้นโลกจึงเกิดขึ้นอันเป็นผลต่อเนื่องจากการผสมของส่วนประกอบเหล่านั้น และปฐมธาตุของโลกตามคำกล่าวของท่านต้องมีจำนวนมากกว่านี้ และได้อธิบายต่อไปอีกว่า ในข้าวเมล็ดหนึ่งมีธาตุของเส้นผมผสมอยู่ ธาตุนั้นได้แยกตัวไปสร้างเส้นผม ในเมล็ดข้าวนั้นยังมีธาตุอื่น ๆ อีกมากผสมอยู่ เช่นธาตุกระดูกที่แยกไปสร้างกระดูก บางธาตุแยกไปสร้างเนื้อ ในเมล็ดข้าวจึงมีธาตุจำนวนนับไม่ถ้วน แต่ละธาตุก็เป็นความจริงเท่า ๆ กัน เมื่อเปรียบเทียบไปถึงสิ่งทั้งหลายในโลก แต่ละธาตุมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เป็นความจริงสูงสุดเท่า ๆ กัน ไม่มีธาตุใดเกิดมาจากธาตุอื่น สามมารถถูกตัดแบ่งออกได้ ไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่ธาตุทองคำแท้ ๆ ร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ยังมีธาตุอื่นแฝงผสมอยู่ เมื่อธาตุเหล่านั้นมีจำนวนมหาศาลปะปนกันอย่างมีระเบียบ จนกลายเป็นมวลสารก้อนมหึมา ที่แผ่ขยายเต็มห้วงอวกาศและมี” พลัง” ชนิดหนึ่งสร้างวงวนขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่งแล้วค่อยขยายเส้นผ่าศุนย์กลางขึ้นเป็นลำดับ มันดึงดูดธาตุต่าง ๆ ในกลุ่มมวลสารมาไว้ กระบวนการสร้างโลกจึงเกิดขึ้น ธาตุต่าง ๆ ที่หลุดเข้าไปในวงวนจะรวมตัวกัน โดยธาตุที่เหมือนกันผสมกัน ธาตุดินเข้าผสมกับธาตุดิน ธาตุไม้ผสมกับธาตุไม้ จนกลายเป็นสรรพสิ่งในโลกเป็นสัดส่วนอย่างมีระเบียบ เอมเปโดเคลสกล่าวว่า ความเกลียดและความรักคือพลังตัวการที่แยกและรวมธาตุ แต่อานักซาโกรัส ไม่เห็นด้วย ท่านกล่าวว่า ความเกลียดและความรักเป็นพลังทางกายภาพที่ไร้ชีวิตจิตใจเหมือนสสารทั่วไป พลัทั้งสองจึงเป็นพลังตาบอดที่จะแยกและรวมธาตุอย่างไร้จุดหมาย ท่านเปรียบเทียบว่าโลกเกิดจากความคิดของสถาปนิกชั้นเยี่ยม สถาปนิกนั้นก็คือ จิต หรือ มโน (Mind or Nous) ตามความคิดของท่านคำว่า จิต หรือ มโน ไม่ได้หมายถึงพระเจ้า แต่มโนเป็นพลังจิตผู้อำนวยการจัดรูปแก่โลก มโนเป็นพลังตัวการแยกและรวมธาตุ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความเคลื่อนไหวในจักรวาล มโนเป็นพลังจิตที่จัดระเบียบ คอยทำหน้าที่วางแผนและควบคุมการจัดรูปให้กับโลก (World Ordering Spirit)

มโนที่ไม่ได้สร้างโลก เพราะเป็นเพียงแต่ผู้จัดรูปให้กับโลก ไม่ได้สร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของโลกขึ้น ส่วนประกอบเหล่านั้นเป็นธาตุที่ทีจำนวนมหาศาลล่องลอยอยู่ในจักรวาลอย่างไร้ระเบียบ เพื่อคอยให้มโนนำเอาไปผลิตเป็นโลกขึ้น ธาตุเหล่านั้นเป็นควาามจริงสูงสุดพอ ๆ กับมโน เพราะมโนไม่ได้สร้างธาตุ ทั้งธาตุก็ไม่ได้สร้างมโน สิ่งทั้งสองเป็นความจริงแท้เท่า ๆ กัน และมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เพราะมโนเป็นจิต ในขณะที่ธาตุเป็นสสาร ปรัชญาของอานักซาโกรัสจัดเป็นทวินิยม (Dualism) เพราะยอมรับว่าความจริงสูงสุดมี 2 อย่าง คือ จิต และ สสาร ท่านเป็นปรัชญาคนแรกที่พูดถึง “จิต” ไว้ชัดเจน นักปรัชญายุคต่อมาได้นำแนวคิดนี้ไปสร้างปรัชญาจิตนิยม (Idealism) ท่านเป็นผุให้กำเนิดปรัชญานิยม และเป็นนักปรัชญาคนแรกที่นำไปเผยแพร่แก่ชาวเอเธนส์ จนเป็นศุนย์กลางแห่งปรัชญาในกาลต่อมาหลายศตวรรษ

 

แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส (Thales)
อานักซิมานเดอร์ (Anaximander)
อานักซิเมเนส (Anaximenes)
ไพธากอรัส (Pythagoras)
เฮราคลีตุส (Heraclitus)
เซโนฟาเนส (Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส (Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย (Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส (Empedocles)
อานักซาโกรัส (Anaxagoras)
เดมอคริตุส (Democritus)
โปรแทกอรัส (Protagoras)
โสคราตีส (Socrates)
พลาโต้ (Plato)
อาริสโตเติ้ล (Aristotle)
เซนต์ ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่ (Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์ ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ (Jean – Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม (Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์ (J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์ (Karl Marx 1818-1883)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย