ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
ปรัชญาสำนักเอเลียคนนี้ เขียนหนังสือไว้เล่มหนึ่งมีชื่อเรื่องว่า ข้อโต้แย้ง
(Disputation) จุดประสงค์ของการเขียนหนังสือเล่มนี้ก็คือ
เพื่อป้องกันคำสอนของปาร์มีนิเดสจากการโจมตีของฝ่ายตรงข้าม
และทำหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุนอาจารย์ของตนเท่านั้น
นักปรัชญารุ่นหลังเรียกวิธีโต้ตอบของเซโนว่า วิภาษาวิธี (Dialectic)
ซึ่งเป็นวิธีอ้างเหตุผลที่นักปรัชญายุคต่อมาอย่างเช่น โสคราตีส พลาโต้ ค้านท์
และเฮเกล นิยมใช้ อาริสโตเติ้ลยกย่องเซโนว่าเป็นบิดาแห่งวิภาษาวิธี
นักปรัชญาฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยกับปาร์มีนิเดส เช่นนักปรัชญากลุ่มไพธากอรัสคัดค้านว่า
สรรพสิ่งจะเป็นสิ่งเดียวไม่ได้ สรรพสิ่งต้องเป็นสรรพสิ่งกล่าวคือ
โลกนี้เต็มไปด้วยความเป็นจริงหลายสิ่งหลายอย่าง ความมากหลายเป็นเรื่องมีอยู่จริง
นอกจากนี้นักปรัชญากลู่มเฮราคลีตุสก็คัดค้านสำนักเอเลียบางว่า
ความเป็นจริงไม่คงที่ถาวร โลกนี้เป็นเวทีแห่งความเปลี่ยนแปลง
ทุกสิ่งในโลกเลื่อนไหลไปเป็นกระแสความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงเป็นของจริง
ความคงที่ถาวรต่างหากที่เป็นมายา
ยุทธวิธีของเซโนแห่งเอเลีย
1) ความเป็นจริงเป็นสิ่งเดียวหรือหลายสิ่ง
2) ความเป็นจริงเป็นสิ่งคงที่หรือเปลี่ยนแปลง
เพื่อสนับสนุนมติว่า ความเป็นจริงเป็นสิ่งเดียวและคงที่ถาวร ท่านอภิปรายว่า
ความมากหลายและความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้ จึงไม่มีอยู่จริง
สังเกตว่า เซโนไม่ได้สนับสนุนทรรศนะของอาจารย์โดยตรง
ท่านเพียงหักล้างมติของฝ่ายตรงข้ามลง เพื่อปกป้องคำสอนของอาจารย์เท่านั้น
นี่คือยุทธวิธีของเซโน แทนที่จะทำตัวเป็นฝ่ายรับก็กลับเป็นฝ่ายรุก
แทนที่จะรอเป็นจำเลย ท่านกลับฟ้องโจทก์เสียเอง
เซโนไม่ได้ปฏิเสธความมากหลายไปทั้งหมด ท่านยอมรับมติของฝ่ายค้านที่ว่า
ประสาทสัมผัสรายงานแก่ตาว่ามีสิ่งต่างๆ มากมายอยู่ในโลก เช่น สัตว์ ต้นไม้ ภูเขา
เป็นความหลากหลายที่เราพบอยู่ในชีวิตประจำวัน ท่านกล่าวว่า
ความมากหลายที่เห็นก็เป็นสิ่งที่เรายอมรับไม่ได้
ถึงจะมีอยู่ก็มีอยู่ในฐานะเป็นหลอนหรือมายา
ประสาทสัมผัสลวงเราให้เชื่อว่ามีความมากหลาย
เหตุผลในดวงจิตต่างหากที่จะให้ความกระจ่างในเรื่องนี้แก่เรา
ลองใช้เหตุผลเข้าไปวิเคราะห์
จะพบว่าข้อสมมติเรื่องความมากหลายนี้นำไปสู่บทสรุปที่ยุ่งเหยิงและขัดแย้งในตัวเอง
ดังนั้เราจึงคงไม่ปฏิเสธความมากหลาย ข้ออภิปรายหรือบทพิสูจน์ไว้ 3 ประเด็น คือ
- บทพิสูจน์เรื่องขนาด ความเป็นจริงแต่ละสิ่งย่อมจะมีขนาดใหญ่และเล็กบ้าง
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์
หรือภูเขาล้วนอยู่ในสภาพที่อาจถูกตัดแบ่งย่อยเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย
และชิ้นส่วนเล็ก ๆ นั้นก็ยังสามารถถูกเฉือนให้เล็กลงเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ
เซโนกล่าวว่า ความเป็นสิ่งแต่ละสิ่งก็พลอยมีขนาดเล็กสุดประมาณไปด้วย
ทั้งนี้เพราะความเป็นจริงนั้นเป็นผลรวมของชิ้นส่วนที่เล็กสุดประมาณ
- บทพิสูจน์เรื่องสิ่งคั่นกลาง สมมติว่า
มีความเป็นจริงอยู่แค่สองสิ่งและแยกเป็นอิสระแก่กัน
แต่การที่สิ่งสองสิ่งไม่รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะมีสิ่งอื่นมาคั่นกลาง
สิ่งคั่นกลางนั้น ย่อมไม่ใช่สิ่งเดียวกันกับสิ่งทั้งสองที่มีอยู่แต่แรก
ดังนั้นสิ่งคั่นกลางนั้นจึงมีค่าเท่ากับความเป็นจริงหน่วยที่สาม
และในลักษณะเดียวกันในรูปแบบลำดับเดิม
ถ้ามีสิ่งมาคั่นกลางในระหว่างสิ่งที่สามกับสิ่งที่สี่
หรือสิ่งที่สี่กับสิ่งที่ห้า คือยิ่งมีสิ่งมาคั่นกลางมากขึ้นเท่าไร
เราก็จะได้ความจริงมากขึ้นเท่านั้นและเพิ่มไปเรื่อย ๆ อย่างไม่รู้จบ
สังเกตว่ามีความขัดแย้งกับข้อสมมติเดิม ที่กล่าวว่า
มีความจริงอยู่สองสิ่งเท่านั้น ถ้าเรายอมรับว่ามีความมากหลายอยู่ในโลก
เราก็ต้องบอกได้ว่าในโลกนี้มีความจริงอยู่กี่สิ่ง
ดังนั้นกรณีนี้ย่อมไม่อาจยอมรับได้ข้อสมมติว่ามีสิ่งมากหลายนั้น
แล้วหันมายอมรับมติตรงกันข้ามที่ว่า ความเป็นจริงมีสิ่งเดียว
- บทพิสูจน์เรื่องข้าวเปลือก ถ้าความมากหลายมีจริง สมมติข้าวเปลือกถังหนึ่งมีจำนวนเมล็กข้าวหลายเมล็ด ทิ้งเมล็ดหนึ่งลงบนพื้น เราจะไม่ได้ยินเสียงอะไรเลย และในทำนองเดียวกันเราทิ้งเมล็ดข้าวลงบนพื้นทั้งหมด เราจะได้ยินเสียงดัง เสียงนั้นมาจากไหน ? ตอบว่าข้าวเปลือกแต่ละเมล็ดช่วยทำให้เกิดเสียง อย่าลืมว่าในตอนแรกเราได้ยอมรับว่า ข้าวเปลือกแต่ละเมล็ดไม่ทำเสียง ฉะนั้น เราจึงพบบทสรุปที่ขัดแย้งในตัวเองอีก คือเมล็ดข้าวเปลือกได้ทำเสียงและไม่ทำเสียงในเวลาเดียวกัน นั่นเป็นบทสรุปที่มาจากสมมติที่ว่า ความมากหลายมีจริง บทสรุปเช่นนี้ยอมรับไม่ได้ เพราะขัดกับเหตุผลอย่างรุนแรง ดังนั้นเราควรหันมาเชื่อว่า ความจริงมีสิ่งเดียว หลังจากปฏิเสธความมากหลายแล้ว เซโนก็หันมาปฏิเสธความเคลื่อนที่ด้วย เพราะความเคลื่อนที่เป็นตัวการสำคัญทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง สิ่งต่างถ้าไม่เคลื่อนไหว ความเปลี่ยนแปลงคงเกิดขึ้นไม่ได้ การที่เซโนปฏิเสธการเคลื่อนที่ก็เท่ากับปฏิเสธความเปลี่ยนแปลงไปในตัว วิธีการนี้เป็นวิธีโจทน์ข้อโต้แย้งจากฝ่ายค้าน โดยตอนแรกฟังการตั้งประเด็นการโจทน์ ภายหลังได้บทสรุป เซโนทำให้บทที่ฝ่ายค้านกล่าวออกมาเป็นผลสะท้อนกลับไป ทำให้ฝ่ายค้านเกิดการขัดแย้งในคำกล่าวหาของตัวเอง เซโนให้ชื่อแก่บทสรุปที่ขัดแย้งในตัวเองว่าประติทรรศน์(Paradox) และบทสรุปของท่านได้รับการยกย่องตลอดมาในฐานะที่เป็น ประทรรศน์ของเซโน (Zenos Paradoxes)
บทสรุป นักปรัชญาทั้งสามของสำนักเอเลียเสนอคำสอนที่สัมพันธ์กัน กล่าวคือ เซโนฟาเนสมีทรรศนะว่า พระเจ้าคือสรรพสิ่งและสรรพสิ่งคือพระเจ้า พระเจ้าคือความเป็นจริงประการเดียวในโลก พระองค์ทรงมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ชั่วนิรันดร ปาร์มีนิเดสเสนอใหม่ว่า สรรพสิ่งคือสภาวะ (Beimg) และสภาวะคือสรรพสิ่ง ความเป็นจริงในโลกมีสิ่งเดียว และสิ่งนั้นได้แก่ภาวะอันไม่รู้จักเปลี่ยนแปลง เซโนสนับสนุนปาร์มีนิเดสด้วยการพิสูจน์ว่า ภาวะหรือความเป็นจริงนั้นมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร ความเปลี่ยนแปลงเป็นแต่เพียงภาพลวงตา หลักใจความสำคัญของสำนักเอเลียมีอยู่ว่า เนื้อแท้หรือความเป็นจริงในโลกเป็นสิ่งคงที่ถาวร อันไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ปรัชญานี้จึงขัดอย่างตรงกันข้ามกับปรัชญาของเฮราคลีตุสที่ยืนยันว่า เนื้อที่หรือความเป็นจริงในโลกคือความเปลี่ยนแปลง หลักปรัชญาทั้งสองจึงหักล้างและโจมตีกัน ต่างฝ่ายสามารถให้เหตุผลชวนเชื่อ ต่อมานักปรัชญาที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด จึงนำเอาหลักของปรัชญาทั้งสองฝ่ายมารวมกันผสมผสานและให้ความสำคัญเท่าเทียมกันแก่ความคงที่ถาวรและความเปลี่ยนแปลง
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส
(Thales)
อานักซิมานเดอร์
(Anaximander)
อานักซิเมเนส
(Anaximenes)
ไพธากอรัส
(Pythagoras)
เฮราคลีตุส
(Heraclitus)
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส
(Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส
(Empedocles)
อานักซาโกรัส
(Anaxagoras)
เดมอคริตุส
(Democritus)
โปรแทกอรัส
(Protagoras)
โสคราตีส
(Socrates)
พลาโต้
(Plato)
อาริสโตเติ้ล
(Aristotle)
เซนต์
ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส
ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์
ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ
(Jean Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม
(Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์
(J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์
(Karl Marx 1818-1883)