ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
เกิดก่อน ค.ศ.570-480 เป็นนักปรัชญา โดยท่านชอบแต่งบทกวีนิพนธ์ไว้เป็นมหากาพย์
เพลงโศลก และกลอนเสียดสี ท่านไม่ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับปรัชญาโดยตรง
แต่ปรัชญาของท่านมีสอดแทรกในบทกวีที่ท่านนิพนธ์นั่นเอง
คำสอนของท่านมุ่งแก้ไขศรัทธาในศาสนาของประชาชน และเห็นว่าประชาชนในสมัยนั้น
มีศรัทธาที่ผิดในพระเจ้า ท่านพยายามแสดงศรัทธาที่ถูกต้องแก่ประชาชน
โดยมุ่งปฏิรูปศาสนาใหม่ ความเชื่อที่ผิดของชาวกรีกในยุกนั้น
เชื่อว่ามวลมนุษย์อยู่ภายใต้เทวลิขิตของพระเจ้า มนุษย์ต้องบูชาบวงสรวงพระองค์
เพื่อให้พระองค์โปรดปรานประทานพร ส่วนผู้ใดบังอาจทำให้พระองค์พิโรธ
ผู้นั้นจะถูกลงโทษอย่างสาสม เซโนฟาเนสกล่าวให้ความเห็นว่า เป็นความเชื่อที่ผิด
เพราะเทพเจ้าไม่ควรมีอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เหมือนมนุษย์
เทพเจ้าควรบริสุทธิ์ผุดผ่องมากกว่า ตามตำนานกรีกเล่าว่า
เทพเจ้ามีการเกิดและจุติจากสวรรค์ บาวองค์ประกอบทุจริต
บางองค์ประพฤติผิดในลูกเมียคนอื่น
ท่านมีทัศนะว่า เทพเจ้าอย่างนี้ไม่หน้ากราบไหว้
และเทพเจ้าในความเป็นจริงก็ไม่ได้ประพฤติอย่างนั้น
การที่ภาพพจน์ของเทพเจ้าตกต่ำลงไปขนาดนี้ ก็เพราะฝีมือของกวีอย่างโฮเมอร์และเฮเสียด
นักกวีทั้งสองนี้พรรณาเทพเจ้าทั้งสองผิดไปจากความเป็นจริงอย่างมาก
ภาพพจน์ของเทพเจ้าจึงถูกบิดเบือนไป ท่านกล่าวว่า
มนุษย์จะต้องไม่วาดภาพเทพเจ้าไปตามจินตนาการของตน มิฉะนั้นจะกลายเป็นว่า
มนุษย์สร้างเทพเจ้าตามอำเภอใจ พระเจ้าในความจริงตามทัศนะของท่าน
คือเทพเจ้าไม่ได้มีมากมายหลายองค์ (God)
และพระเจ้าไม่ได้มีรูปร่างหน้าตาเหมือนมนุษย์ พระเจ้ามีรูปทรงกลมมีตาทิพย์
และเป็นสัพพัญญู ทรงมีอยู่ชั่วนิรันดรกาล พระองค์ไม่มีการอุบัติและจุติ
ไม่มีขอบเขตจำกัด เพราะไม่มีสิ่งอื่นมาจำกัดขอบเขตพระองค์
แต่มองอีกมุมหนึ่งจะว่าพระเจ้ามีขอบเขตจำกัดก็ใช่ เพราะพระองค์มีรูปทรงกลม
แต่เป็นลูกกลมที่เต็มบริบูรณ์จนแบ่งแยกไม่ได้
พระองค์ไม่มีการเคลื่อนที่และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ท่านกล่าวว่า พระเจ้าอยู่ในโลก
เพราะพระเจ้าเป็นอันเดียวกันกับโลก พระเจ้าคือโลก โลกคือพระเจ้า โดยนัยนี้
เซโนฟาเนสถือลัทธิสรรพเทวนิยม (Pantheism) เพราะยืนยันว่า
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นชิ้นส่วนของพระเจ้าองค์เดียวกัน
ส่วนเรื่องการกำเนิดโลก ท่านได้เสนอข้อสมมติฐานว่า
ท่านได้เห็นซากพืชและสัตว์ที่แข็งจนกลายเป็นหิน พบเปลือกหอยฝังอยู่ในหิน
ท่านจึงสันนิฐานว่า โลกโผล่ขึ้นจากทะเล และต่อไปจะกลับจมหายลงทะเลไปอีก
จากนั้นจะโผล่ขึ้นใหม่ สลับกันอย่างนี้เรื่อยไป
แนวความคิดของนักปรัชญายุคโบราณ
คำนิยามของปรัชญา
ธาเลส
(Thales)
อานักซิมานเดอร์
(Anaximander)
อานักซิเมเนส
(Anaximenes)
ไพธากอรัส
(Pythagoras)
เฮราคลีตุส
(Heraclitus)
เซโนฟาเนส
(Xenophanes)
ปาร์มีนิเดส
(Parenides)
เซโนแห่งเอเลีย
(Zeno of elea)
เอมเปโดเคลส
(Empedocles)
อานักซาโกรัส
(Anaxagoras)
เดมอคริตุส
(Democritus)
โปรแทกอรัส
(Protagoras)
โสคราตีส
(Socrates)
พลาโต้
(Plato)
อาริสโตเติ้ล
(Aristotle)
เซนต์
ออกัสติน (St. Augustine ค.ศ. 354-430)
มาเคียเวลลี่
(Nicolo Machiavelli ค.ศ. 146-1527)
โธมัส
ฮอบส์ (Thomas Hobbes 1588-1679)
จอหน์
ลอค (John Locke 1632-1714)
รุสโซ
(Jean Jacqnes Rousseau 1712-1778 )
เบ็นธัม
(Jereny Bemtham 1748-1832)
มิลล์
(J.S.Mill 1806-1873)
มาร์กซ์
(Karl Marx 1818-1883)