สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การศึกษาในสมัยสุโขทัย
(พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921)
มีลักษณะการจัด ดังนี้
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย กล่าวคือ ฝ่าย
อาณาจักรแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่หนึ่งเป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชายที่เป็นทหาร เช่น มวย กระบี่
กระบองและอาวุธต่างๆ ตลอดจนวิธีการบังคับม้า ช้าง
ตำราพิชัยยุทธซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงของผู้ที่จะเป็นแม่ทัพนายกอง และส่วนที่สอง
พลเรือน เป็นการจัดการศึกษาให้แก่พลเรือนผู้ชายเรียนคัมภีร์ไตรเวทโหราศาสตร์
เวชกรรม ฯลฯ ส่วนพลเรือนผู้หญิงให้เรียนวิชาช่างสตรี การปัก การย้อม การเย็บ
การถักทอ นอกจากนั้นมีการอบรมบ่มนิสัย กิริยามารยาท
การทำอาหารการกินเพื่อเตรียมตัวเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดีu3605 ่อไป ฝ่ายศาสนาจักร
เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัย
จึงเป็นการจัดการศึกษาที่เน้นพระพุทธศาสนาและศิลปศาสตร์
สมัยนี้พ่อขุนรามคำแหงได้นำช่างชาวจีนเข้ามาเผยแพร่การทำถ้วยชามสังคโลกให้แก่คนไทย
และหลังจากที่ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยแล้วงานด้านอักษรศาสตร์เจริญขึ้น
มีการสอนภาษาไทยในพระบรมมหาราชวัง มีวรรณคดีที่สำคัญ คือ
หนังสือไตรภูมิพระร่วงและตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
สถานศึกษา สำหรับสถานศึกษาในสมัยนี้ ประกอบด้วย
-
บ้าน เป็นสถาบันสังคมพื้นฐานที่ช่วยทำหน้าที่ในการ ถ่ายทอดความรู้ด้านอาชีพตามบรรพบุรุษ การก่อสร้างบ้านเรือนศิลปการป้องกันตัวสำหรับลูกผู้ชายและการบ้านการเรือน เช่น การจีบพลู การทำอาหารและการทอผ้าสำหรับลูกผู้หญิง เป็นต้น
-
สำนักสงฆ์ เป็นสถานศึกษาที่สำคัญของราษฎรทั่วไป เพื่อหน้าที่ขัดเกลาจิตใจ และแสวงหาธรรมะต่างๆ
-
สำนักราชบัณฑิต เป็นบ้านของบุคคลที่ประชาชนยกย่องว่ามีความรู้สูง บางคนก็เป็นขุนนางมียศถาบรรดาศักดิ์ บางคนก็เคยบวชเรียนแล้วจึงมีความรู้ แตกฉานในแขนงต่างๆ
-
พระราชสำนัก เป็นสถานศึกษาของพระราชวงศ์และบุตรหลาน ของขุนนางในราชสำนักมีพราหมณ์หรือราชบัณฑิตเป็นครูสอน
วิชาที่สอน ไม่ได้กำหนดตายตัว พอแบ่งออกได้ดังนี้
-
วิชาความรู้สามัญ สันนิษฐานว่าในช่วงต้นสุโขทัยใช้ภาษาบาลี และสันสกฤตในการศึกษา ต่อมาในสมัยหลังจากที่พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. 1826 จึงมีการเรียนภาษาไทยกัน
-
วิชาชีพ เรียนกันตามแบบอย่างบรรพบุรุษ ตระกูลใดมีความชำนาญด้านใดลูกหลานจะมีความถนัดและประกอบอาชีพตามแบบอย่างกันมา เช่น ตระกูลใดเป็นแพทย์ก็จะสอนบุตรหลานให้เป็นแพทย์
-
วิชาจริยศึกษา สอนให้เคารพนับถือบรรพบุรุษ การรู้จักกตัญญูรู้คุณการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม และการรู้จักทำบุญให้ทาน ถือศีลในระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น
-
วิชาศิลปะป้องกันตัว เป็นการสอนให้รู้จักการใช้อาวุธ การบังคับสัตว์ที่ใช้เป็นพาหนะในการออกศึกและตำราพิชัยยุทธ
การศึกษาของไทยสมัยโบราณ
( พ.ศ. 1781 - พ.ศ. 2411)
การศึกษาในสมัยสุโขทัย
(พ.ศ. 1781 พ.ศ. 1921)
การศึกษาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
(พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)
การศึกษาในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น
(พ.ศ. 2311 พ.ศ. 2411)
การศึกษาของไทยสมัยปฏิรูปการศึกษา
(พ.ศ. 2412 พ.ศ. 2475)
การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การจัดการศึกษาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
การศึกษาสมัยการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ
(พ.ศ. 2475 ปัจจุบัน)
บทสรุป