ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

ประวัติซีเกมส์

       ซีเกมส์ กำเนิดมาจากกีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES) และกีฬาแหลมทองได้เกิดขึ้นที่ไทยโดยคนไทย และสิ้นสุดที่ไทยก่อนจะกลายเป็น”ซีเกมส์ (SEA GAMES)”

กีฬาแหลมทอง (SEAP GAMES)

กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปลายปี 2500 ด้วยการริเริ่มของ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ โดยในระยะนั้นประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้มีการติดต่อทางการกีฬากันเป็นประจำ โดยเฉพาะพม่าได้มีสาส์นเชิญประเทศไทยให้ส่งนักกีฬาไปร่วมแข่งขัน ฟุตบอล รักบี้ แบดมินตัน เทนนิส มวยสากล บาสเกตบอล กรีฑา เป็นประจำเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นประเพณีก็ว่าได้

ด้วยเหตุนี้ คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ จึงได้เกิดความคิดขึ้นมาว่า "น่าจะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง" ขึ้นในลักษณะคล้ายคลึงกับ "เอเชี่ยนเกมส์" หรือ "โอลิมปิกเกมส์" เพราะประชาชาติที่อยู่ในภาคพื้นนี้มีความเป็นอยู่ อากาศและรูปร่างคล้ายคลึงกันมาก ทั้งนี้ เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการกีฬาของชาติในกลุ่มแหลมทองให้สูงขึ้นเพื่อเตรียมเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ เช่น เอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ และเพื่อให้นักกีฬาของแต่ละประเทศในแถบนี้ได้มีความสามารถฝึกฝนสมรรถภาพของตนให้มีมาตรฐานสูงขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมการเข้าร่วมแข่งขันกีฬาเกมส์ใหญ่ ๆ และข้อสำคัญ คือ เป็นการสร้างสรรค์ความสัมพันธไมตรีและความร่วมมือระหว่างชาติเพื่อนบ้านในภาคพื้นแหลมทองด้วยกัน

ปี 2501 คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ ได้นำความคิดเห็นของท่านฝากไปกับ ม.ร.เดฟ คิชเตอร์ ผู้ฝึกสอนกิตติมศักดิ์ของสมาคมกรีฑาไทยที่จะเดินทางไปประเทศเขมร เวียดนาม เป็นการส่วนตัว ระหว่างวันที่ 8-14 กุมภาพันธ์ 2501 เพื่อได้ปรึกษาและซาวเสียงต่างประเทศเหล่านั้น ปรากฏว่าทั้งเขมร เวียดนาม ในสมัยนั้นได้สนับสนุนความคิดริเริ่มของคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ อย่างเต็มที่ ต่อมาคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ จึงได้นำความคิดเห็นของท่านที่จะจัดแข่งขันกีฬาระหว่างชาติในกลุ่มแหลมทอง รวมทั้งที่ได้รับการสนับสนุนจากชาติเพื่อนบ้านเสนอเป็นการปรึกษาต่อที่ประชุมคณะกรรมการโอลิมปิคฯครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2501 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วรับหลักการเห็นควรให้จัดการแข่งขันครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2501 พร้อมกับได้มอบให้คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้ดำเนินการวางโครงการและรายละเอียดต่อไป และได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อมา

ในระหว่างการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 3 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เดือนพฤษภาคม 2501 คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ ได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่ง ประกอบด้วย คุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ , นายกอง วิสุทธารมณ์ และนายสวัสดิ์ เลขยานนท์ เป็นผู้แทนไทยเดินทางนำข้อเสนอแนะ การจัดการแข่งขันกีฬาระหว่างประเทศในกลุ่มแหลมทองไปปรึกษาหารือกับประเทศในภาคพื้นแหลมทองที่โตเกียว ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมประชุมคือ ไทย พม่า มาเลเซีย ลาว กัมพูชา เขมร และเวียดนาม ที่ประชุมได้เห็นชอบและมีมติให้ใช้ชื่อในการแข่งขันว่า "กีฬาแหลมทอง" (SEAP GAMES - SOUTH EAST ASIA PENINSULAR GAMES) และเพื่อเป็นเกียรติแก่ประเทศไทยจึงกำหนดจัดให้มีการแข่งขันครั้งแรกที่ประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2502

 

ข้อหารือและมติในการประชุมที่โตเกียว 22 พฤษภาคม 2501 พอสรุปได้ดังนี้

  1. ผู้แทนที่เข้าร่วมประชุมมีความยินดีและเห็นชอบในหลักการที่จะเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา แหลมทอง บางประเทศแถลงว่า การแข่งขันกีฬาระดับนี้เป็นกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลของตนก่อน

  2. ที่ประชุมมีมติให้จัดการแข่งขันกีฬานี้ ทุกๆ 2 ปี เพื่อให้มีขึ้นในระหว่างระยะเวลาการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ และโอลิมปิกเกมส์ ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอให้มีการแข่งขันกีฬาเป็นครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ในปี 2502

  3. ให้มีการจัดทำธรรมนูญขึ้นโดยเร็วที่สุดที่จะเร็วได้

  4. สหพันธ์กีฬาแหลมทองจะประกอบด้วยผู้แทนของประเทศภาคี ประเทศละไม่เกิน 3 คน มนตรีสหพันธ์ที่ได้รับการแต่งตั้งเหล่านี้จะมีการประชุมก่อนการแข่งขันแต่ละครั้ง

  5. ประเทศไทยเสนอให้มีการแข่งขันกีฬา 12 ชนิด คือ ฟุตบอล บาสเกตบอล ยกน้ำหนัก วอลเลย์บอล มวยสากล แบดมินตัน เทนนิส จักรยาน(ประเภทถนน) ว่ายน้ำ เทเบิลเทนนิส ยิงปืน

  6. ให้กรีฑาเป็นกีฬาบังคับ ส่วนกีฬาอื่นให้เลือกได้ แต่ต้องมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ไม่น้อยกว่า 3 ประเทศด้วยกัน

  7. ภาคีแต่ละประเทศจะต้องจ่ายค่าเดินทางไปยังกรุงเทพฯ และกลับเอง ถ้าเดินทาง กลับด้วยรถไฟ ประเทศไทยจะพยายามจัดรถพยาบาล จัดรถพิเศษ และลดราคาค่าโดยสารให้ทีมต่างๆ นั้นในช่วงที่อยู่ในประเทศไทย

  8. คณะกรรมการจัดการแข่งขันจะให้มีที่พัก อาหาร และพาหนะภายในประเทศ ภาคีแต่ละประเทศจะต้องเสียค่าที่พัก อาหาร ให้นักกีฬาและเจ้าหน้าที่คนละ 8 เหรียญต่อวัน เพื่อช่วยค่าใช้จ่าย ตามที่เคยปฏิบัติในเอเชี่ยนเกมส์

  9. จะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการแข่งขัน

  10. ระยะการแข่งขันมีกำหนด 5 วัน คณะนักกีฬาที่เข้าร่วมการแข่งขันอาจมาพักอยู่ได้ 5 วันก่อนการแข่งขัน

  11. ได้มีการหารือและพิจารณาธงเครื่องหมายของกีฬาแหลมทองด้วย

  12. ภาคีประเทศจะจัดให้มีการจุดไฟพิธีในประเทศของตนและนำมารวมกันกรุงเทพฯ ในพิธีเปิดการแข่งขันจะมีผู้ถือคบไฟ 6 คนจากประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันประเทศละ 1 คน ซึ่งจะได้มาจุดพร้อมกันที่กระถางไฟพิธี

  13. ได้มีการหารือในการจัด "ตะกร้อ" เป็นกีฬาแสดงการแข่งขันกีฬาแหลมทองครั้งแรกเดิมกำหนดว่าแข่งขันในเดือนมกราคม 2502 ต่อมาคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯได้มีการพิจารณา เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2501 อีกครั้ง และมีความเห็นว่า เพื่อให้มีการเตรียมการได้ทันจึงให้เลื่อนการแข่งขันไปเป็นเดือนธันวาคม 2502 พร้อมกันนั้นได้ตั้ง พ.ท. เอิบ แสงฤทธิ์ ดร. คลุ้ม วัชโรบล และนพ.บุญสม มาร์ติน เป็นผู้คิดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย ต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้ พล.ท.ประภาส จารุเสถียร (ยศในสมัยนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันครั้งที่ 1

ต่อมาได้มีการแต่งตั้งให้ พล.ท.ประภาส จารุเสถียร (ยศในสมัยนั้น) ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานมนตรีสหพันธ์กีฬาแหลมทองคนแรก และคุณหลวงสุขุมนัยประดิษฐ์ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันครั้งที่ 1

กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 2
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 3
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 4
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 5
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 6
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 7
กีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 8
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 9
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 10
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 11
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 12
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 13
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 14
กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 15
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 16
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 17
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 18
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 19
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 20
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 21
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 22
กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 23

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย