ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
การประชาสัมพันธ์
นักวิชาการและนักวิชาชีพ ด้านการประชาสัมพันธ์ได้ให้ความหมายของคำว่า การประชาสัมพันธ์ ดังนี้
- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมาย "การประชาสัมพันธ์" ว่า การติดต่อสื่อสารเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องต่อกัน
- วิรัช ลภิรัตนกุล คำว่า "การประชาสัมพันธ์" หากวิเคราะห์ตามรูปศัพท์แล้ว เป็นคำที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า "Public Relations"
- Public แปลว่า ประชา ได้แก่ ประชาชน สาธารณชน กลุ่มชน
- Relations แปลว่า สัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์หรือความเกี่ยวข้องด้วยหรือการผูกพัน
ดังนั้น คำว่าการประชาสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
สาธารณชนหรือกลุ่มชน
หนังสือศัพทานุกรมสื่อสารมวลชนได้ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า
หมายถึง กิจกรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตามแผนที่ได้วางไว้
เพื่อเสริมสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาในบุคคลและสถาบัน
การประชาสัมพันธ์อาจแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น การประชาสัมพันธ์โรงเรียน
การประชาสัมพันธ์สำหรับโรงพยาบาล การประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล เป็นต้น
ซึ่งการประชาสัมพันธ์ประกอบด้วย การบวนการ 4 ประการ คือ การค้นคว้าหาข้อมูล
การวางแผน การสื่อสารและการติดตามผลประเมินผล
ความหมายของนักวิชาชีพ
ไอวีแอล ลี (Ivy Ledbetter Lee) นักวิชาชีพทางด้านการประชาสัมพันธ์
ซึ่งถือเป็นบิดาของการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ ได้ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า
การดำเนินงานอะไรก็ตามได้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนเผยแพร่ออกไปให้ประชาชนได้เข้าใจถึงการดำเนินงานให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย
ประชาชนจะให้การสนับสนุนผลงานนั้น
ความหมายของนักวิชาการ
เอ็ดเวิร์ด แอล เบอร์เนย์ (Edward L. Bernays)
นักประชาสัมพันธ์ที่นำผลงานประชาสัมพันธ์เข้าสู่
สถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1923
แสดงความคิดว่าการประชาสัมพันธ์มีความหมาย 3 ประการด้วยกั คือการอ้างถึงใน วิรัช
ลภิรัตนกุล
- เผยแพร่ชี้แจงให้ประชาชนทราบ
- ชักชวนให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย และเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์และวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
- ประสานความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
อาจารย์สะอาด ตัณศุภผล อ้างในวิรัช ลภิรัตนกุล ให้คำจำกัดความว่า
การประชาสัมพันธ์ คือ วิธีการของสถาบันอันมีแผนการและการกระทำที่ต่อเนื่องกัน
ในอันที่จะสร้างหรือพึงให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มประชาชนเพื่อให้สถาบัน
อันจะเป็นประโยชน์ให้สถาบันนั้น ๆ ดำเนินงานไปได้ผลดี สมความมุ่งหมาย
โดยมีประชามติเป็นแนวบรรทัดฐานสำคัญด้วย
จากคำจำกัดความดังกล่าว อธิบายได้ ดังนี้
1. คำว่า สถาบัน (Institution on organization) คือ
กิจการที่บุคคลหรือคณะบุคคลได้จัดทำขึ้นโดยประสงค์ที่จะดำเนินการใด ๆ
ในสังคมให้ลุล่วงไปตามความปราถนาของบุคคลหรือคณะบุคคลนั้น กิจการต่าง ๆ เช่น
กิจการด้านการปกครอง สถาบันก็อาจมีรูปเป็นรัฐบาล กระทรวง ทบวง กรม
และหน่วยราชการต่าง ๆ ถ้าเป็นกิจการด้านสังคมสงเคราะห์ ได้แก่
องค์การสาธารณะกุศลต่าง ๆ เช่น มูลนิธิ หรือสภาสงเคราะห์ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีกิจการด้านธุรกิจ เช่น บริษัท ห้างร้าน ธนาคาร
รวมทั้งสถาบันการศึกษาด้วย เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย โรงเรียน เป็นต้น หน่วยงาน
และองค์การสถาบันเหล่านี้จะต้องดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายของสถาบันดังกล่าวข้างต้นจะต้องดำเนินงานถูกต้องตามกฏหมายมีระเบียบกฏเกณฑ์ข้อบังคับและเป็นสถาบันที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
2. คำว่า กลุ่มประชาชน (The Public) หมายถึง
กลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้องกับสถาบัน กลุ่มประชาชน อาจแบ่งตามลักษณะต่าง ๆ เช่น
ความสนใจ ระดับการศึกษา ความรู้ เพศ วัย ฐานะ และ รายได้ ฯลฯ
กลุ่มของประชาชนจะเป็นกลุ่มใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของสถาบันนั้น ๆ
กลุ่มของประชาชน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
- กลุ่มประชาชนภายนอก (External Public) ได้แก่ กลุ่มประชาชนภายนอก องค์การหรือสถาบันและสถาบันที่เกี่ยวข้อง เช่น ลูกค้า ประชาชน ผู้บริโภค ลูกหนี้ เจ้าหนี้ ฯลฯ
- กลุ่มประชาชนภายใน (Internal Public) ได้แก่ กลุ่มประชาชนภายในองค์การ หรือสถาบัน เช่น เจ้าหน้าที่ขององค์การ กลุ่มพนักงาน
กลุ่มประชาชนดังกล่าวข้างต้น
มีความสำคัญต่อสถาบันมากเพราะมีอิทธิพลที่จะทำให้สถาบันเจริญก้าวหน้า
ถ้าเขาให้ความร่วมมือและสนับสนุน ตรงกันข้าม ถ้าไม่ให้ความร่วมมือสถาบันก็ไปไม่รอด
ดังนั้นส ถาบันจะต้องยืดหยุ่น
เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับกลุ่มประชาชนและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของกิจการ
3. คำว่า ความสัมพันธ์อันดี (Good Relationship) ได้แก่
ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ระหว่างองค์การ สถาบันกับกลุ่มประชาชนของตน กิจการใด ๆ
ของสถาบันที่ได้จัดทำขึ้นนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้งสถาบัน จนกระทั่งได้ดำเนินงานใด ๆ
ของสถาบันไป ควรจะให้เกิดความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนกล่าวคือ
ทำให้กลุ่มประชาชนมีความนิยม เกิดความพึงพอใจความเข้าใจในนโยบาย
และการดำเนินงานของสถาบัน รวมทั้งเต็มใจที่จะให้ความสนับสนุนร่วมมือด้วย
การที่จะให้ดำเนินงานได้ผลดีเช่นนั้น
องค์การสถาบันจำต้องศึกษาถึงสภาพของกลุ่มประชาชนตลอดจนความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ
ที่ประชาชนมีต่อสถาบันและกิจการของสถาบัน สรุปแล้วก็คือ ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี
(Good Understanding) ซึ่งกันและกันนั่นเองเมื่อเกิดความเข้าใจอันดี
หรือความสัมพันธ์อันดีแล้วโอกาสที่จะได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากประชาชนก็จะติดตามมา
4. คำว่า ประชามติ (Public Opinion) คือความคิดเห็นของกลุ่มประชาชน
ที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญร่วมมือ
ความรู้สึกนึกคิดของแต่ละบุคคลย่อมมีความเห็นต่อสิ่งเดียวกันหรือสถาบันแตกต่างกันหรือเหมือนกัน
ดังนั้นสถาบันควรศึกษาความคิดเห็นของประชาชน
สนใจหรือเห็นด้วยให้ความสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน โดยการคัดค้านหรือมีปฏิกริยาโต้ตอบ
เมื่อสถาบันได้ศึกษาสภาพความคิดเห็นของประชาชนแล้วก็จะได้หาทางแก้ไขความคัดแย้ง
หรือความ เข้าใจผิดของประชาชนบางคนในกลุ่มให้หมดไป
ความหมายของสมาคม
สมาคมการประชาสัมพันธ์แห่งสหรัฐอเมริกา (Public Relation Society
of America; PRSA) อ้างในวิรัช ลภิรัตนกูล
ได้ให้คำจำกัดความของการประชาสัมพันธ์ไว้ว่า การประชาสัมพันธ์
เป็นอาชีพที่ให้บริการผลประโยชน์อย่างถูกต้องตามกฏหมายแก่บรรดาลูกจ้างและผู้ว่าจ้าง
อาชีพการประชาสัมพันธ์จึงมีวัตถุประสงค์พื้นฐานอยู่ที่ความ เข้าใจร่วมกัน
และความร่วมมือกันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ และสถาบันสังคม
สถาบันการประชาสัมพันธ์แห่งสหราชอาณาจักร (The British in Stitute of
Public Relations) ให้ความหมายของการประชาสัมพันธ์ว่า การประชาสัมพันธ์ คือ
การกระทำที่มีการวางแผนอย่างสุขุมรอบคอบและมีความหมายไม่ลดละ
เพื่อสร้างสรรค์และธำรงไว้ซึ่งความเข้าใจอันดีร่วมกัน
ระหว่างสถาบันกับกลุ่มประชาชนที่เกี่ยวข้อง
ความสำคัญของการประชาสัมพันธ์
ประเภทของการประชาสัมพันธ์
หลักการประชาสัมพันธ์
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบสังคม
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบเศรษฐกิจ
บทบาทของการประชาสัมพันธ์ต่อระบบการเมือง