ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ
คุณภาพของสารสนเทศ
(Quality of Information/Information Quality)
คุณภาพของสารสนเทศ จะมีคุณภาพสูงมาก หรือน้อย พิจารณาที่ 3 ประเด็น
ดังนี้ (Bentley 1998 : 58-59)
1. ตรงกับความต้องการ (Relevant) หรือไม่
โดยดูว่าสารสนเทศนั้นผู้ใช้สามารถนำไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพได้ มากกว่าไม่ใช้สารสนเทศ
หรือไม่ คุณภาพของสารสนเทศ อาจจะดูที่มันมีผลกระทบต่อกิจกรรมของผู้ใช้ หรือไม่
อย่างไร
2. น่าเชื่อถือ (Reliable) เพียงใด
ความน่าเชื่อถือมีหัวข้อที่จะใช้พิจารณา เช่น ความทันเวลา (Timely) กับผู้ใช้ เมื่อ
ผู้ใช้จำเป็นต้องใช้มีสารสนเทศนั้น หรือไม่ สารสนเทศที่นำมาใช้ต้องมีความถูกต้อง
(Accurate) สามารถพิสูจน์ (Verifiable) ได้ว่าเป็นความจริง
ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
3. สารสนเทศนั้นเข้มแข็ง (Robust) เพียงใด
พิจารณาจากการที่สารสนเทศสามารถเคลื่อนตัวเองไปพร้อมกับ
กาลเวลาที่เปลี่ยนไป (Rigorous of Time) หรือพิจารณาจากความอ่อนแอของมนุษย์
(Human Frailty) เพราะมนุษย์ อาจทำความผิดพลาดในการป้อนข้อมูล
หรือการประมวลผลข้อมูล เพราะฉะนั้นจะต้องมีการควบคุม หรือตรวจสอบ
ไม่ให้มีความผิดพลาดเกิดขึ้น หรือพิจารณาจากความผิดพลาด หรือล้มเหลวของระบบ (System
Failure) ที่จะส่งผล เสียหายต่อสารสนเทศได้ ดังนั้นจึงต้องมีการป้องกันความผิดพลาด
(ที่เนื้อหา และไม่ทันเวลา) ที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือ พิจารณาจากการเปลี่ยนแปลง
การจัดการ (ข้อมูล) (Organizational Changes) ที่อาจจะส่งผลกระทบ
(สร้างความเสียหาย) ต่อสารสนเทศ เช่น โครงสร้าง แฟ้ม ข้อมูล วิธีการเข้าถึงข้อมูล
การรายงาน จักต้องมีการป้องกัน หากมีการ เปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าว
นอกจากนั้นซวาสส์ (Zwass 1998 : 42) กล่าวถึง
คุณภาพของสารสนเทศจะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ การ ทันเวลา ความสมบูรณ์
ความกะทัดรัด ตรงกับความต้องการ ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง (Precision)
และรูปแบบที่เหมาะสม ในเรื่องเดียวกัน โอไบร์อัน (OBrien 2001 : 16-17)
กล่าวว่าคุณภาพของสารสนเทศ พิจารณาใน 3 มิติ ดังนี้
1. มิติด้านเวลา (Time Dimension)
- สารสนเทศควรจะมีการเตรียมไว้ให้ทันเวลา (Timeliness) กับความต้องการของผู้ใช้
- สารสนเทศควรจะต้องมีความทันสมัย หรือเป็นปัจจุบัน (Currency)
- สารสนเทศควรจะต้องมีความถี่ (Frequency) หรือบ่อย เท่าที่ผู้ใช้ต้องการ
- สารสนเทศควรมีเรื่องเกี่ยวกับช่วงเวลา (Time Period) ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
2. มิติด้านเนื้อหา (Content Dimension)
- ความถูกต้อง ปราศจากข้อผิดพลาด
- ตรงกับความต้องการใช้สารสนเทศ
- สมบูรณ์ สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีในสารสนเทศ
- กะทัดรัด เฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น
- ครอบคลุม (Scope) ทั้งด้านกว้างและด้านแคบ (ด้านลึก) หรือมีจุดเน้นทั้งภายในและภายนอก
- มีความสามารถ/ศักยภาพ (Performance) ที่แสดงให้เห็นได้จากการวัดค่าได้ การบ่งบอกถึงการพัฒนา หรือสามารถเพิ่มพูนทรัพยากร
3. มิติด้านรูปแบบ (Form Dimension)
- ชัดเจน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
- มีทั้งแบบรายละเอียด (Detail) และแบบสรุปย่อ (Summary)
- มีการเรียบเรียง ตามลำดับ (Order)
- การนำเสนอ (Presentation) ที่หลากหลาย เช่น พรรณนา/บรรยาย ตัวเลข กราฟิก และอื่น ๆ
- รูปแบบของสื่อ (Media) ประเภทต่าง ๆ เช่น กระดาษ วีดิทัศน์ ฯลฯ
ส่วนสแตร์และเรย์โนลด์ (Stair and Reynolds 2001 : 7) กล่าวถึง คุณค่าของสารสนเทศขึ้นอยู่กับการที่ สารสนเทศนั้น สามารถช่วยให้ผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจทำให้เป้าหมายขององค์การสัมฤทธิ์ผลได้มากน้อยเพียงใด หาก สารสนเทศ สามารถทำให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้ สารสนเทศนั้นก็จะมีคุณค่าสูงตามไปด้วย
วิวัฒนาการของสารสนเทศ
วิวัฒนาการของสารสนเทศ
สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
ความหมายของคำว่า ข้อมูล
ชนิดของข้อมูล
กรรมวิธีการจัดการข้อมูล
ความหมายของสารสนเทศ
หลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์ หรือผลผลิต
คุณลักษณะของสารสนเทศที่ดี
คุณภาพของสารสนเทศ
ความสำคัญของสารสนเทศ
บทบาทของสารสนเทศ
องค์ประกอบของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ