วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
ความร้อนใต้พิภพเป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติอีกแหล่งหนึ่งที่น่าให้ความสนใจ เพราะเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิง มีปริมาณมากพอที่จะใช้ได้โดยไม่มีวันหมด และไม่ก่อมลพิษต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงาน ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การจัดหาแหล่งพลังงานที่มีอยู่ภายในประเทศ เช่น ถ่านหินลิกไนต์ ก๊าซธรรมชาติ พลังน้ำ ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่การนำเข้า แหล่งพลังงานจากต่างประเทศ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน ไฟฟ้า ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราให้ต่างประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้กระบวนการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพจากแหล่งพลังงานเหล่านี้ยังก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อม การแสวงหาแหล่งพลังงานเพื่อนำมาทดแทนและหาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้ในการผลิตกระแสไฟและเป็นแหล่งพลังงานสำรองจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ประเทศไทยควรมีสำรวจ และวิจัย เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ทรัพยากรพลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
พลังงานความร้อนใต้พิภพ
เป็นแหล่งพลังงานธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ได้จากแหล่งความร้อนซึ่งถูกกักเก็บอยู่ภายใต้ผิวโลก
แหล่งความร้อนใต้พิภพจะมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะคือ
แหล่งที่เป็นไอซึ่งจะมีทั้งชนิดไอน้ำแห้งและไอน้ำเปียก แหล่งที่เป็นน้ำร้อน
แหล่งที่เป็นหินร้อนแห้ง และแหล่งที่เป็นแมกมา
ในขณะที่แหล่งพลังงานความร้อนที่เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่พบเห็นได้บนโลก
จะอยู่ในรูปแบบของบ่อน้ำร้อน น้ำพุร้อน บ่อโคลนเดือด และบ่อไอเดือด
การนำเอาความร้อนจากใต้พิภพมาผลิตไฟฟ้าจะเลือกใช้เทคโนโลยีแบบใดจะขึ้นอยู่กับลักษณะของแหล่งความร้อน
ซึ่งแหล่งความร้อนที่ถือว่ามีประสิทธิภาพสูงสุดคือแหล่งที่เป็นไอน้ำแห้ง
ประเทศไทยถึงแม้จะมีศักยภาพของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพไม่สูงนัก
แต่ก็ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนเพราะนอกจากจะใช้เป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าทดแทนพลังงานจากซากดึกดำบรรพ์แล้ว
ยังสามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือกิจการอื่นๆ ได้
โครงสร้างของโลก
ความหมายและแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ลักษณะทั่วไปของแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ปรากฏการณ์ธรรมชาติจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ
โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ
ประเทศไทยกับการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
ผลกระทบจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพ
เอกสารอ้างอิง
- โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพฝาง. [ออน-ไลน์]. (2547ก). แหล่งที่มา: http://teenet.chiangmai.ac.th/sci/survey03.php.
- Boyle, G. (2004). Renewable Energy Power for a Sustainable Future. New York : Oxford University Press.
- Brooks, J. (1985). Origins of Life. England : Lion.
- Giampaolo, D. & Hutchins, M. (2002). Geyser. [On-line]. Available: http://www.nobius.org /~dbg/trip-photos/new-zealand/wai-o-tapu-geyser.jpg.
- Gong, Kevin L. (2004). Mudpot. [On-line]. Available: http://kevingong.com/ Hiking/ Images/ 199908BumpassHell/15BoilingMud001.jpg.
- McVeigh, J.C. (1984). Energy Around The World. Oxfrod : Pergamon.
- National Academy of Sciences. (1979). Energy in Transition 1985-2010. Washington.D.C : National Academy of Sciences.
- Naturbilder. (2005). Fumarole. [On-line]. Available: http://www.naturbilder.de/PortfMetzger/ Fumarole.JPG.
- Nature Pictures. (1996). Hot Spring. [On-line]. Available: http://cfa-www.harvard.edu /~rmcgary/pictures/hot_spring.jpg
- Ristinen, Robert A. & Kraushaar, Jack J. (1999). Energy and the Environment. New York : John Wiley & Sons.
- Shepherd, W. & Shepherd, D.W. (1998). Energy Studies. Singapore : World Scientific.
- ThinkQuest Team. (2000). Earth's Structure. [On-line]. Available: http://mediatheek.thinkquest.nl/~ll125/images/struct.jpg.