ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
อุปสรรคของการสื่อสาร
อุปสรรคที่ทำให้การสื่อสารไม่สัมฤทธิผลนั้นมีหลายประการอาจเกิดจากความบกพร่องขององค์ประกอบของการสื่อสารสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เมื่อทราบว่าอุปสรรคเกิดจากเหตุใด ก็ควรแก้ไขที่จุดบกพร่องนั้น
อุปสรรคของการสื่อสารที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้
1.ผู้ส่งสาร
1) ผู้ส่งสารขาดความรู้ในเรื่องที่จะส่งสาร
2) ผู้ส่งสารขาดประสบการณ์ในการส่งสาร
3) ผู้ส่งสารมีอคติต่อผู้รับสารหรือตัวสาร
4) ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้ภาษา
5) ผู้ส่งสารขาดการชำนาญในการใช้สื่อ
2.ผู้รับสาร
1) ผู้รับสารขาดความรู้ในเรื่องที่ส่งมาจากผู้ส่งสาร
2) ผู้รับสารขาดความสนใจในตัวสาร
3) ผู้รับสารมีอคติต่อผู้ส่งสารและตัวสาร
4)ผู้รับสารขาดทักษะในการรับสาร
5) ผู้รับสารมีการบกพร่องในทักษะการรับสาร
3.สาร
1) สารมีความซับซ้อน
2) สารวกวน
3) สารยากเกินไป
4) สารขัดแย้งกันเอง
5) สารไม่เหมาะกับผู้รับสาร
4.สื่อ
1) โทรศัพท์มีเสียงรบกวน
2) เครื่องขยายเสียงปรับไม่พอเหมาะ
3) ตัวพิมพ์เลอะเลือนไม่ชัดเจน
4) ตัวเขียนอ่านยาก
5.ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
1) ใช้ภาษาผิดระดับ
2) ใช้ภาษายากเกินไป
3) ใช้ภาษาไม่เหมาะกับเนื้อหา
4) ใช้ภาษาวกวน
6.กาลเทศะและสภาพแวดล้อม
1) เวลาไม่เหมาะสม
2) สถานที่ไม่เหมาะสม
3) สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม
วิธีการแก้ไข
ถ้าเราเข้าใจถึงอุปสรรคของการสื่อสารแล้ว
เราก็มีหนทางที่จะแก้ไขอุปสรรคให้หมดไปได้ ทั้งนี้เราต้องใช้ไหวพริบ
มีความพยายามตั้งใจจริงและอาจอาศัยบุคคลอื่นให้ช่วยวิเคราะห์แนะนำ
การแก้ไขอุปสรรคจึงจะสำเร็จลุล่วงด้วยดี
1.) ผู้รับสาร-ผู้ส่งสาร
เมื่อผู้รับสารและผู้ส่งสารสังเกตเห็นว่า
การสื่อสารไม่อาจดำเนินไปได้โดยราบรื่น แทนที่จะรู้สึกหงุดหงิด ขุ่นเคือง รำคาญใจ
เสียใจ ควรสงบจิตใจ
ทำใจให้เป็นกลางและไม่ควรหวันไหวไปกับความสับสนที่เกิดขึ้นกับการสื่อสารนั้นๆ
หากผู้รับสารเกิดความสงสัย เข้าใจสับสนงุนงง
ไม่ควรด่วนสรุปว่าตัวสารหรือผู้ส่งสารเป็นต้นเหตุ อาจเกิดที่ตัวผู้รับสารเองก็ได้
เมื่อเป็นผู้ส่งสารหากสารของตนไม่สามารถบรรลุผลตามที่มุ่งหมาย
ก็ไม่ควรด่วนสรุปว่า เป็นความผิดของฝ่ายผู้รับสาร
เพราะว่าตนเองอาจส่งสารไปผิดกาลเทศะ สารอาจซับซ้อนเกินไป ยากเกินไป
หรือง่ายเกินไปก็ได้
2.) ตัวสาร
เราควรเข้าใจว่า สารเรื่องเดียวกัน อาจนำเสนอได้หลายวิธี
การนำเสนอด้วยวิธีหนึ่งอาจเข้าใจยากสำหรับบุคคลกลุ่มหนึ่ง
อาจเข้าใจง่ายสำหรับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งเราจึงต้องเลือกวิธีนำเสนอสารให้เกิดอุปสรรคในการสื่อสารน้อยที่สุดหรือไม่เกิดขึ้นเลย
สารบางอย่างต้องนำเสนอทั้งด้วยการพูดและการเขียน
เพื่อเสริมซึ่งกันและกันจึงจะสัมฤทธิ์ผล
3.) ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องระมัดระวัง
เลือกใช้ถ้อยคำให้สื่อความชัดเจนเป็นที่เข้าใจแก่ผู้รับสารไม่ควรใช้คำยาก กำกวม
ประโยคที่ยาวยืดเกินไป มักจะยากแก่การเข้าใจ
ถ้าเป็นการเขียนยิ่งต้องระมัดระวังมากกว่าการพูด
เพราะผู้อ่านไม่อาจสอบถามทำความเข้าใจได้โดยทันที
ควรพึ่งระลึกอยู่เสมอว่าภาษาเป็นเครื่องมือสำหรับการสื่อสาร
จึงต้องระมัดระวังไม่ให้กลายเป็นอุปสรรคของการสื่อสาร
4.) สื่อ
สื่อที่เป็นอุปสรรคแก่การสื่อสารนั้น
บางอย่างก็ไม่อยู่ในวิสัยที่เราจะแก้ไขได้ อย่างไรก็ดี
สื่อหลายชนิดอยู่ในวิสัยที่เราจะแก้ไขไม่ให้เกิดอุปสรรคได้
ในกรณีที่ใช้บุคคลให้ไปทำกิจใดๆให้
ถ้าบุคคลนั้นขาดสมรรถภาพในการฟังการพูด รับสารจากผู้ส่งสารได้ไม่ครบถ้วน
รายงานให้แก่ผู้รับสารได้ไม่ครบถ้วน ไม่ชัดเจน
อุปสรรคการสื่อสารก็ต้องเกิดขึ้นฉะนั้นแทนที่จะบอกด้วยวาจา
ควรเขียนด้วยลายลักษณ์อักษรให้นำไปจะเหมาะสมกว่า
5.) กาลเทศะและสภาพแวดล้อม
ในการสื่อสาร ถ้าใช้เวลามากเกินไปก็กลายเป็นอุปสรรค
แต่ถ้าใช้เวลาน้อยก็จะรวบรัดไม่เกิดความเข้าใจที่ดีได้เช่นกัน
นอกจากนี้ยังจะต้องเลือกเวลาที่เหมาะสม ประมาณเวลาให้พอเหมาะ
ควรจะคำนึงถึงสถานที่ด้วย อย่าให้กลายเป็นอุปสรรค เช่น ต่อหน้าบุคคลอื่น
ความหมายของการสื่อสาร
การสื่อสาร
หมายถึงการติดต่อกันระหวางมนุษย์ด้วยวิธีการต่างๆเพื่อทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายและเกิดการตอบสนอง
ภาษาเป็นเครื่องมือของมนุษย์ เป็นสื่อทางความนึกคิดให้สามารถเข้าใจกันได้
ในชีวิตประจำวันของคนเราจะต้องใช้ภาษาในการรับความคิดความรู้สึกของผู้อื่น
โดยใช้ทักษะทั้ง 4 ได้แก่ ฟัง อ่าน เขียน พูด
ซึ่งจะช่วยให้สามารถสื่อสารได้สำเร็จความมุ่งหมาย
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งสาร คือ ผู้แสดงความมุ่งหมาย เช่นผู้พูด ผู้เขียน
2.ผู้รับสาร คือ ผู้รับความมุ่งหมาย เช่น ผู้ฟัง ผู้อ่าน
3.สาร คือ ข้อความหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารถ่ายทอดไปยังผู้รับสาร
4.สื่อ คือ ตัวกลางที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ภาษาเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการสื่อสาร
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1.วัจนภาษา คือภาษาถ้อยคำ ได้แก่ ถ้อยคำที่ใช้พูดใช้เขียนกันทั่ว ๆไป
2.อวัจนภาษา คือภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำ ได้แก่ การแสดงออกทางดวงหน้า การใช้นัยน์ตา
การใช้น้ำเสียง การใช้มือและแขนการเคลื่อนไหว การทรงตัว การแต่งกาย
ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในการสื่อสาร
สำนวน คือ
วิธีการใช้ถ้อยคำทำให้ความหมายด้านใดด้านหนึ่งเด่นชัดขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องถูกต้องตามหลักไวยกรณ์
แต่ก็ยอมรับใช้เป็นภาษาที่ถูกต้อง เช่น
1.สำนวนภาษาสามัญหรือสำนวนภาษาทั่วไป
2.สำนวนภาษาการประพันธ์
3.สำนวนภาษาสื่อมวลชนและสำนวนภาษาโฆษณา
4.สำนวนภาษาเฉพาะวิชาชีพ
ระดับของภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร
ระดับของภาษาแบ่งเป็น 3 ระดับ
1. ภาษาปาก คือ ภาษาพูดทั่ว ๆ ไป รวมถึงคำหยาบต่าง ๆ เช่น มึง กู
2.ภาษากึ่งทางการ คือ ภาษาสุภาพ เช่น ทานข้าวหรือยัง
คุณคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าสนใจหรือไม่ ?
3.ภาษาทางการ คือ ภาษาที่ใช้ในวงราชการ และภาษาที่ใช้ในโอกาสพิธีการต่าง ๆ