ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

(Empowerment Theories)

ปรัชญาที่ใช้ค้ำยันทฤษฎี

ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจมีข้อสันนิษฐานว่า ความรู้และทรรศนะต่อโลกล้วนมีรากเหง้าลึกลงไปในบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์เฉพาะชุดใดชุดหนึ่ง และการกำหนดสร้างความรู้และทรรศนะต่อโลกทั้งหลายเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังอำนาจในการกดขี่ทั้งสิ้น ดังนั้น ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจจึงตั้งข้อสงสัยกับบรรดาทฤษฎีและชุดข้อเท็จจริงที่สถาบันและชนชั้นอภิสิทธิ์ที่มีส่วนในการกดขี่เป็นผู้กำหนดสร้าง ทั้งนี้ ไม่มีทรรศนะต่อโลกชุดใดที่ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจกำหนดสร้างขึ้นเป็นพิเศษ ทว่าทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจให้ความสำคัญกับกระบวนการสนทนาเชิงลุ่มลึกและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างทรรศนะต่อโลก ระบบค่านิยมและปรัชญาที่หลากหลาย หรืออาจกล่าวได้ว่า ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจนั้นนิยมใช้ทรรศนะของผู้ที่ถูกกดขี่เป็นสำคัญ เพื่อที่ว่าประชาชนที่ถูกกดขี่จะได้มีปากเสียงเรียกร้อง และมีพลังในการเอาชนะปรัชญาที่กลุ่มผู้ครอบงำสังคมเป็นผู้กำหนดสร้าง

ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีสตรีนิยมปฏิเสธข้อสันนิษฐานเชิงปรัชญาทุกประการที่มาจากทฤษฎีทุกทฤษฎีที่สะท้อนการครอบงำของผู้ชาย ทั้งนี้ ทุกทฤษฎีและศาสตร์มีค่านิยมเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้นการทำความเข้าใจทฤษฎีและความรู้ทั้งปวงว่าเป็นสิ่งที่มีค่านิยมรองรับนับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญและจำเป็นของศาสตร์ว่าด้วยสตรี (Feminist science) อุดมการณ์ที่ยึดชายเป็นศูนย์กลาง (Andro-centric) นั้นก็เป็นรากเหง้าของบรรดาทฤษฎีต่างๆ ที่สนับสนุนโครงสร้างอำนาจที่มีชายเป็นใหญ่ทฤษฎีที่มีข้อสันนิษฐานว่า ผู้หญิงต้องเป็นฝ่ายยอมตามและผลิตซ้ำนั้นถือได้ว่า เป็นทฤษฎีที่แฝงกลไกของการกดขี่ไว้ในตัวเนื้อหา บทบาททางสังคมที่สตรีได้รับจึงเป็นการยัดเยียดมากกว่าการให้ได้โอกาสในการเลือกเป็นหรือเลือกที่จะไม่เป็น ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจจึงถือว่าเราจะต้องทำตนไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับความไม่เท่าเทียมทางเพศสภาพที่เกิดขึ้น-ไม่ได้ ทว่าจะต้องถือว่าเป็นสาระสำคัญของการทำงานที่จะต้องวิเคราะห์ความไม่เท่าเทียมและการกดขี่เอารัดเอาเปรียบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ เราจะเห็นว่าทรรศนะที่ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจมองการกดขี่นั้น สอดคล้องกับทฤษฎีความขัดแย้งของมาร์กซ์ โดยได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษกับเพศสภาพ แทนที่จะเป็นชนชั้น

นอกจากนั้น เพนย์ (Payne, 1991, p.234) ยังตั้งข้อสังเกตว่า ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจนั้นมีความเหมือนกันกับแนวคิดมนุษย์นิยม ในส่วนที่เป็น “การพัฒนาความสามารถควบคุมตนเองพัฒนาความรับผิดชอบส่วนบุคคลและการประจักษ์ในตนเอง” ผ่านกระบวนการสร้างพลังอำนาจ

ประวัติความเป็นมา
หลักสำคัญของแนวคิด
การจำแนกแยกชั้นชน
การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
ทฤษฎีสตรีนิยม
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในเกย์และเลสเบี้ยน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ประเด็นร่วมสมัย
การให้นิยามความหมายของการให้ความช่วยเหลือ
ประเด็นวิจารณ์
พลังทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ความสอดคล้องกับปัจเจก กลุ่ม ครอบครัว องค์กร สถาบันและชุมชน
ความสอดคล้องกับค่านิยมและจรรยาบรรณของการสังคมสงเคราะห์
ปรัชญาที่ใช้ค้ำยันทฤษฎี
ประเด็นวิธีวิทยาและข้อมูลประจักษ์
บทสรุป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย