ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ
(Empowerment Theories)
การจำแนกแยกชั้นชน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจต้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่มองสังคมว่าประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ที่ถูกจำแนกแยกแยะเป็นชั้นชน โดยแต่ละกลุ่มชั้นชนก็จะมีระดับของพลังอำนาจและการควบคุมทรัพยากรที่แตกต่างกัน การจำแนกแยกชั้นชนเป็นกระบวนการที่ประชาชนในสังคมจะถูกจัดเข้าเป็นกลุ่ม โดยเป็นไปตามลำดับชั้นที่ไม่เท่าเทียมในด้านต่างๆ ได้แก่ ความมั่นคงของทรัพย์สินเงินทองที่แตกต่างกัน อำนาจที่แตกต่างกัน เกียรติยศชื่อเสียงที่แตกต่างกัน ความสามารถในการเข้าถึงทรัพยากรที่แตกต่างกัน และโอกาสในชีวิตสังคมที่แตกต่างกัน
ถึงแม้ว่า ความไม่เสมอภาคเท่าเที่ยมจะเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในทุกสังคม ทว่าบางสังคมอาจจะมีแบบแผนของการจำแนกแยกชั้นชนที่มีความแตกต่างระหว่างชั้นชนน้อยและมีความยืดหยุ่นมาก ในขณะที่ในสังคมอื่นอาจจะมีความแตกต่างระหว่างชั้นชนค่อนข้างมาก สลับซับซ้อนและมีความแข็งนิ่งตายตัว อย่างมาก โดยปกติ คนในสังคมจะถูกจำแนกแยกชั้นชน โดยอาศัยการพิจารณาความแตกต่างในด้านเพศสภาพ อายุ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ ศาสนา กลุ่มภาษา แบบแผน ความนิยมทางเพศ ความพิการ วรรณะ และชนชั้น
ชนชั้นทางสังคม (Social Classes) หมายถึง กลุ่มคนที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่าง-ไม่เท่าเทียมกันในเรื่องความมั่งมีทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศ หรืออำนาจ ซึ่งการวัดชนชั้นทางสังคมมีปัญหามาก แม้ว่าจะมีนักวิจัยพยายามกำหนดมาตรการในการชี้วัดว่าใคร-ผู้ใดควรจะจัดให้อยู่ในชนชั้นใด ทว่าขอบเขตของแต่ละชั้นก็เป็นสิ่งที่แล้วแต่ใครจะมีอำนาจเป็นผู้กำหนดและยากที่จะหาคำนิยามของแต่ละชนชั้นให้ชัดเจนลงไป ในอดีตการชี้วัดความแตกต่างทางชนชั้นมักจะใช้วัฒนธรรมประเพณีที่มีมานานเป็นเครื่องกำหนดว่าใครอยู่ในชนชั้นใด ส่วนในสังคมยุคอุตสาหกรรมและยุคหลังอุตสาหกรรม การจำแนกแยกชั้นชนมาจากองค์ประกอบสี่ส่วนรวมกัน ได้แก่
(1) รายได้
(2) การศึกษา
(3) อาชีพการงาน และ
(4) ความมั่งมีของบุคคลนั้น
ต่อมานักทฤษฎีทางสังคมร่วมสมัยเสนอว่าต้องเพิ่มองค์ประกอบที่สำคัญคือ การเข้าถึงอำนาจทางการเมือง
การจำแนกชนนั้นยังมีความเกี่ยวเนื่องสนับสนุนกับปัจจัยด้านอื่นๆ ที่ทำให้บุคคลด้อยโอกาสและไร้พลังอำนาจ ได้แก่ ปัจจัยด้านเชื้อชาติ เพศสภาพ อายุ ตลอดจนแบบแผนความนิยมทางเพศดังจะเห็นว่า คนในสังคมหนึ่งอาจถูกจำแนกแยกแยะทั้งในด้านชั้นชน เศรษฐกิจสังคมและอายุ หรือเชื้อชาติ หรือชาติพันธุ์ หรือแบบแผนทางเพศไปพร้อมๆ กัน บุคคลนั้นอาจจะเป็นชาวชนเผ่าที่ยากจนอายุน้อยและมีแบบแผนทางเพศเป็นคนรักร่วมเพศ บุคคลผู้นี้ก็จะตกอยู่ในภาวะที่ไร้พลังอำนาจและยากลำบากถึงสามสี่เท่าของบุคคลทั่วไป
ประวัติความเป็นมา
หลักสำคัญของแนวคิด
การจำแนกแยกชั้นชน
การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
ทฤษฎีสตรีนิยม
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในเกย์และเลสเบี้ยน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ประเด็นร่วมสมัย
การให้นิยามความหมายของการให้ความช่วยเหลือ
ประเด็นวิจารณ์
พลังทางสังคม
วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ความสอดคล้องกับปัจเจก
กลุ่ม ครอบครัว องค์กร สถาบันและชุมชน
ความสอดคล้องกับค่านิยมและจรรยาบรรณของการสังคมสงเคราะห์
ปรัชญาที่ใช้ค้ำยันทฤษฎี
ประเด็นวิธีวิทยาและข้อมูลประจักษ์
บทสรุป