ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

(Empowerment Theories)

ประวัติความเป็นมา

ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเป็นกลุ่มทฤษฎีแนวคิดต่างๆ ที่แตกออกมาจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย ตลอดจนทฤษฎีทางสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเป็นกลุ่มทฤษฎีแนวคิดต่างๆ ที่แตกออกมาจากทฤษฎีทางสังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย ตลอดจนทฤษฎีทางสังคม สงเคราะห์ศาสตร์ กลุ่มทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจสนับสนุนการกระทำทางสังคม เนื่องเพราะพื้นฐานมาจากทฤษฎีความขัดแย้งของมาร์กซิสต์ (Marxists) นอกจากนั้น ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจเน้นการปลุกจิตสำนึกเนื่องจากอิทธิพลของความคิดและผลงานของเปาโล แฟรร์ (Paulo Freire)

วงการสังคมสงเคราะห์ได้เริ่มทำงานในลักษณะการเคลื่อนไหวเพื่อขจัดปัญหาความยากจนและปัญหาความไม่เป็นธรรมทางสังคมมานานแล้ว จุดมุ่งหมายของวิชาชีพยังได้ขยายออกไปครอบคลุมเรื่องการกระทำทางสังคม การพิทักษ์ประโยชน์ให้ประชาชน (Advocacy) และการสร้างพลังอำนาจให้กับผู้ใช้บริการ อันที่จริง ประวัติความเป็นมาของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างพลังอำนาจเริ่มมาตั้งแต่สมัยยุคปฏิรูปสังคมในสหรัฐอเมริกา สมัยที่เจน แอดดัมส์ (Jane Addams) และเบอร์ทา คาเพน เรย์โนลด์ส (Berta Capen Reynolds) ทำงานในลักษณะปลดปล่อยผู้ใช้บริการที่เป็นคนอพยพ ชนกลุ่มน้อย ผู้หญิงและเด็กให้พ้นจากการถูกกดขี่เอารัดเอาเปรียบ ผู้นำวงการสังคมสงเคราะห์ในยุคปฏิรูป มีบทบาทในการต่อต้านการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ การผลักดันให้เกิดความเป็นธรรมในประเด็นเชื้อชาติ และการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิเด็กและสิทธิสตรี

อันที่จริง ขบวนการปฏิรูปในยุคของเจน แอดดัมส์ ทำให้วงการสังคมสงเคราะห์ได้พัฒนาทรรศนะที่สำคัญอย่างน้อยสามประการ คือ

(1) ทรรศนะที่มีต่อบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย

(2) ทรรศนะในการทำความเข้าใจธรรมชาติของผู้ใช้บริการ ที่เริ่มไม่เห็นด้วยกับการประทับมลทิน การตีตราและการมองผู้ใช้บริการเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง และ

(3) ทรรศนะที่มีต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลง ทรรศนะทั้งสามประการที่เกิดขึ้นในยุคนี้นำไปสู่การสร้างพื้นฐานของการปฏิบัติงานสังคมสงเคราะห์ที่มุ่งสู่การสร้างพลังอำนาจ (Empower-oriented practice) การเปลี่ยนแปลงในยุคนี้ยังรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงสัมพันธภาพระหว่างนักสังคมสงเคราะห์จากผู้ให้ความช่วยเหลือไปเป็น “พันธมิตร” (Alliance) กับผู้ใช้บริการ หรือเปลี่ยนไปเป็นสัมพันธภาพแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างนักสังคมสงเคราะห์และผู้ใช้บริการ ตลอดจนการย้ำเน้นความสำคัญของคุณค่าในการตัดสินใจด้วยตนเองของผู้ใช้บริการมากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่ยุคของเจน แอดดัมส์ การทำงานสังคมสงเคราะห์กลุ่มชนกลายเป็นพื้นที่ทางวิชาชีพที่สำคัญ เพื่อการทำงานสร้างพลังอำนาจโดยเฉพาะ ทั้งนี้ นักสังคมสงเคราะห์ในกลุ่มของแอดดัมส์ ได้เข้าไปตั้งถิ่นฝังตัว (Settlers) ในชุมชนแออัดที่มีผู้อพยพ คนผิวดำ และคนยากไร้อย่างใกล้ชิดนักสังคมสงเคราะห์เหล่านี้ทำงานโดยใช้วิธีสนทนาเชิงลึก (Dialogue) การให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างนักสังคมสงเคราะห์และประชาชนในชุมชน ตลอดจนกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติการของมวลชนในชุมชน (Collective actions) เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชน

ในปัจจุบัน กิจกรรมด้านสิทธิพลเมือง (Civil rights activities) การรวมพลังชุมชน (Community Organizing) และการพัฒนาชุมชน ได้เป็นเครื่องมือสำคัญของนักสังคมสงเคราะห์ในการสร้างพลังอำนาจให้กับประชาชนผู้ใช้บริการ ยิ่งไปกว่านั้น ในปัจจุบันนักสังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยมได้เน้นการทำงานที่เห็นความเชื่อมโยงระหว่างระบบสังคมที่ชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) การแบ่งแยกทางเพศ การเกลียดกลัวรักร่วมเพศจนเกินเหตุ (Homophobia) และความยากจน นักสังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยมท้าทายบรรดาทฤษฎีสังคมตลอดจนยุทธศาสตร์การวิจัยที่มีฐานคิดเน้นผู้ชายเป็นศูนย์กลางและมีอคติต่อผู้หญิง ทฤษฎีสตรีนิยมเมื่อนำมาปฏิบัติโดยนักสังคมสงเคราะห์ มีฐานะเป็นทฤษฎีหนึ่งที่เป็นการสร้างพลังอำนาจให้กับผู้ใช้บริการสตรีและสตรีทั่วไปโดยตรง

ประวัติความเป็นมา
หลักสำคัญของแนวคิด
การจำแนกแยกชั้นชน
การกดขี่เอารัดเอาเปรียบ
ทฤษฎีสตรีนิยม
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจในเกย์และเลสเบี้ยน
ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจของวิชาชีพสังคมสงเคราะห์
ประเด็นร่วมสมัย
การให้นิยามความหมายของการให้ความช่วยเหลือ
ประเด็นวิจารณ์
พลังทางสังคม วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ความสอดคล้องกับปัจเจก กลุ่ม ครอบครัว องค์กร สถาบันและชุมชน
ความสอดคล้องกับค่านิยมและจรรยาบรรณของการสังคมสงเคราะห์
ปรัชญาที่ใช้ค้ำยันทฤษฎี
ประเด็นวิธีวิทยาและข้อมูลประจักษ์
บทสรุป

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย