วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
กำเนิดชีวิต
แนวความคิดเรื่องกำเนิดชีวิต แบ่งเป็น 3 ช่วง
ช่วงแรก เริ่มจากแนวคิดของนักศาสนารุ่นเก่าในจีน อียิปต์ และบาบิโลเนีย เชื่อว่า เพราะผู้เป็นเจ้าสร้างสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ แม้แต่ในพระคัมภีร์คำสอนเก่า ๆ ได้กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าสร้างโลกและสิ่งมีชีวิตในเวลาเพียง 6 วัน และมนุษย์เป็นสัตว์โลกที่สร้างขึ้นเป็นสิ่งสุดท้าย ความเชื่อนี้เชื่อนี้เชื่อกันมาจนถึงประมาณ ค.ศ.1600
ช่วงที่สอง เมื่อความเชื่อเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าน้อยลง จึงเกิดทฤษฏีใหม่ว่าด้วยชีวิตที่เกิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่มีชีวิต ( Theory of Spontaneous Generation ) ต่อมาทฤษฏีนี้ก่อให้มีคำถามใหม่ตามมาว่า ถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดมาจากสิ่งไม่มีชีวิต ชีวิตชนิดแรกมาจากไหน แต่ละชนิดต่างตัวต่างเกิดขึ้นมาเองใช่ไหม และอย่างไร และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดมีบรรพบุรุษร่วมกันหรือไม่ ในสมัยนั้นไม่มีใครตอบได้แค่เป็นความเชื่อเท่านั้น
ช่วงที่สาม มีทฤษฏีใหม่เกิดขึ้นมา เรียกว่า ทฤษฏีว่าด้วยความไม่สิ้นสุดของชีวิต ( Theory of the Eternity of Life ) โดยมีนักวิทยาศาสตร์หลายคนพยายามอธิบายทฤษฏีนี้เช่น ในปี ค.ศ. 1865 ริคเตอร์ ( Richter) กล่าวว่ามีสิ่งมีชีวิตจากพิภพอื่นลอยมาพร้อมๆ กับลูกอุกกาบาตที่ตกลงมาบนโลก ผู้ที่เชื่อทฤษฏีของริคเตอร์เป็นจริงคือ ลิบแมน ( Lipman ) เพราะเขาได้ตรวจแร่จากดาวตก พบว่ามีแบคทีเรียอยู่ในแร่นั้น ต่อมามีผู้แย้งทฤษฏีนี้ และให้เหตุผลว่า โดยความเป็นจริงแล้ว ขณะที่ดาวตกพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศของโลกลงสู้พื้นดินนั้นต้องผ่านชั้นบรรยากาศที่มีแบคทีเรียอยู่ แบคทีเรียย่อมปะปนมากับดาวตก
ปี ค.ศ. 1903 อาร์เรเนียส ( Arrhenius) เป็นนักฟิสิกส์เคมีที่เชื่อว่า ทฤษฏีว่าด้วยความไม่สิ้นสุดของชีวิตเช่นกัน เพราะคำนวณว่า ถ้าสปอร์ของแบคทีเรียสามารถปลิวไปในอากาศสู่พิภพอื่นได้ด้วยความเร็ว 360,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สิ่งมีชีวิตบนโลกเรานี้ก็อาจเป็นสปอร์ที่ปลิวมาจากโลกอื่นได้ แต่ก็มีผู้แย้งแนวความคิดของอาร์เรเนียส โดยให้เหตุผลว่า ในจักรวาลนั้นอากาศเย็นจัด แห้งจัด และยังได้รับรังสีจากดวง-อาทิตย์สูงมาก ซึ่งสภาพแวดล้อมขนาดนี้ชีวิตทั้งหลาย และสปอร์ของแบคทีเรียไม่สามารถที่จะทนอยู่ได้ เพียงแค่บรรยากาศที่สูงขึ้นไปจากผิวโลกระยะ 700 กิโลเมตร อุณหภูมิในเวลากลางคืนเท่ากับ 250 องศาเซลเซียส และกลางวันสูงถึง 1,220 องศาเซลเซียส เพียงแค่นี้ชีวิตก็อยู่ไม่ได้แล้ว นอกจากนี้ทฤษฏีนี้ก็ไม่ได้อธิบายว่าชีวิตมีจุดเริ่มต้นมาอย่างไร
คำถามเรื่องกำเนิดสิ่งมีชีวิตที่ว่า ถ้าชีวิตเกิดขึ้นเองจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตแล้ว ชีวิตชนิดแรกมาจากไหน นั้นน่าแปลกที่ว่า นักปราชญ์ในยุคก่อนคริสศักราช และนักวิทยาศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 19 - 20 คิดตรงกันอย่างน่าอัศจรรย์ทั้ง ๆ ที่ระยะเวลาห่างกัน 2 พันกว่าปี สิ่งที่เห็นชัดคือ นักปราชญ์ในอดีตจากสิ่งที่เห็นคือ การสังเกต ส่วนนักวิทยาศาสตร์คิดจากผลการทดลองที่ได้
ความเชื่อที่ว่าชีวิตถือกำเนิดมาจากสิ่งที่ไม่มีชีวิตมีมาตั้งแต่นักปราชญ์เก่าแก่ที่สุด คือ ธาเลส ( Thales 624-565 ก่อนคริสศักราช ) เป็นชาวกรีก กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตเกิดจากโคลนตม (ดินกับน้ำ) ในทะเล โดยปฏิกิริยาของ อนินทรียสาร นักปราชญ์คนต่อมา คือ เซโนเฟน ( Xenophane 560 - 480 ก่อนคริสศักราช ) สอนไว้ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดจากดินและน้ำ ต่อมาอนาซากอรัส ( Anaxagorus 510 - 428 ก่อนคริสศักราช ) สอนว่า พืช สัตว์ มนุษย์ เกิดจากโคลน (ดิน น้ำ) บนพื้นโลก อริสโตเติล ( Aristotle 384-322 ก่อนคริสศักราช ) สอนไว้ว่า สิ่งมีชีวิตทุกชนิดเกิดจากดินและน้ำ ต่อมา อนาซากอรัส ( Anaxagorus 510-428 ก่อนคริสศักราช )
กล่าวว่า สิ่งมีชีวิตเกิดมาจากสารที่ไม่มีชิวิตเป็นประจำอยู่ทุกวัน เมิ่อสิ่งมีชีวิตประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปร่างแล้วจะมี วิญญาณเข้ามาสิ่งอยู่ วิญญาณนั้นประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ จากนั้นสิ่งมีชิวิตรูปแบบง่ายๆ นี้จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีรูปร่างซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น มนุษย์เดิมรูปร่างเป็นตัวหนอนแล้วเปลี่ยนเป็นมนุษย์
พัฒนาการของโลก
การเกิดของเมฆ
กำเนิดชีวิต
การเกิดสิ่งมีชีวิตของอริสโตเติล
การสูญพันธุ์