วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
การเกิดของเมฆ
โลกยุคแรกเริ่มกำเนิดจากการถูกชน โลกค่อย ๆ ใหญ่ขึ้นจากแรงชนและการหลอมรวมของเทหวัตถุยิ่งชนมากยิ่งโตมาก แรงดึงดูดยิ่งมาก ค่อย ๆ หลอมเข้ามารวมกันขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ พื้นผิวโลกเริ่มเปลี่ยนแปลง การชนหนัก ๆ เกิดพลังงานความร้อนสูงมากทำให้ผิวโลกเริ่มหลอมละลายกลายเป็นหินหนืด จุดหลอมเหลวของหินหนืดอยู่ที่อุณหภูมิ 1,300 องศาเซลเซียส กว่าจะเย็นลงได้ต้องใช้เวลานาน ดังนั้นโลกเราจึงเกิดเป็นดาวเย็นเกิดเป็นหลุมมหาสมุทรใหญ่จากแรงปะทะ เป็นมหาสมุทรหินหนืด
นอกจากนี้ดาวเคราะห์น้อยที่ลอยเคว้งคว้างไปมาก็ยังพุ่งชนโลกไม่หยุดหย่อน ไม่ใช่เป็นการชนเฉย ๆ แล้วเกิดหลุมบ่อ ดาวเคราะห์เหล่านี้ประกอบด้วยธาตุชนิดต่าง ๆ ซึ่งธาตุเหล่านี้หลอมละลายกลายเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบของโลกในทุกวันนี้ เพื่อให้เข้าใจโลกเราจึงต้องอาศัยวัตถุดิบแร่ธาตุที่ปรากฏในปัจจุบันอธิบาย เวลาผ่านไปนาน ๆ เข้า ความถี่ของการชนค่อย ๆ ห่างลงปัจจุบันถึงแม้ว่ายังมีอุกาบาตอีกมากที่ยังล่องลอยอยู่ในเอกภาพ นานจึงจะร่วงลงมายังโลกสักครั้ง
จากการวิเคราะห์ก้อนอุกาบาตทำให้เข้าใจการเกิดมหาสมุทรของโลกได้ เชื่อว่ามีน้ำอยู่ในระบบสุริยะเมื่อ 4,600 ล้านปีก่อน โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า ไอน้ำถูกเก็บไว้ในอุกาบาตเมื่อระบบสุริยะเย็นลง จากการทดลองเอาสะเก็ดดาวที่คงหลงเหลือพบอยู่บนพื้นโลกในปัจจุบันมาเผาด้วยอุณหภูมิสูง 800 องศาเซลเซียส ได้ไอน้ำออกมาภายใน 1 นาที กลั่นออกมาเป็นหยดน้ำได้ จึงอธิบายได้ว่า ขณะที่อุกาบาตชนโลก เกิดความร้อนขึ้น น้ำในสะเก็ดดาวจึงระเหยขึ้นไปในบรรยากาศของโลก เป็นเมฆลอยอยู่เบื้องบนปกคลุมโลกอยู่เบื้องบน
หลายพันล้านปีก่อนดาวเคราะห์น้อยถูกโลกที่กำลังก่อตัวดึงดูดให้มาชน ความแรงของการชนทำให้ธาตุที่ประกอบอยู่ในเทหวัตถุนั้นแตกตัวออกมาเป็นธาตุต่าง ๆ หลายชนิด ส่วนที่เป็นธาตุเหล็กหนักกว่าจะจมลงยังใจกลางโลก นอกจากธาตุแล้วดาวเคราะห์เหล่านี้ยังมีน้ำอยู่ด้วย โดยปกติจะระเหยทันทีที่ชนโลก ไอน้ำที่ระเหยจะลอยขึ้นไปรวมกับก๊าซมีเทน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลายเป็นเมฆ ทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันโลก (ปรากฏการณ์นี้บนดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่มี) ดาวศุกร์ไม่มีเมฆช่วยเป็นเกราะป้องกันจึงเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ เนื่องจากพลังงานอันแรงกล้าของดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ที่เคยมีอยู่มากมายลดจำนวนลง
ช่วงเวลาการชนจึงห่างออกไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้โลกยังมีมหาสมุทร มีน้ำ ทำให้หินหนืดเย็นลง อุณหภูมิโลกลดลง ขณะที่พื้นผิวโลกเย็นอากาศก็เย็นลงด้วย หมู่เมฆซึ่งลอยอยู่สูง 500 กิโลเมตรก็ค่อย ๆ ลดต่ำลง ณ จุดหนึ่ง อุณหภูมิโลกลดลงเหลือ 300 องศาเซลเซียส (ดาวเคราะห์ดวงอื่นไม่ลด) หมู่เมฆที่อุ้มน้ำไว้เริ่มสลายตัว ฝนตกลงมายังพื้นโลก อุณหภูมิของโลกก็ยิ่งลดลงไปอีก ฝนก็ยิ่งตกลงมาอีก วัฏจักรนี้วนเวียนไปต่อเนื่องจนน้ำท่วมผิวโลก โลกจึงมีมหาสมุทรเกิดขึ้น จ
ากพัฒนาการโลก มหาสมุทรเกิดอย่างฉับพลัน ท้ายสุดหมู่เมฆยังกระจายทั่วไปช่วยกำบังแสงแดดที่ส่องลงถึงผิวโลก และน้ำในมหาสมุทรก็ระเหยขึ้นไปเป็นเมฆอีกต่อไปเป็นวัฏจักร ถ้าปราศจากมหาสมุทรและความเหมาะสม ความเหมาะเจาะ โลกก็คงจะมีสภาพเหมือนดาวศุกร์
ปัจจุบันอุณหภูมิของโลกยังคงเฉลี่ย 15 องศาเซลเซียส ที่เป็นเช่นนี้เพราะสมดุลของอุณหภูมิยังคงมีอยู่ คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นส่วนประกอบเล็กน้อยในบรรยากาศ คือ ร้อยละ 0.03 หรือ 315 ส่วนในล้านส่วน แสงแดดผ่านชั้นบรรยากาศลงมาทำให้โลกอบอุ่น คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศช่วยให้เกิดสภาวะเรือนกระจก ทำให้โลกอบอุ่นในเวลากลางคืน ถ้าปริมาณของคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่านี้ อุณหภูมิโลกจะร้อนขึ้น
อดีตขณะที่ดาวเคราะห์ดวงน้อยชนโลกแต่ละครั้งทำให้เกิดปฏิกิริยาเป็นก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะคาร์บอนไดออกไซด์ในตอนที่โลกเกิดขึ้นใหม่ ๆ มีปริมาณถึง 200,000 เท่าของปัจจุบัน ขณะนั้นโลกต้องร้อนมหาศาล อะไรเล่าที่มากำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ในยุคแรกเกิดโลก คำตอบก็คือ หลักฐานของภูเขาที่เห็นเป็นขาวขุ่น เป็นหินปูน (ใช้ทำปูนซีเมนต์ในปัจจุบัน) หินปูนนี้เองใช้ตอบปริศนาในอดีตว่าเป็นที่เก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ เพราะพื้นผิวหินปูนบางแห่ง เช่น ที่กุ้ยหลิน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เห็นเป็นซากปะการัง แสดงว่าเคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน มีซากของสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธุ์ไปแล้วเป็นผู้สร้างหินปูน หินปูนเหล่านี้มีกระจายทั่วโลก แสดงว่ามีสิ่งมีชีวิตที่สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ในอดีตเป็นหินปูนได้
นักวิทยาศาสตร์ลองประมาณการดูว่า ถ้าเปลี่ยนหินปูนที่มีอยู่ในโลกปัจจุบันทั้งหมดเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะได้ประมาณ 200,000 เท่า เท่ากับที่มีอยู่ในอดีตจริง ๆ บรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมดมีโลกเท่านั้นที่เปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหินปูนได้ คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศถูกทะเลที่เพิ่งเกิดขึ้น ถูกสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเล ปะการังเปลี่ยนเป็นหินปูนของแนวปะการัง อาจพูดได้ว่า ภูเขาหินปูนและแนวปะการังทั่วโลก ช่วยลดคาร์บอนไดออกไซด์ในทะเลถูกใช้ไปทำให้ปริมาณลดน้อยลง คาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศจึงละลายลงไปในทะเล
นอกจากนี้แพลงตอน และสาหร่ายเปลือกแข็งบางชนิดก็ใช้คาร์บอนไดออกไซด์สร้างหินปูนได้ด้วยผสมผสานกับหินปูนของแนวปะการัง หินปูนบริเวณแนวปะการังที่ทวีปออสเตรเลียเป็นชนิดเดียวกับหินปูนที่ภูเขาที่เมืองกุ้ยหลินประเทศจีน หินปูนเหล่านี้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ 3,100 ล้านปีก่อน (หรือเริ่มสร้างเมื่อเกิดโลก 1,500 ล้านปี ) สร้างต่อเนื่องมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงถือว่าปะการังเป็นผู้ลดคาร์บอนไดออกไซด์ให้โลกเรามีสภาพน่าอยู่ ท้องทะเลเป็นตัวดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และเป็นตัวสร้างสมดุลระหว่างทะเลกับบรรยากาศนั่นเอง
จากที่กล่าวมาข้างต้นในแนวคิดและกระบวนการศึกษารวมทั้งหลักฐานที่พบอยู่บนพื้นผิวโลก พออนุมานได้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นั้นได้พัฒนามาจนถึงจุดที่พร้อมจะให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้ และพร้อมที่จะเลี้ยงดูสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่อาศัยอยู่ได้ รวมทั้งสิ่งมีชีวิตที่มาอาศัยอยู่ร่วมกันจะต้องมีวิธีการปรับตัวที่จะอยู่รอด มีวิธีการที่จะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน มีวิธีการที่จะใช้ประโยชน์จากโลกที่อาศัยอยู่ได้อย่างไรจึงจะเกิดสมดุลขึ้นในโลกอันเปราะบางนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับโลกในปัจจุบัน คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณเส้นศูนย์สูตร 12,725 กิโลเมตร โลกเดินทางผ่านไปในอากาศด้วยความเร็ว 170 ไมล์ต่อวินาที โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ 20 ไมล์ต่อวินาที ครบรอบ 365 วัน 6 ชั่วโมง 8 นาที 38 วินาที โลกหมุนรอบตัวเอง 1000 ไมล์ต่อชั่วโมง ครบรอบ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4 วินาที
พัฒนาการของโลก
การเกิดของเมฆ
กำเนิดชีวิต
การเกิดสิ่งมีชีวิตของอริสโตเติล
การสูญพันธุ์