สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

โรคไข้เลือดออก

งานสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์ สนง.สาธารณสุขอำเภอปากพนัง

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากเด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่เด็กคนอื่น ๆ เด็กที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี และจะระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายนในแต่ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก

ยุงลายจะออกหากินในตอนกลางวันมักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในชุมชน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจะอยู่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น แจกัน จานรองขาตู้กับข้าว โอ่งน้ำภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรอง กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น

อาการ

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจะมีไข้สูงลอยอยู่ประมาณ 2- 7 วัน ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัวส่วนใหญ่จะมีอาการหน้าแดง มีจุดแดง ๆ ตามลำตัว แขน ขา บางรายมีอาการคลื่นไส้อาเจียรและเบื่ออาหารในรายที่มีอาการรุนแรง จะกระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคส่วนใหญ่จะพูดคุยรู้เรื่อง ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเสียชีวิตภายใน 12 – 24 ชั่วโมง หลังเริ่มมีภาวะช็อค

  • ถ้าผู้ป่วยมีไข้สูง ควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้

  • หากจำเป็นต้องใช้ยาลดไข้ควรใช้ยาพาราเซ-ตา มอล ห้ามใช้แอสไพริน เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย

  • หากมีอาการอ่อนเพลียให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือ น้ำตาลเกลือแร่บ่อย ๆ

  • ถ้าหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที

ข้อควรระวัง

1. ต้องระวังอย่าให้ยุงกัดในตอนกลางวันซึ่งป้องกันได้ด้วยการนอนในมุ้ง

2. ช่วยกันกำจัดลูกน้ำ และลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย
* ปิดฝาภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด
* หมั่นตรวจดูแจกันและเปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
* ใส่ปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ในภาชนะเก็บน้ำที่ปิดฝาไม่ได้
* เก็บทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้วเช่น ฝังหรือเผา
* คว่ำภาชนะที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง
* ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอก ลงในน้ำจานรองตู้กับข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้ยุงมาวางไข่

ธรรมชาติของยุง

• ยุงลายตัวผู้มีอายุ 7-8 วัน ผสมพันธุ์แล้วก็ตาย

• ส่วนยุงตัวเมียมีอายุ 30-45 วัน และจะออกไข่ครั้งละ100 - 144 ฟอง โดยจะวางไข่อยู่ เหนือขอบโอ่งอ่าง ยางรถยนต์ และจะมีชีวิตนานถึง 6 เดือน - 1 ปีถ้าไข่ยุงเจอน้ำก็จะกลายเป็นลูกน้ำอีก

• ยุงลายจะออกหากินในเวลาเช้า 9.00 น. - 11.00 น.ช่วงบ่าย 13.00 น. - 15.00 น.

ข้อควรปฏิบัติเมื่ออยู่ที่บ้าน

1. เช็ดตัวลดไข้ และดื่มน้ำเกลือแร่ หรือน้ำส้ม
2. ให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามซื้อยาแก้ปวดยาแอสไพรินรับประทานเด็ดขาด เพราะจะทำให้มีเลือดออกได้ง่าย
3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสีดำหรือสีน้ำตาลเพราะจะทำให้ไม่ทราบว่าอุจจาระที่ถ่ายออกมานั้นมีสีดำจากเลือดออกในกระเพาะอาหารหรือจากสีของอาหาร

อาการที่จะต้องมาพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

1. มีไข้สูงลอย 2-8 วัน ไข้ไม่ลด
2. มีอาการปวดท้อง ถ่ายดำ อาเจียนเป็นเลือด
3. มีอาการซึม เพ้อ รับประทานอาหารไม่ได้ กระสับกระส่าย

การป้องกัน

- นอนกางมุ้ง
- ใส่ทรายทีมิฟอส(ทรายอะเบท)ในโอ่งน้ำ(ทรายทีมิฟอส 10 กรัมหรือครึ่งซองต่อน้ำ 5 ปีบ)
- ใสเกลือแกง หรือน้ำส้มสายชูใน
- จานรองขาตู้กับข้าว แจกันดอกไม้
- พ่นสารเคมีในหมู่บ้านที่มีผู้ป่วยและปรับปรุงสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน
- ถ้าสงสัยว่าจะเป็นโรคไข้เลือดออกต้องรีบ ไปรับ การตรวจรักษาจากเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย หรือแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทันที

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย