สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

โรคติดต่อ

ไข้หวัดใหญ่

เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในคนทุกเพศทุกวัย พบได้เกือบทั้งปี แต่จะเป็นมากในช่วงฤดูฝน (ช่วงเดือนกรกฏาคม ถึง ธันวาคม) บางปีอาจพบการระบาดทั่วโลก พบสาเหตุอันดับแรก ๆ ของอาการไข้ที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน แพทย์มักจะให้การวินิจฉัยผู้ใหญ่ที่มีอาการตัว ร้อนมา 2-3 วัน โดยไม่มีอาการอย่างอื่นชัดเจนว่าเป็นไข้หวัดใหญ่

สาเหตุ

เกิดจากเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า อินฟลูเอนซาไวรัส(Influenza virus) เชื้อนี้จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหาของผู้ป่วยติดต่อโดยการไอหรือ จาม หรือหายใจรดกัน

ระยะฟักตัว1-4 วัน เชื้อไข้หวัดใหญ่มีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ เรียกว่า ชนิด เอ บี และ ซี ซึ่งแต่ละชนิดยังแบ่งเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ออกไปอีกมากมาย ในการเกิดโรคแต่ละครั้งจะเกิดพันธุ์ย่อยเพียงพันธุ์เดียว เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อพันธุ์นั้น แต่ไม่สามารถต้านทางพันธุ์อื่น ๆ ได้จึงอาจติดเชื้อ จากพันธุ์ใหม่ได้ เชื้อไข้หวัดใหญ่บางพันธุ์ อาจผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันทำให้เกิดการระบาดใหญ่ และมีการเรียกชื่อโรคที่ระบาดแต่ละครั้งตามชื่อ ของประเทศที่เป็นแหลงต้นกำหนด เช่น ไข้หวัดใหญ่ ฮ่องกง (เรียก สั้น ๆ ว่าไข้หวัด ฮ่องกง หรือหวัดฮ่องกง),ไข้หวัดรัสเซีย, ไข้หวัดสิงคโปร์เป็นต้น

อาการ

มักจะเกิดขึ้นทันที่ทันใดด้วยอาการไข้สูงหนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก(โดย เฉพาะที่กระเบนเหน็บ ต้นขา ต้นแขน) ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ขมในคอ อาจมีอาการเจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกใส ไอแห้ง ๆ จุกแน่นท้อง แต่บางราย ก็อาจไม่มีอาการคัดจมูก หรือเป็นหวัดเลยก็ได้ มีข้อสังเกตุว่าไข้หวัดใหญ่มักเป็นหวัดน้อย แต่ไข้หวัดน้อยมักเป็นหวัดมาก ไข้มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วค่อย ๆ ลดลง อาการไอ และอ่อนเพลียอาจจะเป็นอยู่ อาจเป็นอยู่ 1-4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการอื่น ๆ จะทุเลาแล้วก็ตาม บางคนเมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้ว อาจมีอาการวิงเวียนเหมือนเมารถเมาเรือ เนื่องจากมีการอักเสบของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน ซึ่งมักจะหายเองภายใน 3-5 วัน

สิ่งที่ตรวจพบ

ไข้ 38.5-40ฐC เปลือกตาแดง อาจมีน้ำมูกใส คอแดงเล็กน้อย หรือไม่แดงเลย(ทั้ง ๆ ที่ผู้ป่วยอาจรู้สึก เจ็บคอ) ส่วนมากมักตรวจไม่พบอาการผิดปกติอื่น ๆ

อาการแทรกซ้อน

ให้การดูแลปฏิบัติตัวเหมือนเป็ฯไข้หวัด คือนอนพัก มาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้อมอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน(ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำ และน้ำหวาน หรือน้ำผลไม้ มาก ๆ

การรักษา

1. ให้การดูแล และปฏิบัติตัวเหมือนไข้หวัด คือ นอนพักผ่อนมาก ๆ ห้ามตรากตรำงานหนัก ห้ามอาบน้ำเย็น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ตตัวเวลามีไข้สูง กินอาหารอ่อน (ข้าวต้มโจ๊ก) ดื่มน้ำหวานหรือน้ำผลไม้มาก ๆ

2. ให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้บรรเทาปวด ยาแก้ไอ ยาดแก้หวัด เป็นต้น (ในกรณีเด็กควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน)

3. ยาปฏิชีวนะ ไม่จำเป็นต้องให้ทุกราย เพราะเป็นโรคที่เกิดจากไวรัส จะให้ต่อเมื่อมีภาวะแทรกซ้อนจากเชื้อ แบคทีเรีย เช่น มีน้ำมูกหรือเสลด สีเหลืองหรือเขียว ,ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น ยาปฏิชีวนะ ที่มีให้เลือกใช้ ได้แก่ เพนวี แอมพิซิลลิน หรือ อีโรโทรมัยซิน

4. ถ้ามีอาการหอบหรือสงสัยปอดอักเสบ โดยเฉพาะถ้าพบในคนสูงอายุ หรือเด็กเล็ก ควรส่งโรงพยาบาลด่วน ถ้าพบว่าปอดอักเสบ ควรให้ยา ปฏิชีวนะชนิดของเชื้อที่ตรวจพบ

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้ถือว่าไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง

2. อาการไข้สูง ปวดเมื่อย และไม่มีอาการอื่น ๆ ชัดเจน อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น ๆ ในระยะเริ่มแรก ก็ได้ เช่น ไข้รากสาดน้อย ตับอักเสบ จากไวรัส ไข้เลือดออก หัด เป็นต้น จึงควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการอื่น ๆ ปรากฎให้เห็นก็ควรให้การรักษา ตามโรคที่สงสัย

ถ้าหากมีอาการไข้นานเกิน 7 วัน มักจะไม่ใช่ไข้หวัดแต่อาจมีสาเหตุจากโรคอื่น เช่น ไข้รากสาดน้อย มาลาเรีย เป็นต้น ผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีไข้ไม่เกิน 7 วัน

3. ไข้หวัด และไข้หวัดใหญ่ บางครั้งอาจมีอาการคล้ายกันมาก แต่ไข้หวัดใหญ๋มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ จะแยกกันไม่ออก แต่ก็ให้การดูแลรักษาเหมือน ๆ กัน

4. การป้องกัน ให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับไข้หวัด ส่วนวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ มักจะฉีดในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ ซึ่งจะป้องกัน ได้นานประมาณ 12 เดือน ถ้ามีการระบาดในปีต่อ ๆ ไป ก็ต้องฉีดใหม่อีก โดยทั่วไป ถ้าไม่มีการระบาด จะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่คนทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีอยู่หลายพันธุ์ เราไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าในการระบาดครั้งต่อไป จะเกิดจากเชื้อชนิดใด

โรคตาแดง
โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
โรคคอตีบ
โรคบาดทะยัก
โรคโปลิโอ
โรคสุกใส
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคไอกรน
โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
โรคคางทูม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย