สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

โรคติดต่อ

โรคบาดทะยัก

สาเหตุ

โรคนี้สำคัญแม้จะไม่พบบ่อยก็ตาม เพราะอาการจะรุนแรงและรวดเร็วมาก โดยเชื้อจะเข้าทางผิวหนังที่สกปรก สำหรับทารกแรกเกิดเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผลจากการตัดสายสะดือ เชื้อโรคมักอยู่ตามดินหรือของสกปรกประเภทอุจจาระม้า วัว หรือ อุจจาระสัตว์เลี้ยง ตามตะปูที่เป็นสนิม แผลตะปูตำ แผลลึกทำให้ออกซิเจนเข้ายาก เชื้อจะเจริญดีและเข้าทางสายสะดือของเด็กแรกเกิดได้ โดยเฉพาะถ้ามีการทำคลอดที่ไม่สะอาด

อาการ

ลักษณะเฉพาะเริ่มจากเกร็งที่ขากรรไกรทำให้ขากรรไกรแข็ง เกร็งที่หน้า ทำให้มีลักษณะแสยะปาก จากนั้นจะชักเกร็งที่คอ หลัง ท้องและขา โดยเด็กจะรู้สึกตัวดี ตลอดเวลา และระหว่างที่หยุดชัก กล้ามเนื้อจะเกร็งตลอดทำให้ดูไม่ออกว่าชักจากสาเหตุอื่นหรือเปล่า นอกจากนี้อาจมีภาวะอื่นแทรกด้วย คือ เลือดคลั่ง เลือดออกในระบบประสาท กล้ามเนื้อ ระยะฟักตัวก็มีตั้งแต่ 1 วัน ถึงหลายเดือน แต่เฉลี่ยแล้ว 3-21 วัน

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

หากเด็กเกิดอาการชักต้องรีบพาไปพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เพราะอาการชักของโรคบาดทะยักมีลักษณะคล้ายกับโรคอื่น กว่าจะหาสาเหตุของการชักได้ อาการอาจรุนแรงทำให้เกิดภาวะ การหายใจล้มเหลว ขาดออกซิเจนส่งผลให้เด็กตายได้

การป้องกัน

ปัจจุบัน โรคบาดทะยักนี้เราป้องกันตั้งแต่เด็กแรกเกิดเลย โดยให้วัคซีนป้องกันแก่หญิงมีครรภ์โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ รวมสองครั้ง ห่างกันอย่างน้อยครั้งละหนึ่งเดือน โดยเริ่มฉีดครั้งแรกในโอกาสแรกที่พบจะเป็นเดือนไหนก็ได้ แต่ครั้งที่สองฉีดให้ก่อนครบกำหนดคลอดหนึ่งเดือน เมื่อฉีดครบชุด ดังกล่าวแล้วจะป้องกันได้ถึง 10 ปี จึงจะฉีดกระตุ้นอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับเด็กจะเริ่มฉีดหลังอายุ 2-3 เดือน โดยฉีดให้อย่างน้อย 3 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 2 เดือน รวมไปกับวัคซีนคอตีบและไอกรน และกระตุ้นอีกหนึ่งครั้ง หลังฉีดครบชุดแล้ว 1-1 ปีครึ่ง

โรคตาแดง
โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
โรคคอตีบ
โรคบาดทะยัก
โรคโปลิโอ
โรคสุกใส
โรคอุจจาระร่วงในเด็ก
โรคไอกรน
โรคไวรัสตับอักเสบ เอ
โรคคางทูม
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย