สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>
คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ปัจจุบันคนไทยโดยเฉลี่ยมีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคปัจจุบัน เป็นปัจจัยให้ประชากรผู้สูงอายุจึงมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) โดยมีประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก ๗.๐ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๐.๗ ในปี ๒๕๕๐ เป็น ๗.๕ ล้านคน หรือร้อยละ ๑๑.๗ ในปี ๒๕๕๓ และร้อยละ ๑๒.๖ ในปี ๒๕๕๕ และคาดว่าจะเพิ่มเป็น ๑๔.๕ ล้านคน หรือร้อยละ ๒๕ ในปี ๒๕๗๓ หรือ ๑ ใน ๔ จะเป็นประชากรผู้สูงอายุ สถานการณ์ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุไทยในอนาคต โดยสิ่งที่ควรตระหนัก คือ ความเปลี่ยนแปลงในทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างมากและรวดเร็วนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ของผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง จึงเป็นประเด็นที่ควรพิจารณาว่าจะใส่ใจดูแลผู้สูงอายุอย่างไร
อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทำงานด้วยใจรักจิตอาสา เป็นผู้ให้โดยไม่หวังผลตอบแทน ทำงานเพื่อส่วนรวม ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น รวมทั้งเป็นผู้ใส่ใจและมีความรู้ด้านสุขภาพเป็นอย่างดี มีความสัมพันธ์ที่ดีและได้รับความไว้วางใจ จากคนในชุมชน ประกอบกับในปัจจุบันนี้ ในชุมชนกำลังประสบปัญหา คือ ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น และมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและทุพพลภาพระยะยาวเพิ่มขึ้น การให้ความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาทักษะ ทางกายและใจ สังคม ปัญญา แก่ผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องสำคัญเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีอยู่กับครอบครัว ชุมชน ด้วยความอบอุ่น ผูกผัน ดังนั้น ภารกิจที่สำคัญยิ่งนี้ อสม.จึงควรเป็นผู้ที่มีศักยภาพส่งเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนได้เป็นอย่างดี
คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน ใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับ อสม. ทุกท่านในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาวต่อไป โดยได้รับการสนับสนุนเนื้อหาต้นฉบับจากกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ
สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
บทบาท อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
องค์ความรู้เรื่องผู้สูงอายุที่ อสม. ควรรู้
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจและสังคม
การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต
อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ
ความรู้เรื่องยาสำหรับผู้สูงอายุ
การป้องกันอุบัติเหตุและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การทำกายบริหาร(ยืดเหยียดกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงอายุ)
การบริหารร่างกายโดยใช้ไม้พลอง
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ปัญหาที่พบบ่อยและข้อแนะนำ
อสม. จะส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มได้อย่างไร
สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ
เอกสารอ้างอิง
- สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) เพื่อการดูแล ผู้สูงอายุที่บ้าน , กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรกฎาคม ๒๕๕๔
- สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย คู่มือปฏิบัติงานการสร้างเสริมและดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับอาสาสมัคร , กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
- กองทันตสาธารณสุข กรมอนามัย เพื่อรอยยิ้มผู้สูงวัยร่วมใส่ใจสุขภาพช่องปาก , กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ๒๕๔๙
- สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ อุบัติเหตุในผู้สูงอายุ , กรุงเทพฯ ๒๕๔๓
- กองออกกำลังกาย กรมอนามัย คู่มือก้าวเดิน...เพื่อสุขภาพ , กรุงเทพฯ ๒๕๕๔
- สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ ภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ , กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๔๗
- สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ โรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ , กรุงเทพฯ ๒๕๕๑
- กรมสุขภาพจิต คู่มือการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อมสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ,กรุงเทพฯ ๒๕๕๕
- สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย คู่มือการดำเนินงานการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่บ้าน ,กรุงเทพฯ พิมพ์ครั้งที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๑