สุขภาพ ความงาม อาหารและยา สมุนไพร สาระน่ารู้ >>

คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

มนุษย์ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย ถ้าหยุดการเคลื่อนไหวก็หมายถึงความตายมาเยือน เช่นเดียวกับการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์สำหรับทุกคนเพื่อจะทำให้สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ ทำให้มีภูมิต้านทานโรคต่างๆได้ดีอีกด้วย

จะเริ่มต้นออกกำลังกายอย่างไรดี การเริ่มต้นออกกำลังกาย ควรเริ่มแบบช้าๆ และใช้กำลังน้อยๆก่อน เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้วจึงค่อยๆ ออกกำลังกายให้เร็วขึ้น และใช้กำลังมากขึ้นตามลำดับ แต่อย่าเบ่งหรือกลั้นหายใจขณะออกกำลังกาย

กิจกรรมออกกำลังกายที่แนะนำสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่

การเดิน การวิ่งเหยาะ การถีบจักรยาน กายบริหาร การออกกำลังในน้ำ/ว่ายน้ำ รำมวยจีน รำไทจี๋ซี่กง การเล่นกีฬาที่เคยเล่นเป็นประจำแต่ต้องไม่เป็นการปะทะและใช้ความรุนแรง

ตัวอย่างตาราง การออกกำลังกายภายใน ๑ สัปดาห์

วันที่ กิจกรรม ออกกำลัง

๑ เดิน ๒๐ – ๓๐ นาที กายบริหาร
๒ ออกกำลังกายเพิ่มเติม กายบริหาร
๓ เดิน ๒๐ – ๓๐ นาที กายบริหาร
๔ ออกกำลังกายเพิ่มเติม กายบริหาร
๕ เดิน ๒๐ – ๓๐ นาที กายบริหาร
๖ ออกกำลังกายเพิ่มเติม กายบริหาร
๗ เดิน ๒๐ – ๓๐ นาที กายบริหาร

การออกกำลังกายเพิ่มเติม

หมายถึง การให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นกว่ากิจวัตรประจำวัน เช่น การเดินขึ้น–ลง บันได การทำงานอดิเรกที่ได้ใช้แรงกาย การทำงานบ้าน เช่น การตัดหญ้าในสนาม การเดินออกไปซื้อของ หรือเดินไปรับส่งลูกหลานไปโรงเรียน ฯลฯ

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย
บทบาท อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน
องค์ความรู้เรื่องผู้สูงอายุที่ อสม. ควรรู้
การเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุทางเศรษฐกิจและสังคม
การดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพจิต
อาหารสำหรับผู้สูงอายุ
การดูแลสุขภาพช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ
ความรู้เรื่องยาสำหรับผู้สูงอายุ
การป้องกันอุบัติเหตุและจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
การทำกายบริหาร(ยืดเหยียดกล้ามเนื้อสำหรับผู้สูงอายุ)
การบริหารร่างกายโดยใช้ไม้พลอง
ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ปัญหาที่พบบ่อยและข้อแนะนำ
อสม. จะส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามกลุ่มได้อย่างไร
สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย