ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ทฤษฎีสี

คำว่า “สี” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำจำกัดความไว้ว่า “ลักษณะความเข้มของแสงที่เข้ามากระทบสายตาของเรา ทำให้เรามองเห็นสีต่างๆ การที่เรามองเห็นวัตถุเป็นสีต่างๆได้ก็เนื่องจากว่าวัตถุนั้นๆ สะท้อนแสงออกมา หรือจะกล่าวให้เข้าใจยิ่งขึ้นนั่นหมายความว่าสีที่เรามองเห็นนั้นเป็นสีแสงที่ออกมาจากวัตถุหรือสีของวัตถุกับสีแสงจากที่อื่นมากระทบวัตถุแล้วสะท้อนแสงออกมาเข้าตาเรา”

สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้นับตั้งแต่สิ่งมีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็น ล้วนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเองตามวิสัยของโลก ซึ่งเรารียกว่า “ธรรมชาติ” และสิ่งหนึ่งที่เราเรียกว่า แสงจะทำให้มองเห็นเป็นสีสันต่างๆ สีมีอิทธิพลต่อสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อชีวิตมนุษย์

นักปราชญ์ทางศิลปะค้นพบว่าสีต่างๆ ที่มองเห็นตามธรรมชาตินี้ย่อมมีบ่อเกิดมาจากการผสมสีต่างๆ โดยสามารถจำแนกตามลักษณะของการใช้งานประเภทใหญ่ๆได้ดังนี้

  • สีช่างเขียน
  • สีวิทยาศาสตร์
  • สีจิตวิทยา

สีช่างเขียน

คำว่าช่างเขียน หมายถึงผู้สร้างสรรค์งานศิลปะต่างๆ เช่น ช่างเขียนภาพที่เกี่ยวกับศิลปะการค้า ได้แก่ ภาพโฆษณา ภาพประกอบเรื่องราว ฯลฯ สีของช่างเขียนนี้นักเคมีได้เป็นผู้กำหนดชื่อเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ มี 3 สีได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน

สีวิทยาศาสตร์

นักฟิสิกส์ได้กำหนดขึ้นและนำไปใช้ประโยชน์ตามเทคนิควิธีการและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ในวงการทางศิลปะและการแสดงละครก็ยังได้นำสีนี้ไปใช้ประกอบการแสดง เพราะเป็นสีที่มีการผสมผสานกันด้วยแสง สีที่เกิดขึ้นเหมือนจริงตามธรรมชาติสีนี้เรียกว่า “แม่สีวิทยาศาสตร์” ได้แก่สีส้ม สีม่วง สีเขียว

สีจิตวิทยา

นักจิตวิทยาได้กำหนดขึ้นเป็นสีที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของมนุษย์ มีด้วยกัน4 สีเรียกว่าแม่สีจิตวิทยาได้แก่ แดง เหลือง น้ำเงิน เขียว คนทั่วไปมักจะรู้สึกชอบสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่ง ทั้งนี้อาจจะเกิดจากความเคยชินในสภาพแวดล้อมตั้งแต่เด็ก จึงทำให้ชอบสีนั้นๆเป็นพิเศษ และทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆได้ นอกจากนี้ สียังทำให้เกิดความรู้สึกในด้านของขนาด น้ำหนัก ความแข็งแรง อุญหภูมิ และความสะอาดเช่น

ด้านขนาด

1. สีอ่อน ทำให้รู้สึกกว้าง และใหญ่ขึ้น
2. สีเข้ม ทำให้รู้สึกแคบ และเล็กลง

ด้านน้ำหนัก

1. สีอ่อน สีเย็น ทำให้รู้สึกเบา
2. สีเข้ม สีร้อน ทำให้รู้สึกหนัก

ด้านความแข็งแรง

1. สีร้อนทำให้รู้สึกแข็งแรงขึ้น
2. สีเย็นทำให้รู้สึกแข็งแรงน้อยลง

ด้านอุณหภูมิ

1. สีร้อน ทำให้รู้สึกเร้าร้อน ไม่สบายใจ
2. สีเย็น ทำให้รู้สึกเย็น สบายใจ

ด้านความสะอาด

1. สีอ่อน เช่น สีขาว สีเหลือง สีเขียวเหลือง ซึ่งนิยมใช้กับเครื่องมือรักษาความสะอาด

 | หน้าถัดไป »

สีวัตถุธาตุ
การใช้สีกับการออกแบบตกแต่ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย