ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ทฤษฎีสี

สีวัตถุธาตุ

นักปราชณ์ทางศิลปะได้จัดหมวดหมู่ของสีไว้อย่างเป็นระเบียบและได้ค้นพบว่าในบรรดาสีทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมีบ่อเกิดมาจากการผสมสีเพียง 3 สี จึงเรียกว่า “แม่สี” หรือ “ สีขั้นที่ 1” ที่เรียกว่าแม่สีนั้นหมายถึง สีที่ได้จากธรรมชาติเป็นสีที่นำมาผสมกันในจานสีได้ และจากการผสมของแม่สี และสีขั้นที่ 1 นี้ จะได้เป็นสีขั้นที่ 2 จำนวน 3 สี และจากการผสมสีของสีขั้นที่ 1 กับสีขั้นที่ 2 จะได้สีขั้นที่ 3 อีก 6 สี รวมทั้งหมด 12 สี

สีขั้นที่ 1

ได้แก่ แม่สีวัตถุธาตุ มี สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน หากนำสีวัตถุธาตุทั้ง 3 สี ในปริมาณที่เท่ากันมาผสมเข้าด้วยกันก็จะเกิดเป็น สีกลาง ซึ่งแยกไม่ออกว่าเป็นสีอะไร

สีขั้นที่ 2

เป็นการนำสีขั้นที่ 1หรือแม่สีมาผสมกันที่ละคู่ในปริมาณที่เท่ากัน จนครบทุกสีจะได้สีเกิดใหม่อีก 3 สีคือ

สีเหลือง ผสมกับ สีแดง จะได้ สีส้ม
สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน จะได้ สีม่วง
สีน้ำเงิน ผสมกับ สีเหลือง จะได้ สีเขียว

สีขั้นที่ 3

เป็นการนำเอาสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีมาผสมกันในปริมาณที่ไม่เท่ากันประมาณ70:30 จะได้สีที่เกิดขึ้นใหม่ 6 สี คือ

  • สีเหลือง 70% ผสมกับ สีน้ำเงิน 30% จะได้ สีเขียวเหลือง
  • สีเหลือง 70% ผสมกับ สีแดง 30% จะได้ สีส้มเหลือง
  • สีแดง 70% ผสมกับ สีเหลือง 30% จะได้ สีส้มแดง
  • สีแดง 70% ผสมกับ สีน้ำเงิน 30% จะได้ สีม่วงแดง
  • สีน้ำเงิน 70% ผสมกับ สีแดง 30% จะได้ สีม่วงน้ำเงิน
  • สีน้ำเงิน 70% ผสมกับ สีเหลือง 30% จะได้ สีเขียวน้ำเงิน

จากการผสมของแม่สีวัตถุธาตุ สีขั้นที่ 1 สีขั้นที่ 2 และสีขั้นที่ 3 ทำให้เกิดสีทั้งหมด 12 สี นักปราชญ์ทางทฤษฎีสี ได้นำสีเหล่านี้ มาจัดเรียงลำดับสีอ่อน-แก่ให้สอดคล้องกับลักษณะของสีตามธรรมชาติ ในรูปแบบของวงกลม เรียกว่า “วงจรสีธรรมชาติ” (colour wheel) ถ้าเรียงลำดับน้ำหนักสีจากสีอ่อนไปก็จะได้ดังนี้

เหลือง เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง ม่วงแดง แดง ส้มแดง ส้ม ส้มเหลือง

และจากวงจรสีธรรมชาตินี้ เราสามารถแบ่งสีออกเป็น 2 วรรณะคือ

1. วรรณะร้อน( warm tone) ประกอบด้วยสีเหลือง ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง ม่วง

2. วรรณะเย็น(cool tone) ประกอบด้วยสีเหลือง เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง

เราจะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงจะอยู่ทั้งสองวรรณะเพราะสีทั้งสองสามารถให้ความรู้สึกในการมองเห็นได้ทั้งร้อนและเย็นจึงสามรถจัดอยู่ได้ทั้งสองวรรณะ

กลุ่มสีร้อนสีเย็นที่ไม่อยู่ในวงสี

สีร้อนสีเย็นอาจไม่ใช่สีสดๆที่อยู่ในวงสีก็ได้เพราะสีในธรรมชาติจริงๆแล้วย่อมมีสีที่อ่อนแก่แตกต่างจากวงสีอีกมากถ้าหากสีใดค่อนไปทางสีแดงหรือมีส่วนผสมของสีต่างๆในวรรณะร้อนเป็นส่วนใหญ่ก็จัดเป็นสีร้อนเช่นสีน้ำตาล สีเทาอมแดง สีชมพู ทำนองเดียวกันถ้าหากสีใดค่อนไปทางสีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีที่มีส่วนผสมของสีต่างๆในวงสีที่เป็นสีเย็นเป็นส่วนใหญ่ ก็จัดให้สีเหล่านั้นเป็นสีเย็นเช่นสีเทาอมเขียว สีเทาอมน้ำเงิน สีเขียวเข้ม สีฟ้า เป็นต้น

ส่วนสีขาวบริสุทธิ์และสีดำบริสุทธิ์ที่ไม่มีสีร้อนสีเย็นผสมอยู่เลยไม่จัดอยู่ในกลุ่มของวรรณะร้อนและวรรณะเย็น

หลักการใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็น

การใช้สีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็น เพียงอย่างเดียวย่อมทำได้หากความจำเป็น แต่อาจทำให้เกิดความรู้สึกเบื่อได้ ศิลปินและนักออกแบบมักใช้ทั้งสีวรรณะร้อนและสีวรรณะเย็นในสัดส่วนที่เหมาะสม ละไม่ใช้สีวรรณะร้อนและวรรณะเย็นอย่างละเท่าๆกันเพราะจะทำให้ดูตัดกันอย่างรุนแรง

หากเราใช้สีส่วนรวมหรือสีหลักเป็นสีเย็นควรใช้สีร้อนเป็นสีรองเพียงบางส่วน ในทางกลับกันหากใช้สีหลักเป็นสีร้อนก็ควรใช้สีเย็นเป็นสีรอง โดยทั่วไปจะนิยมใช้ในอัตราส่วนสีหลักต่อสีรองประมาณ 75% ต่อ 25% เพราะในธรรมชาติย่อมมีทั้งสีร้อนและสีเย็นประกอบกัน ในธรรมชาติรอบตัวจะพบสีสันมากมายทั้งสีร้อนและสีเย็น ศิลปินได้ถ่ายทอดความงามในสีสันของธรรมชาติลงบนงานจิตรกรรมซึ่งสามารถกำหนดสอดแทรกความงามวิจิตรลงไปในผลงานมากกว่าภาพถ่ายอารมณ์และความรู้สึกของศิลปินจาถูกถ่ายทอดลงในผลงานทั้งความสดชื่น สงบเย็น หรือร้อนแรง

ค่าสี

ค่าสี(value) หมายถึงความอ่อนแก่ของสีซึ่งสามารถแบ่งเป็นระดับความเข้มมากน้อยต่างกันตามลักษณะของผลงาน เช่น ถ้าค่าของสีมีน้ำหนักต่างกันมากก็จะเหมาะกับผลงานที่ให้ความรู้สึกนุ่มนวล สงบเป็นต้น นอกจากนี้การนำค่าของสีมาใช้กับงานออกแบบยังช่วยสร้างมิติให้เกิดขึ้นในลวดลายได้เป็นอย่างดี ในทางปฏิบัติจะใช้สีดำ ขาว หรือเทาผสมกับสีแท้ (Hue) สีใดสีหนึ่งทำให้เกิดค่าน้ำหนักตามที่ต้องการซึ่งทำให้สีหม่นลงโดยมีชื่อเรียกดังนี้

Tint หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีขาว ทำให้ผลงานดูนุ่มนวล อ่อนหวานสบายตา
Tone หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีเทา ทำให้ความเข้มของสีลดลงให้ความรู้สึกที่สงบ ราบเรียบ
Shade หมายถึง สีแท้ทั้ง 12 สีที่ผสมด้วยสีดำ ทำให้ความเข้มของสีลดความสดใสลง ให้ความรู้สึกขรึม ลึกลับ

ความเข้มของสี ( Intensity)

หมายถึงสีแท้หรือสีบริสุทธิ์ที่แสดงถึงความเด่นชัดความสดใสเปล่งประกายออกมาอย่างชัดเจนมากกว่าสีอื่นๆ ที่อยู่ล้อมรอบซึ่งสีบริสุทธิ์ดังกล่าวจะมีความสดใสมากหากสีนั้นอยู่ท่ามกลางสีหม่น นักออกแบบสามารถใช้การเน้นความสดใสของสีด้วยวิธีต่างๆได้หลายวิธีเช่น

1. ใช้สีที่มีความสดใสที่สุดเป็นศูนย์กลางความสนใจของลวดลายแล้วใช้สีหม่นล้อมรอบลวดลายที่ไม่ใช่จุดเน้น สีหม่นจะช่วยขับให้สีที่มีความเด่นอยู่แล้วเด่นยิ่งขึ้น
2. ใช้คู่สีที่อยู่ตรงกันข้ามในวงจรสี สีดำ หรือสีเข้ม ตัดเส้นขอบของลวดลายหรือเส้นขอบระหว่างรอยต่อของสีที่ปรากฏในลวดลายนั้นก็จะให้สีที่ระบายดูสดใสขึ้น
3. หากมีการใช้สีสดใสในพื้นที่ของลวดลายมากหรือหลายสี ควรมีการตัดเส้นระหว่างรอยต่อของสีด้วยสีเข้ม สีดำ สีทอง หรืออาจเน้นสีขาวแทนการตัดเส้นก็ได้
4. ใช้กลุ่มที่มีลักษณะแตกต่างกันระหว่างรูปและพื้น เช่น กลุ่มสีเจิดจ้าร่วมกับกลุ่มสีสงบ เป็นต้น

สีเอกรงค์ ( monochrome )

หมายถึง การใช้สีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวในผลงานแล้วเพิ่มแล้วลดค่าของสีให้เกิดค่าน้ำหนักอ่อน-แก่ตามต้องการ หรืออาจใช้แม่สีเป็นสีหลักในการระบายและมีสีอื่นประกอบอยู่ด้วยไม่เกิน 5 สี เพราะถ้านับจากแม่สีไปถึงสีที่ 7 ในวงสีธรรมชาติก็จะเป็นสีตัดกันทันที ซึ่งสีเอกรงค์จะไม่มีการตัดกันในโครงสีของลวดลายที่ออกแบบการใช้สีเอกรงค์จะให้ลวดลายมีความกลมกลืนงดงาม

สีกลมกลืน (Colors Harmony)

หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏในผลงานมีสภาพส่วนรวมที่ให้ความรู้สึกไม่บาดตา ดูแล้วมีความกลมกลืนไม่แข็งกระด้างโดยอาจใช้หลักการแบ่งสีกลมกลืนได้ดังนี้

1. การใช้สีข้างเคียงกันในวงจรสี ( Analogous Harmonies )หมายถึงการนำเอาสีที่อยู่ข้างเคียงกันในวงจรสีตั้งแต่ 2-4 สีมาใช้ร่วมกันในผลงานด้วยวิธีการต่างๆดังนี้

การใช้สีติดกันในวงจรสี

หมายถึง การใช้กลุ่มสีที่อยู่ติดกันในวงจรสีตั้งแต่ 2-4 สีมาประกอบในผลงาน ซึ่งถ้าเกินจาก 4 สีจะทำให้ดูไม่กลมกลืนได้ กลุ่มสีที่ใช้เช่น

กลุ่มสีเหลือง เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน
กลุ่มสีน้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง ม่วงแดง
กลุ่มสีแดง ส้มแดง ส้ม ส้มเหลือง

การใช้สีในสกุลเดียวกัน

หมายถึง กลุ่มสีที่มีส่วนผสมของแม่สีเป็นหลักและ ให้ความรู้สึกคล้ายๆกันซึ่งแบ่งได้เป็น 3 สกุลดังนี้

- สกุลสีแดง ประกอบด้วยสี 7 สี ได้แก่ ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดงม่วง และม่วงน้ำเงิน
- สกุลสีเหลือง ประกอบด้วยสี 7 สี ได้แก่ ส้มแดง ส้ม ส้มเหลือง เหลือง เขียวเหลือง เขียว และเขียวน้ำเงิน
- สกุลสีน้ำเงิน ประกอบด้วยสี 7 สีได้แก่ เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงิน น้ำเงิน ม่วงน้ำเงิน ม่วง และม่วงแดง

การใช้สีคู่ผสม

หมายถึงการใช้แม่สี 2 สี ร่วมกับสีที่เกิดจากการผสมของแม่สี 2 สีนั้นรวมเป็น 3 สีประกอบในผลงานก็จะได้กลุ่มสีดังต่อไปนี้

- เหลือง แดง ส้ม
- แดง น้ำเงิน ม่วง
- น้ำเงิน เหลือง เขียว

2. การใช้สีคู่ตรงกันข้ามในวงจรสี ( Complementary Harmonies )

หมายถึงการใช้สีคู่ตรงกันข้ามในวงจรสีมาทำให้เกิดความกลมกลืน ซึ่งวิธีการนี้จะยากกว่าการใช้สีข้างเคียงกันในวงจรสีเพราะสีคู่ตรงกันข้ามจะให้ความรู้สึกที่ตัดกันอย่างรุนแรง แต่หากใช้ในบริเวณที่พอเหมาะก็จะทำให้ผลงานดูน่าสนใจและมีความกลมกลืนกันได้เช่นใช้ในอัตราส่วน 30 : 70 หรือ 20 : 80 เป็นต้น

สีคู่ตรงข้ามมีทั้งหมด 6 คู่ดังนี้

1. สีเหลือง ตัดกับ สีม่วง
2. สีแดง ตัดกับ สีเขียว
3. สีน้ำเงิน ตัดกับ สีส้ม
4. สีเขียวน้ำเงิน ตัดกับ สีส้มแดง
5. สีเขียวเหลือง ตัดกับ สีม่วงแดง
6. สีม่วงน้ำเงิน ตัดกับ สีส้มเหลือง

สีส่วนรวม ( Tonality )

หมายถึงสีหนึ่งสีใดที่มีอิทธิพลครอบงำสีอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกันหรือผลงานเดียวกันให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามไปกับสีนั้น เช่น เราเห็นน้ำทะเลมีสีน้ำเงิน ฟ้า เขียว สีส่วนรวมจึงเป็น
สีน้ำเงิน เป็นต้น

สีส่วนรวมแบ่งได้เป็น 6 กลุ่มดังนี้

1. สีส่วนรวมสีแดง ( Tonality Of Red )
2. สีส่วนรวมสีเหลือง ( Tonality Of Yellow )
3. สีส่วนรวมสีน้ำเงิน ( Tonality Of Blue )
4. สีส่วนรวมสีส้ม ( Tonality Of Orange )
5. สีส่วนรวมสีเขียว (Tonality Of Green )
6. สีส่วนรวมสีม่วง ( Tonality Of Violet )

สีตัดกัน ( Discord )

หมายถึง สีทีอยู่ตรงกันข้ามในวงจรสี หรือเป็นคู่สีที่ไม่มีเนื้อสีผสมอยู่ในกันและกัน จึงมีลักษณะที่ตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างรุนแรง การใช้สีตัดกันจะต้องใช้อย่างระมัดระวังเพื่อให้ผลงานเกิดความเป็นเอกภาพและดูไม่ขัดตาจนเกินไปโดยอาจใช้วิธีการดังต่อไปนี้

1. ใช้สีคู่ตัดกันในบริเวณที่แตกต่างกัน คือ ให้สีใดสีหนึ่งเด่นเพียงสีเดียว
2. ใช้การปรับค่าของสีให้จางหรือหม่นลงด้วยการผสมคู่สีเข้าไปในกันและกัน หรือใช้สีใดสีหนึ่งผสมเข้าไปในสีคู่ที่ตัดกัน
3. ใช้สีกลาง คือ สีขาว สีเทา หรือสีดำ ผสมกับคู่สีตัดกัน จะทำให้ลดความสดใสของสีลงได้
4. ใช้ลวดลายสอดแทรกลงในพื้นที่ที่ออกแบบจะช่วยให้จุดเด่นของคู่สีตัดกันลดน้อยลง

ระยะของสี ( Perspective of Colors )

หมายถึง ระยะใกล้-ไกลของสีแต่ละสีที่เปล่งความเข้มแตกต่างกันทำให้เกิดความรู้สึกในเรื่องของมิติตื้น-ลึกไม่เท่ากันซึ่งส่วนใหญ่จะแบ่งได้เป็น 3 ระยะดังนี้

1. ระยะหน้า (Fore Ground ) เป็นระยะที่อยู่ใกล้ตามากที่สุด
2. ระยะกลาง ( Middle Ground ) เป็นระยะที่อยู่กลางๆซึ่งมักจะมีค่าความเข้มของสีไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
3. ระยะหลัง ( Back Ground ) เป็นระยะที่อยู่ไกลสุด ซึ่งจะมีค่าของสีอ่อนมากที่สุด

« ย้อนกลับ | หน้าถัดไป »

สีวัตถุธาตุ
การใช้สีกับการออกแบบตกแต่ง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 การแพทย์แผนโบราณ
ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา ได้ค้นพบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจนสำหรับราษฏร มีแหล่งจำหน่ายยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและ นอกกำแพงเมือง

🍁 หลักธรรมในการอยู่ร่วมกันในสังคม
พระพุทธศาสนาได้สอนไว้ว่านักปกครองที่ดีนั้นควรมีคุณธรรม 10 ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม

🍁 สมถะวิปัสสนา
ตามแนวพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ (เถรวาท) ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)

🍁 พุทธธรรมขั้นพื้นฐาน
ไม่มีมนุษย์คนใดที่จะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ลำพังตนเองโดยไม่ติดต่อสัมพันธ์กับคนอื่น เพราะการดำรงชีวิตอยู่ของคนเราจำเป็นจะต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน

🍁 พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
สูตรของท่านเว่ยหล่างล้วนแต่เป็นเรื่องของการใช้ปัญญาเพื่อค้นหาหนทางแห่งความเป็นพุทธะ และเพื่อความหลุดพ้นไปจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงในโลกนี้

🍁 พุทธศาสนสุภาษิต
สุภาษิตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย

🍁 โอวาทสี่ของเหลี่ยวฝาน
แบบฉบับในการประพฤติดี ปฏิบัติชอบ เพื่อหยุดยั้งกระแสแห่งวัฒนธรรมตะวันตกและอนุรักษ์ความเป็นคนจีนดั้งเดิม

🍁 สาเหตุการเกิดมลภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกในปัจจุบัน สังเกตุได้จากอุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้น

🍁 แนวคิดและหลักการทางวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ คือ องค์ความรู้ของธรรมชาติและวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการสืบเสาะหาความรู้

🍁 จักรวาล
“จักรวาล” และ “เอกภพ” เป็นคำๆ ที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า “Universe” ซึ่งหมายถึง ทุกสรรพสิ่งทั้งหมดทั้งปวง

🍁 ปัญญาประดิษฐ์
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI) หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นสาขาหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมเป็นหลัก

🍁 มัทนะพาธา
บทละครเรื่องมัทนะพาธาได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรประกาศยกย่องให้เป็นหนังสือที่แต่งดีใช้คำฉันท์เป็นบทละครพูด ที่มีตัวละครและฉากสอดคล้องกับวัฒนธรรมภารตะโบราณ

🍁 คู่มือพระสังฆาธิการ
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรถวายความรู้ แด่พระสังฆาธิการ หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งพระสังฆาธิการจำเป็นจะต้องรับทราบ และถือปฏิบัติเพื่อเป็นแนวทาง ในการบริหารการปกครองวัด

🍁 หุ่นยนต์
หุ่นยนต์มีความแตกต่างจากเครื่องจักรกลแบบอื่น ๆ ตรงที่มันสามารถเคลื่อนไหวโครงสร้างได้ หุ่นยนต์แตกต่างจากคอมพิวเตอร์ตรงที่มันสามารถนำผลที่ได้จากการประมวลมา ปฏิบัติให้เกิดงานในทางกายภาพได้ขณะที่คอมพิวเตอร์ไม่มี

🍁 ข้อคิดจากนิทานไทย
นิทานเป็นเรื่องเล่าที่สืบทอดมาแต่โบราณ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการพาเด็กและเยาวชนไปสู่โลกกว้างของการเรียนรู้ชีวิตจริง

🐍 โปรดระวังงูฉก

มนุษย์ก็เหมือนสสารชนิดหนึ่ง
ที่รอวันร่วงโรยแตกดับ

อยู่ไปนานวันเข้าก็เริ่มสูญเสียความสมดุล
ระบบการทำงานของร่ายกายก็ช้าลงไปเรื่อยๆ

หลีกหนีไม่พ้นความตายในที่สุด

ร่างกายเน่าเปื่อยผุผัง
ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
ไม่มั่นคงยั่งยืน
กลับคืนสภาพเดิมได้ยาก

จากธรรมชาติสู่ธรรมชาติ
ทั้งในสถานะของแข็งของเหลวและก๊าซ

มันเป็นอนิจจัง

รู้แล้วเหยียบไว้
อย่าได้ทำเป็นตื่นตูม.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ขอเป็นตาแก่ขี้บ่นในหัวใจเธอ
สง่างามแบบมนุษย์ๆ ไม่ขี้โกงเอารัดเอาเปรียบกัน ไม่นินทากันลับหลัง ไม่เหยียบย่ำทำลายกัน นั่นย่อมประเสริฐแล้ว

🌿 ฝ่าเท้าเย้ยพิภพ
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
อหังการ์แห่งมนุษยชาติ ก้าวเท้ากดลึกลงบนผิวดวงจันทร์ บริวารเก่าแก่ดวงเดียวของโลก ซึ่งครั้งหนึ่ง บรรพชนเคยนมัสการกราบไหว้

🌿 ความทรงจำที่เศร้าหมอง
จอมยุทธ : กรีดสาย
กับความอาดูรที่สูญสิ้น บางสิ่งบางอย่างไม่อาจหวนคืน ใครคนหนึ่งเก็บตัวเงียบเหมือนสัตว์ป่าหายาก

🌿 ธรรมนูญนรก
ปรัชญาเถื่อน โดย :: สารถี แห่งลุ่มแม่น้ำเพชร
และแล้วชีวิตก็จากไป จากไปอย่างไร้ร่องรอย คงทิ้งไว้แต่เพียงเรือนร่างร้างที่เคยสิงสถิต ซากศพผู้จงรักภักดี

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆