ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
(Behaviorism)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของ สกินเนอร์
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของ สกินเนอร์
เกี่ยวกับการวัดพฤติกรรมตอบสนอง
สกินเนอร์ เห็นว่าการศึกษาจิตวิทยาควรจากัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และพฤติกรรมที่สังเกตได้นั้นสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือพิจารณาจากอัตราการ ตอบสนอง (Response rate) นั่นเอง
อัตราการตอบสนองและการเสริมแรง
สกินเนอร์ เชื่อว่าโดยปกติการพิจารณาว่าใครเกิดการเรียนรู้หรือไม่เพียงใดนั้นจะสรุปเอาจากการเปลี่ยนแปลงการตอบสนอง (หรือพูดกลับกันได้ว่าการที่อัตราการตอบสนองได้เปลี่ยนไปนั้น แสดงว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการเสริมแรง (Reinforcement) นั้นเอง สิ่งเร้านี้สามารถทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลง เราเรียกว่าตัวเสริมแรง (Reinforcer) สิ่งเร้าใดที่ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราการตอบสนองเราเรียกว่าไม่ใช่ตัวเสริมแรง (Nonreinforcer)
ประเภทของตัวเสริมแรง
ตัวเสริมแรงนั้นอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะคือ อาจแบ่งเป็นตัวเสริมแรงบวกกับตัวเสริมแรงลบ หรืออาจแบ่งได้เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิกับตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
ตัวเสริมแรงทางบวก (Positive Reinforcer)
หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง
ซึ่งเมื่อได้รับหรือนาเข้ามาในสถานการณ์นั้นแล้วจะมีผลให้เกิดความพึงพอใจ
และทำให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น อาหาร คำชมเชย ฯลฯ
ตัวเสริมแรงลบ (Negative Reinforcer)
หมายถึง สิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อตัดออกไปจากสถานการณ์นั้นแล้ว
จะมีผลให้อัตราการตอบสนองเปลี่ยนไปในลักษณะเข้มข้นขึ้น เช่น เสียงดัง แสงสว่างจ้า
คำตำหนิ ร้อนหรือเย็นเกินไป ฯลฯ
ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ (Primary Reinforcer)
เป็นสิ่งเร้าที่จะสนองความต้องการทางอินทรีย์โดยตรง ซึ่งเปรียบได้กับ UCS. ในทฤษฎีของพาฟลอฟ เช่น เมื่อเกิดความต้องการอาหาร อาหารก็จะเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิที่จะลดความหิวลง เป็นต้น
ลาดับขั้นของการลดแรงขับของตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ดังนี้
- ความไม่สมดุลย์ในอินทรีย์ ก่อให้เกิดความต้องการ
- ความต้องการจะทำให้เกิดพลังหรือแรงขับ (drive) ที่จะก่อให้เกิดพฤติกรรม
- มีพฤติกรรมเพื่อจะมุ่งสู่เป้าหมาย เพื่อให้ความต้องการได้รับการตอบสนอง
- ถึงเป้าหมาย หรือได้รับสิ่งที่ต้องการ สิ่งที่ได้รับที่เป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิ ตัวเสริมแรงที่จะเป็นรางวัลที่จะมีผลให้อยากทำซ้ำ และมีพฤติกรรมที่เข้มข้นในกิจกรรมซ้ำ ๆ นั้น
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
โดยปกติแล้วตัวเสริมแรงประเภทนี้เป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Natural Stimulus)
สิ่งเร้าที่เป็นกลางนี้ เมื่อนาเข้าคู่กับตัวเสริมแรงปฐมภูมิบ่อย ๆ เข้า
สิ่งเร้าซึ่งแต่เดิมเป็นกลางก็กลายเป็นตัวเสริมแรง
และจะมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับตัวเสริมแรงปฐมภูมิ เราเรียกตัวเสริมแรงชนิดนี้ว่า
ตัวเสริมแรงทุติยภูมิ ตัวอย่างเช่น การทดลองของ
สกินเนอร์ โดยจะปรากฎว่า เมื่อหนูกดคานจะมีแสงไฟสว่างขึ้น และมีอาหารตกลงมา
แสงไฟซึ่งแต่เดิมเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมาเมื่อนาเข้าคู่กับอาหาร
(ตัวเสริมแรงปฐมภูมิ) บ่อย ๆ แสงไฟก็จะกลายเป็นตัวเสริมแรงปฐมภูมิเช่นเดียวกับอาหาร
แสงไฟจึงเป็นตัวเสริมแรงทุติยภูมิ
ตารางกำหนดการเสริมแรง (Schedules of Reinfarcement)
สภาพการณ์ที่สกินเนอร์พบว่าใช้ได้ผล ในการควบคุมอัตราการตอบสนองก็ถึงการกำหนดระยะเวลา (Schedules) ของการเสริมแรง การเสริมแรงแบ่งเป็น ๔ แบบด้วยกัน คือ
- Fixed Ratio เป็นแบบที่ผู้ทดลองจะกำหนดแน่นอนลงไปว่าจะให้การ เสริมแรง ๑ ครั้ง ต่อการตอบสนองกี่ครั้ง หรือตอบสนองกี่ครั้งจึงจะให้รางวัล เช่น อาจกำหนดว่า ถ้ากดคานทุก ๆ ๕ ครั้ง จะให้อาหารหล่นลงมา ๑ ก้อน (นั้นคืออาหารจะหล่นลงมาเมื่อหนูกดคานครั้งที่ ๕, ๑๐, ๑๕, ๒๐.....)
- Variable Ratio เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่ได้กำหนดแน่นอนลงไปว่าจะต้องตอบสนองเท่านั้นเท่านี้ครั้งจึงจะได้รับตัวเสริมแรง เช่น อาจให้ตัวเสริมแรงหลังจากที่ผู้ถูกทดลองตอบสนอง ครั้งที่ ๔, ๙, ๑๒, ๑๘, ๒๒..... เป็นต้น
- Fixed Interval เป็นแบบที่ผู้ทดลองกำหนดเวลาเป็นมาตรฐานว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อไร เช่น อาจกำหนดว่าจะให้ตัวเสริมแรงทุก ๆ ๕ นาที (คือให้ในนาทีที่ ๕, ๑๐, ๑๕, ๒๐.....)
- Variable Interval เป็นแบบที่ผู้ทดลองไม่กำหนดให้แน่นอนลงไปว่าจะให้ตัวเสริมแรงเมื่อใด แต่กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ ว่าจะให้การเสริมแรงกี่ครั้ง เช่น อาจให้ตัวเสริมแรงในนาทีที่ ๔, ๗, ๑๒, ๑๔..... เป็นต้น)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์
ทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดด์
ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์