ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

นางวิสาขา

เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา
อายุ 7 ขวบบรรลุโสดาบัน
หญิงงามเบญจกัลยาณี
ชน 4 พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม
ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว
อานิสงส์ของการทำบุญแล้วแถม
นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว
พ่อผัวยกย่องนางวิสาขาในฐานะมารดา
คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา
นางวิสาขาร้องไห้อาลัยหลาน
นางวิสาขาสร้างวัด
เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน
พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

นางวิสาขาสร้างวัด

โดยปกตินางวิสาขาจะไปวัดวันละ 2 ครั้ง คือ เช้า-เย็น และเมื่อไปก็จะไม่ไปมือเปล่า ถ้า ไปเวลาเช้าก็จะมีของเคี้ยวของฉันเป็นอาหารไปถวายพระ ถ้าไปเวลาเย็นก็จะถือน้ำปานะไปถวาย เพราะนางมีปกติทำอย่างนี้เป็นประจำ จนเป็นที่ทราบกันดีทั้งพระภิกษุสามเณร และอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย แม้นางเองก็ไม่กล้าที่จะไปวัดด้วยมือเปล่า ๆ เพราะละอายที่พระภิกษุหนุ่มสามเณรีน้อยต่างก็จะมองดูที่มือว่านางถืออะไรมา และก่อนที่นางจะออกจากวัดกลับบ้าน นางจะเดินเยี่ยมเยือนถามไถ่ความสุข ความทุกข์ และความประสงค์ของพระภิกษุสามเณร และเยี่ยมภิกษุไข้จนทั่วถึงทุก ๆ องค์ก่อนแล้วจึงกลับบ้าน

วันหนึ่งเมื่อนางมาถึงวัด นางได้ถอดเครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ มอบให้หญิงสาวผู้ ติดตามถือไว้ เมื่อเสร็จกิจการฟังธรรมและเยี่ยมเยือนพระภิกษุสามเณรแล้ว ขณะเดินกลับบ้านนางได้บอกให้หญิงรับใช้ส่งเครื่องประดับให้ แต่หญิงรับใช้ลืมไว้ที่ศาลาฟังธรรม นางจึงให้กลับไปนำมา แต่สั่งว่าถ้าพระอานนท์เก็บรักษาไว้ก็ไม่ต้องเอาคืนมาให้มอบถวายท่านไปเลย เพราะนางคิดว่าจะไม่ประดับเครื่องประดับที่พระคุณเจ้าถูกต้องสัมผัสแล้ว ซึ่งพระอานนท์ท่านก็มักจะเก็บรักษาของที่อุบาสกอุบาสิกาลืมไว้เสมอ และก็เป็นไปตามที่นางคิดไว้จริง ๆ แต่นางก็กลับคิดได้อีกว่า “เครื่องประดับนี้มีประโยชน์แก่พระเถระ”



ดังนั้นนางจึงขอรับคืนมาแล้วนำออกขายในราคา 9 โกฏิ กับ 1 แสนกหาปณะ ตามราคาทุนที่ทำไว้ แต่ก็ไม่มีผู้ใดมีทรัพย์พอที่จะซื้อไว้ได้ นางจึงซื้อเอาไว้เอง ด้วยการนำทรัพย์เท่าจำนวนนั้นมาซื้อที่ดินและวัสดุก่อสร้างดำเนินการสร้างวัดถวายเป็นพระอารามประทับของพระบรมศาสดา และเป็นที่อยู่อาศัยจำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์สามเณร

พระบรมศาสดารับสั่งให้พระมหาโมคคัลลานะ เป็นผู้อำนวยการดูแลการก่อสร้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นปราสาท 2 ชั้น มีห้องสำหรับพระภิกษุพักอาศัยชั้นละ 500 ห้อง โดยใช้เวลาในการก่อสร้างถึง 9 เดือน และเมื่อสำเร็จเรียบร้อยแล้ว ได้นามว่า “พระวิหารบุพพาราม”

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย