สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

สังคมนิยมและคอมมิวนิสม์

เกออร์ก เฮเกล
คาร์ล มาร์กซ์
วลาดิมีร์ เลนิน
เหมา เจ๋อ ตุง

เกออร์ก เฮเกล

(Georg Wilhelm Friedrich Hegel 1770 - 1831)

เฮเกล เป็นนักปรัชญาจิตนิยมเยอรมันที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เกิดที่เมือง สตุตการ์ด และได้ศึกษาวิชาปรัชญา ศาสนาวิทยา เทววิทยา ที่มหาวิทยาลัยทูบิงเกน ณ ที่นี้ เขาได้ก่อตั้งวารสารทางปรัชญาขึ้น

ในปี ค.ศ. 1801 เมื่อเขามีอายุ 30 ปี เขาได้ไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยเยนา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์พิเศษประจำมหาวิทยาลัย สอนวิชาปรัชญา

ต่อมาในปี ค.ศ.1816 เขาถูกเรียกตัวไปเป็นศาสตราจารย์ในวิชาปรัชญา ณ มหาวิทยาลัยไฮเบิก ในระหว่างที่เขามีชีวิตอยู่เขาได้ดำรงตำแหน่งต่างๆเป็นจำนวนมาก ในที่สุดเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ณ ที่นี่ เขาได้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำโลกทางปรัชญาของเยอรมัน ชีวิตของเขาเป็นชีวิตแห่งความก้าวหน้าทั้งในด้านอาชีพ สังคม และการเมือง เขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ.1831 ในกรุงเบอร์ลิน

ผลงานสำคัญ

  • Philosophy of Mind 1807
  • Science of Logic 1812-1816
  • Encyclopedia of the Philosophical Sciences
  • Philosophy of Natuw 1817
  • Philosophy of right 1821
  • Posthumously Published Works includes lectures on the history of philosophy 1833-1836
  • Philosophy of History 1837
  • Philosophy of Art 1836-1838

 

ปรัชญาของเฮเกล คือ ลัทธิจิตนิยม (idealist) เฮเกลเชื่อว่า สิ่งที่เป็นความจริงจะต้องมีลักษณะสมบูรณ์ทั่วด้าน ที่เรียกว่า จิตสัมบูรณ์ เป็นตัวตนสมบูรณ์ ครอบงำสรรพสิ่ง และเป็นสิ่งตรงข้ามกับโลกความเป็นจริงที่มนุษย์เห็นอยู่โดยทั่วไป หรือสัมผัสได้

จุดเด่นในปรัชญาเฮเกล คือ ทัศนะแบบวิภาษวิธี (dialectic) ที่อธิบายว่า จิต หรือตัวตนสมบูรณ์นี้ แสดงออกในรูปของความขัดแย้ง 2 ด้าน คือ ด้านสนับสนุน และด้านปฏิเสธ ด้านหนึ่งเป็นบทเสนอ (thesis) ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นบทแย้ง (antithesis) และวิวัฒนาการการต่อสู้ระหว่าง 2 ด้านที่ขัดแย้งนี้เอง จะนำมาสู่การพัฒนาของสิ่งใหม่ ที่จะเรียกว่า บทสรุป (synthesis) และบทสรุปนี้ก็จะกลายเป็นบทเสนอ (thesis) ใหม่ ก่อให้เกิดบทแย้ง (antithesis) ใหม่ และนำมาสู่บทสรุป (synthesis) ใหม่ ไปจนสิ้นสุดกระบวนการพัฒนาที่จะนำไปสู่ความเป็น จิตสมบูรณ์อันแท้จริง

รัฐที่สมบูรณ์ในทรรศนะของเฮเกล

รัฐที่สมบูรณ์ คือ รัฐที่ปัจเจกบุคคลซึ่งพัฒนาตนเองอย่างสมบูรณ์พบกับอุดมคติอันเป็นสิ่งสากล ในความคิดของ เฮเกล รัฐที่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ในระบบตรรกของเขาจะเป็นรัฐที่พร้อมด้วยหลักการ และเหตุผล มีรัฐธรรมนูญ และกษัตริย์เป็นประมุข ซึ่งผู้นำจะต้องเป็นได้ทั้งกษัตริย์ ประธานาธิบดี เผด็จการ แต่เฮเกลก็สรุปต่อไปว่า ผู้นำจะต้องเป็นกษัตริย์ผู้สืบเชื้อพระวงศ์ เพราะหลักตรรกที่ว่า ผู้นำคือผู้ที่เป็นอยู่มาแล้วโดยธรรมชาติ โดยชาติกำเนิด ไม่ใช่ผลิตผลของจิต ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเขาเห็นด้วยกับระบอบราชาธิปไตย เพราะเมื่อกษัตริย์ซึ่งเป็นปัจเจกภาพ และสากลภาพ ก็ย่อมหมายความว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการออกกฎหมาย สูงสุดในที่มาของอำนาจบริหาร อย่างไรก็ดี เฮเกลไม่ได้บอกว่า กษัตริย์จะต้องมีอำนาจแต่เพียงผู้เดียว และกระทำการทุกอย่างโดยลำพัง กษัตริย์จะต้องกระทำการโดยคำแนะนำของสภาที่ปรึกษา

ในส่วนของการปฏิบัติงาน และการบริหารนั้น เป็นหน้าที่ของข้าราชการ ส่วนการออกกฎหมาย ซึ่งความจริงมีอยู่แล้วแต่เพิ่มเติมตัดออกเป็นหน้าที่ของฝ่ายตุลาการ ทั้งนี้ ปัจเจกชนทั่วไปน่าจะมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งบุคคลเหล่านั้นเข้ามาเป็นตัวแทนของตน อย่างไรก็ดี ประชาธิปไตยในความคิดของเฮเกล ไม่ใช่เสียงของคนส่วนใหญ่ที่จะทำให้คนต้องเคารพเชื่อฟังกฎหมาย เฮเกลเห็นว่า ตัวแทนของประชาชนน่าจะมาจากคนประเภทต่างๆ หรือชนชั้นต่างๆมากกว่าที่จะมาจากที่ไหนก็ได้ เพราะผู้คนที่เลือกเข้ามา

ลักษณะของรัฐสมัยใหม่ตามความคิดของเฮเกล

  1. มนุษย์ในรัฐต้องได้รับการปฏิบัติในฐานะของชีวิตแห่งเหตุผล (rational subject) กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ในการตัดสินใจอย่างอิสระ ทุกคนมีฐานะเป็นเป้าหมาย มีการเคารพในกรรมสิทธิ์ มโนธรรม เสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการนับถือศาสนา และการมีทาสเป็นสิ่งที่รับไม่ได้
  2. รัฐต้องใช้การปกครองด้วยกฎหมาย ต้องไม่ใช้อำนาจตามใจชอบ และต้องปฏิบัติต่อทุกคนเหมือนกัน
  3. รัฐทำให้ทุกคนบรรลุเป้าหมายของ “ชีวิตทางจริยธรรม” ซึ่งทำให้จริยศาสตร์มีเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมจากการเมือง และทุกคนมีหน้าที่ต้องพัฒนาและรักษารัฐไว้

เฮเกลแตกต่างจากนักทฤษฎีสังคมศาสตร์สมัยใหม่ทั้งหมด ตรงที่เขามองว่า โดยพื้นฐานแล้วรัฐเป็นสถาบันทางจริยธรรม ดังนั้นจึงมิได้วางอยู่บนการใช้กำลัง ทว่าวางอยู่บนเสรีภาพ ความเข้มแข็งของรัฐมิได้อยู่ที่การใช้กำลัง แต่เป็นแนวทางที่โครงสร้างทางสังคมจัดการเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพ สวัสดิภาพ และสวัสดิการของปัจเจกให้กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

รัฐจึงมิใช่กลไกในการรักษาสันติภาพ องค์กรรับรองสิทธิ หรือองค์กรที่ส่งเสริมการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัว แต่รัฐ คือจุดสุดยอดของเป้าหมายเพื่อส่วนรวม รัฐประสานสิทธิและความผาสุกของปัจเจกให้กลมกลืนอย่างมีเหตุผล รัฐจึงปลดปล่อยให้ชีวิตปัจเจกมีความหมายและมีเสรีภาพอย่างแท้จริง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย