ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม  >>

หนังตะลุง

ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง

โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง

นายหนังทั้งในอดีตและปัจจุบันโดยทั่วๆ ไป เป็นบุคคลที่ค่อนข้างจะมีการศึกษาดีและคุ้นเคยกับวรรณกรรมไทย วรรณกรรมหนังตะลุงที่แสดงในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีเค้าเรื่องจากนิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมราชสำนัก วรรณกรรมคลาสสิก และเค้าเรื่องจากแหล่งอื่นที่นายหนังสามารถเข้าถึงได้ เช่น นวนิยาย ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หนังสือการ์ตูน รวมถึงเรื่องที่ได้จากหนังสือพิมพ์และเรื่องที่นายหนังประจักษ์ในหมู่บ้านหรือชุมชนที่ไปแสดง แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องที่นายหนังแต่งขึ้นเองซึ่งอาจจะได้แรงบันดาลใจมาจากภาพยนตร์อินเดีย ภาพยนตร์สมัยใหม่ วีดีโอเพลงยอดนิยม เป็นต้น หนังที่แสดงโดยนายหนังปัจจุบันจึงค่อนข้างหลากหลาย โดยนายหนังจะรักษาเค้าเรื่องในประวัติศาสตร์ไว้ แต่บางคนอาจจะใช้เค้าเรื่องแนวสัจจะนิยม เรื่องที่มุ่งวิพากษ์วิจารณ์สังคมสมัยใหม่หรือบางคนจะแสดงหนังที่มีเค้าเรื่องผสมผสาน

 

เรื่องหนังตะลุงปกติจะเริ่มจากปัญหาวิกฤติหรือการผจญภัยของตัวเอก แต่การผจญภัยหรือปัญหาดังกล่าว มักจะเป็นการผจญภัยที่ไม่สิ้นสุดและปัญหาวิกฤตที่ยังไม่ได้รับการเยียวยาโดยสมบูรณ์ วิกฤติของตัวเอกเกิดได้หลายกรณี อาทิการเผชิญหน้ากับตัวร้าย การเผชิญหน้ากับข้าราชการ การต่อสู้ การถูกล่อลวง การถูกกดขี่ และการพลัดพรากของครอบครัวหรือคนรักวิกฤติของตัวเอกมักได้รับความช่วยเหลือจากเพื่อนหรือสิ่งเหนือธรรมชาติ และโดยทั่วไปหนังตะลุงมักจบลงตรงจุดวิกฤติ ที่เปิดโอกาสให้มีการแตกเรื่องใหม่ได้หลากหลาย แต่เรื่องจะยุติลงเวลาไหนขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของนายหนัง หลังการประเมินผลการแสดงหรือการประเมินผู้ชมหนังที่แสดงจบโดยสมบูรณ์มีน้อยทั้งนี้เพราะนายหนังปรารถนาให้ผู้ชมเกิดความอยากและต้องการติดตามเรื่อง หรือไม่ก็จินตนาการความเป็นไปของเรื่องด้วยตัวเอง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย