ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
นายหนังดังร่วมสมัยจำนวนมากนิยมใช้รูปหนังที่แต่งชุดดั้งเดิมเป็นตัวเอก
เพราะเชื่อว่าเป็นที่นิยมของผู้ชมมากกว่าตัวหนังที่สวมเสื้อผ้าสมัยใหม่
การแสดงหนังหลายเรื่อง
นายหนังสมัยใหม่นิยมแหวกชนบทการแสดงหนังตะลุงโดยการใช้รูปหนังมนุษย์เป็นตัวร้ายของเรื่องแทนยักษ์
แต่การตัดสินใจดังกล่าวค่อนข้างจะเป็นไปโดยพละการ
และยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงไม่จบ อย่างไรก็ดี การตัดสินใจเลือกใช้รูปหนังใด
ปริมาณเท่าไหร่
ขึ้นอยู่กับปริมาณและความหลากหลายของรูปหนังในแผงเก็บหนังของนายหนังโดยปกติแล้วนายหนังที่มีชื่อมักมีทุนสร้างรูปหนังใหม่หรือรวบรวมปริมาณรูปหนังได้ตามต้องการ
การเลือกใช้รูปหนัง
นายหนังสมัยโบราณนิยมแยกฉากที่ประกอบด้วยตัวตลกออกจากฉากที่เป็นแกนของเรื่อง
และโดยทั่วไปจะไม่ปล่อยให้ตัวตลกสนทนาเรื่องลามกหรือร้องเพลงต่อหน้าตัวละครชั้นสูงนายหนังโบราณ
นายหนังร่วมสมัยมักผนวกตัวละครจากหลายชนชั้นไว้ในฉากเดียวกัน
คล้ายกับจะพยายามสะท้อนภาพความเป็นจริงของการพบปะของผู้คนจากหลายชนชั้นในชีวิตประจำวันของคนเมือง
และในหลายกรณีนายหนังจะให้ตัวละครจากทุกชนชั้นมีโอกาสสนทนาอย่างเท่าเทียม
แม้หนังที่แสดงจะประกอบด้วยตัวละครสมัยใหม่และเรื่องราวที่สนทนาถกเถียงจะเป็นประเด็นปัญหาร่วมสมัย
แต่โครงสร้างทางสังคมแบบดั้งเดิม ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น ที่ประกอบด้วย
นายและบ่าว ยังคงปรากฏชัดในหนังตะลุง นายหนังร่วมสมัยหลายคนนิยมใช้เจ้าชาย เจ้าหญิง
เจ้าเมืองและนายเมืองเป็นตัวละครหลักของเรื่อง และมักให้ตัวละครชนชั้นบ่าว (ตัวตลก)
และนายประกอบเป็นตัวแสดงในฉากเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม การแยกและรวมกลุ่มรูปหนังในลักษณะที่ค่อนข้างจะขัดแย้งกันนี้
มิใช่เจตนาของนายหนังที่จะรักษาความแตกต่างทางชนชั้นให้คงอยู่และมิได้มุ่งเสนอแนวคิดประชาธิปไตยที่ปัจเจกชนมีความเท่าเทียมกันโดยสมบูรณ์
แต่เป็นการพยายามสะท้อนให้เห็นถึงการคงอยู่ของความสัมพันธ์แบบดั้งเดิม
และลักษณะของสังคมช่วงเปลี่ยนผ่านนอกจอที่พบทั้งองค์ประกอบสังคมดั้งเดิมและสังคมสมัยใหม่ตัวตลกของเรื่องค่อนข้างสะท้อนกรณีดังกล่าวอย่างชัดเจน
กล่าวคือ ตัวตลกซึ่งเป็นตัวแทนบุคลิกของคนชนบท แต่นายหนังร่วมสมัย
จะให้ตัวตลกสวมบทบาทดารายอดนิยมของท้องถิ่นผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมบันเทิงยุคโลกาภิวัฒน์สู่ชนบท