ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม  >>

หนังตะลุง

ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง

การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ

 

นายหนังสมัยใหม่ยังใช้เทคนิคการเชิดรูปที่เคลื่อนไหวเร็ว เพื่อให้เข้ากับเทคนิคการขับบท การพูดและการสนทนาของตัวละคร ที่มีการเพิ่มสีสันด้วยเสียงประกอบและทำนองดนตรีสมัยใหม่ การนำเสนอโดยรวมของนายหนังจึงคล้ายกับเทคนิคการนำเสนอของภาพยนตร์หรือละครทีวี

โดยปกติเมื่อตัวหนังถูกเสียบบนต้นกล้วยหรือหยวกกล้วยที่ใช้เป็นแท่นปัก ตัวละครที่จัดอยู่ในประเภทตัวละครชั้นสูง เช่น เจ้าเมือง นางเมือง พระโอรส พระธิดา จะแสดงการเจรจาด้วยการขยับปากและแขน ส่วนตัวตลกจะแสดงการพูดด้วยการขยับปากและแขน แต่เมื่อรูปหนังถูกเชิดและชูขึ้นโดยนายหนังแสดงว่ารูปหนังตัวนั้นกำลังแสดงบทผู้กระทำหรือเจรจา หากรูปหนังกำลังแสดงบทคนตายหรือไร้สำนึก รูปหนังจะถูกปักหันหลังให้กับจอและแขนจะห้อยไขว้ลำตัว โดยทั่วไปตัวละคนชั้นสูงหรือนายจะเคลื่อนไหวน้อย ยกเว้นการเคลื่อนของแขนอย่างนวยนาดขณะเจรจาส่วนตัวตลกจะแสดงพฤติกรรมกระปรี้กระเปร่า ขยับแขนและขากรรไกรขณะพูด

 

ปกติ ตัวละครจะอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของจอ ตัวละครหลักของฉากจะอยู่บริเวณกึ่งกลางของจอมากที่สุด แต่ถ้าฉากนั้นมีตัวละครน้อยตัวละครจะหันหน้าเข้าหากัน หากตัวละครแบ่งเป็นสองพวก ตัวละครทั้งสองพวกจะหันหน้าเผชิญกัน โดยมีตัวละครที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นคนสนทนาหลักของแต่ละกลุ่มยืนอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางจอ ตัวละครที่ขึ้นอยู่ด้านหลังจะแสดงการสนทนาด้วยการขยับแขนหรือขยับปาก แต่ถ้าเป็นการสนทนาค่อนช้างยาวตัวละครที่อยู่หลังจะถูกเชิดขึ้น อย่างไรก็ดี ในการแสดงของนายหนังประเภทโบราณ ตัวละครในบทเจรจาหนึ่งจะมีได้ไม่เกิน 3 – 4 ตัว แต่นายหนังสมัยใหม่จะใช้ตัวละครประมาณ 8 ตัวหรือมากกว่าในบางฉาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตัวตลก การมีตัวละครมากและการเคลื่อนไหวไปมา ทำให้ฉากการแสดงของนายหนังสมัยใหม่ค่อนข้างสูงกว่าฉากการแสดงของหนังโบราณ

นายหนังโบราณมักนำรูปหนังไปปักกลางจอและบางครั้งก็ทำก่อนการพูดหรือเจรจาใดๆ แต่นายหนังสมัยใหม่นิยมที่จะเชิดหรือเคลื่อนรูปหนังคู่ไปกับการบรรเลงดนตรี เช่น การย้ำกลองในวินาทีแรกที่ตัวละครเจรจาหรือขับบทคำแรก การต่อสู้และการสมสู่ของตัวละครส่วนใหญ่จะมีเสียงประกอบพร้อมการเคลื่อนของรูปหนังออกนอกจอทางด้านล่างการต่อสู้ของตัวละครมักมีดนตรีบรรเลงประกอบเบาๆ แต่การขับเคี่ยวและไล่ล่า มักดำเนินโดยการเคลื่อนไหววุ่นวายของตัวละครพร้อมกับการบรรเลงดนตรีอย่างเร่งร้อน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของเทคนิคการนำเสนอแสงและภาพของหนังตะลุงปัจจุบัน ที่มีลักษณะสัจจะนิยมมากขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย