ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคเสียงและภาษาพูด
เป็นการแสดงที่อาศัยภาษาร้อยกรองเป็นส่วนใหญ่
จากการที่ผู้เขียนฟังเทปบันทึกเสียงการแสดงหนังตะลุงนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960
เป็นต้นมา พบว่าลักษณะเด่นของการแสดงหนังในอดีตคือ การขับบทกลอน
ผสมผสานกับการสนทนาของตัวตลก การสื่อสารระหว่างตัวละครส่วนใหญ่สื่อด้วยภาษาร้อยกรอง
และน้อยนักที่จะพบการสนทนาด้วยภาษาพูด แล้ถ้ามีก็อาจจะเพียง 2 3 นาที
แทรกอยู่ระหว่างการขับบท
การขับบทอาศัยจังหวะที่เรียบง่ายของโหม่งและฉิ่งนายหนังร่วมสมัย
ที่จำแนกโดยผู้ชมในท้องถิ่นว่าเป็น " นายหนังโบราณ " เช่น หนังฉิ้น ธรรมโฆษ
จังหวัดสงขลา จะกำหนดสัดส่วนค่อนข้างแน่นอนระหว่างการขับบทกับการสนทนา
ฉากที่แสดงอาจจะเริ่มต้นด้วยการขับบทของตัวเอกราว 2 - 3 นาที
ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเป็นการอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดก่อนหน้า
และการกระทำของตัวละครปัจจุบัน จากนั้นนายหนังก็ออกตัวละครอื่นและเริ่มสนทนา
การสนทนาอาจจะกินเวลาประมาณ 20 นาที
หรือมากกว่าการสนทนาของตัวละครหลักบ่อยครั้งจะค่อนข้างยืดยาวคล้ายกับการกล่าวสุนทรพจน์ที่เรียบง่าย
และนุ่มนวลส่วนการสนทนาของตัวตลกจะกระชับและรวดเร็วหลังการสนทนาก็กลับเข้าสู่การขับบทเพื่อสรุปเรื่องราวอีกครั้งก่อนที่จะเริ่มฉากใหม่
ระหว่างการขับบทเพื่อปิดฉากก่อนที่จะเริ่มฉากใหม่
บางครั้งจะถูกแทรกด้วยการบรรเลงดนตรี เพื่อให้นายหนังดื่มน้ำหรือมีเวลาพักชั่วคราว
ในอดีตดนตรีจะบรรเลงตามท่วงทำนองดั้งเดิม ที่นิยมใช้ในกา
แสดงหนังใหญ่ของราชสำนักการแสดงของหนังฉิ้นแต่ละฉากจะมีวัฎจักรคล้ายกันคือ
เริ่มด้วยการบรรเลงดนตรี การขับบทการสนทนา
และการขับบทสรุปฉากที่แสดงผ่านมาในระหว่างฉากที่แสดงนั้น
หลังการขับบทแรกสิ้นสุดลงบ่อยครั้งนายหนังจะปล่อยให้ฉากเงียบไป
แต่บางครั้งก็บรรเลงดนตรี 2 - 3 นาที
ก่อนที่ขับบทถัดไปดังนั้นการแสดงจึงดำเนินไปเรียบๆ
วนวัฎจักรเดิมและบ่อยครั้งทำให้ผู้ชมง่วงและหลับ
การแสดงของหนังฉิ้นแต่ละฉากจะมีวัฎจักรคล้ายกันคือ เริ่มด้วยการบรรเลงดนตรี
การขับบทการสนทนา และการขับบทสรุปฉากที่แสดงผ่านมาในระหว่างฉากที่แสดงนั้น
หลังการขับบทแรกสิ้นสุดลงบ่อยครั้งนายหนังจะปล่อยให้ฉากเงียบไป
แต่บางครั้งก็บรรเลงดนตรี 2 - 3 นาที
ก่อนที่ขับบทถัดไปดังนั้นการแสดงจึงดำเนินไปเรียบๆ
วนวัฎจักรเดิมและบ่อยครั้งทำให้ผู้ชมง่วงและหลับ
นายหนังร่วมสมัยที่มีชื่อและได้รับการจำแนกจากผู้ชมในท้องถิ่นว่าเป็นนายหนังสมัย
คณะหนังยอดนิยมจำนวนมากใช้ดนตรีสมัยใหม่ประเภทต่างๆ ประกอบการแสดง อาทิ
การใช้คีย์บอร์ด และแซกโซโฟนแทนปี่
และผู้เขียนเคยได้ยินการใช้ออร์แกนไฟฟ้าแทนเสียงผีในฉากโนราลงครู
และการใช้เสียงประกอบดังกล่าวพบในหนังตะลุงเช่นกัน
บทสนทนาของนายหนังสมัยใหม่ต่างจากนายหนังรุ่นเก่า
นายหนังรุ่นเก่าจะปล่อยให้ตัวละครพูดค่อนข้างยืดยาวทีละคน
แต่ตัวละครของนายหนังรุ่นใหม่ดูคล้ายจะพูดพร้อมกันและพูดเร็วคล้ายบทพูดในภาพยนตร์
และการสนทนาของคนจริงๆ
ทั้งนายหนังรุ่นเก่าและสมัยใหม่ต่างเดินทางไปแสดงตามจังหวัดต่างๆ ของภาคใต้
แต่นายหนังรุ่นใหม่มิได้ใช้ความแตกต่างของสำเนียงภาษาแต่ละจังหวัดมุขหลักของความขบขันอย่างที่หนังดั้งเดิมนิยม
อาทิ หนังรุ่นเก่าจะให้ตัวตลกพูดสำเนียงและศัพท์นครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นสิ่งที่คนสงขลาไม่คุ้นเคยและไม่เข้าใจ
นายหนังสมัยนิยมผนวกศัพท์แสงยุคไฮเทคเข้าเป็นภาษาหนังตะลุง เช่น
การล้อเลียนสำนวนภาษาการจราจรและการใช้ภาษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไซค์
เพื่อให้เกิดความหมายใหม่ใน "สายเลือดคู่บัลลังก์"
และมีแนวโน้มที่จะใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ
หรือไม่ก็เล่นเกมความแตกต่างและความเข้าใจผิดทางภาษาของตัวตลกที่พูดภาษาใต้และภาษาอีสาน
อาทิ
ทอง : ถวายบังคมหม่อมแม่สะอาดมณี ด้วยความเคารพอย่างสูงพระเจ้า
พระนางสะอาดมณี : อ้อ หวัดดีนะทอง
ทอง : พระเจ้าค่ะ
นี่หมายความหม่อมแม่จะจากพวกเกล้ากระหม่อมไปอยู่ป่าอยู่ดงสองเดือน
พระนางสะอาดมณี : ใช่แล้วหละ
ทอง : เออะ หม่อมแม่จะไปประทับที่ไหน
ไม่ทราบพระเจ้าค่ะ
พระนางสะอาดมณี : ก็ยังไม่รู้
ทอง : สิไปสองเดือนนี่
พระนางสะอาดมณี :
เป็นความจริงจากคำกราบทูลของโหราศาสตร์
ทอง : ท่านโหราศาสตร์น่าหม่อมแม่นะ
เดี๊ยก : โอยบักทองเอ้ย
ถ้าพูดถึงลูกลางสาด
กันหละโว้ย จำปาดะกะโลละยี่สิบแล้ว ลูกลางสาดอย่างน้อยกะโลหกสิบ
นายหนังรุ่นใหม่ค่อนข้างจะใช้เสียงและออกเสียงภาษากลาง
ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้โดยตัวละครชั้นสูงได้อย่างถูกต้องและชัดเจนกว่านายหนังรุ่นเก่า
ทั้งนี้เป็นเพราะนายหนังรุ่นปัจจุบันค่อนข้างจะมีการศึกษาดี
ดังเห็นได้จากการแสดงของหนังณรงค์ซึ่งมีการใช้ทั้งราชาศัพท์และภาษาบาลี
หนังนครินทร์ ชาทอง จากหาดใหญ่ก็เช่นกัน คือ
มักผนวกภาษาต่างประเทศเข้าเป็นภาษาหนังตะลุง
การขยายเวลาของบทสนทนาเป็นลักษณะเด่นของหนังปัจจุบัน
ซึ่งเป็นการเจริญรอยตามละครแนวสัจจะนิยมในโทรทัศน์ วิทยุ และภาพยนตร์สมัยใหม่
ความเปลี่ยนแปลงเทคนิคภาษาพูดที่ชัดเจนก็คือการผนวกเพลงลูกทุ่งหรือเพลงประเภทอื่นเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงหนังตะลุง
เนื้อเพลงที่ผนวกเข้ามานั้น อาจจะเป็นบางท่อนหรือเนื้อทั้งหมดของเพลง
นายหนังที่มีความเชี่ยวชาญบางคนจะให้ตัวตลกหลายคนร้องเพลงสลับกัน
โดยแต่ละคนยังรักษาเอกลักษณ์เสียงของตน อาทิ ในการแสดงเรื่อง "ต่างรสนิยม" เมื่อปี
2536 นั้น หนังนครินทร์ให้ตัวตลก 4 คน ร้องเพลง 5 คน
เพลงด้วยทำนองดนตรีที่ต่างกันโดยที่ตัวตลกยังคงรักษาเอกลักษณ์เสียงของตน
ความเชี่ยวชาญดังกล่าวเพิ่มความประทับใจให้กับผู้ชมอย่างยิ่งยวด
เพราะเพลงดังกล่าวไม่เพียงแต่ร้องได้ดี และตลกขบขัน
หากแต่ยังเป็นเพลงร้องด้วยภาษาและสำเนียงท้องถิ่น
ความซับซ้อนของเทคนิคด้านเสียงและภาษาพูดของนายหนังสมัยใหม่
ไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของไวยากรณ์สื่ออิเลคทรอนิค
หากแต่รวมถึงการสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของปัจจัยต่างๆ
ที่กระทบต่อชีวิตประจำวันของประชาชนภาคใต้ปัจจุบัน