ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องหนังที่มีเอกลักษณ์พิเศษของคนไทย
สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้ในศิลปการแสดงหนังตะลุงในภาคใต้
ที่อาศัยรูปเงาในการสื่อสารสร้างสาระและความบันเทิงให้คนดูที่อยู่หน้าจอได้รับความรู้และความเพลิดเพลินตลอดคืน
วัสดุที่ทำมาใช้ทำรูปส่วนมากคือหนังวัว
ปัจจุบันรูปหนังตะลุงเหล่านี้มิเพียงแต่ใช้ในการแสดงอย่างเดียว
แต่ยังกลายเป็นของที่ระลึกยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมาเยือนจังหวัดนครศรีธรรมราช
รูปหนังตะลุงแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
- รูปก่อนเรื่อง เป็นรูปเหมือนจริง คือรูปฤาษี รูปพระอิศวรทรงโค รูปปรายหน้าบท (รูปมนุษย์ผู้ชายแทนตัวนายหนัง) และรูปบอกเรื่องซึ่งจะเป็นตัวตลกตัวใดตัวหนึ่ง
- รูปมนุษย์ (รูปนุด) เป็นรูปพระ รูปนาง รูปเจ้าเมือง รูปมเหสี พระโอรส ธิดานิยมแกะให้เหมือนตัวจริงที่สุด แล้วลงสีสันอย่างสวยงาม เพื่อดึงดูดใจผู้ชมหน้าจอ
- รูปยักษ์เป็นตัวแทนฝ่ายอธรรม การแต่งกายของยักษ์มักเหมือนกันทุกคณะ คือ มีอาวุธ หรือ กระบองประจำตัว รูปเหล่านี้มีอยู่ทุกแผง
- รูปกาก เป็นรูปตัวตลก รูปทาสาและทาสีซึ่งไม่มียศศักดิ์สำคัญ แต่รูปกาบางตัวถือว่าเป็นตัวสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้หนังตะลุง บางครั้งจัดให้เป็นรูปสีดำ หรือสีดั้งเดิมของหนังที่นำมาแกะสลัก และไม่ค่อยมีลวดลาย
- รูปเบ็ดเตล็ด ได้แก่ รูปผี รูปต้นไม้ ภูเขา ยานพาหนะ เป็นต้น บางคณะอาจจะพลิกแพลงออกไปตามสมัยนิยมได้ เช่น รูปรถถัง รูปเครื่องบิน เป็นต้น
รูปหนังตะลุงส่วนใหญ่แกะตายตัว อวัยวะต่างๆ เคลื่อนไหวไม่ได้ ยกเว้นมือด้านหน้ายกเว้นตัวตลก กล่าวคือ รูปตัวตลกเคลื่อนไหวได้ทั้งสองมือ และเท้าอาจเคลื่อนไหวด้วยก็ได้