ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ความเป็นมา
องค์ประกอบในการแสดง
โรงและอุปกรณ์ประกอบโรง
รูปหนัง
ขนบนิยมในการเล่น
ครอบมือหนังตะลุง
กลอนและลีลากลอน
ความเชื่อเกี่ยวกับหนังตะลุง
รูปหนังตะลุง
การแกะหนังตะลุง
เครื่องมือการแกะหนัง
นายหนัง
ตัวตลกหนังตะลุง
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอ
การเปลี่ยนแปลงเทคนิคการนำเสนอภาพ
การคงอยู่เคียงคู่ของรูปหนังโบราณและรูปหนังสมัยใหม่
โครงเรื่องและแกนเรื่องของหนังตะลุง
รูปหนัง
หนังตะลุงคณะหนึ่งๆ มีรูปหนังประมาณ 150 - 200 ตัว รูปหนังตะลุงที่ทุกคณะจะต้องมีได้แก่ ฤาษี พระอิศวร ปรายหน้าบท เจ้าเมือง พระ นาง ตัวตลก เทวดา รูปเหล่านี้จะมีหน้าตาทำนองเดียวกันทุกคณะ โดยเฉพาะตัวตลกแทบไม่มีอะไรผิดเพี้ยนกันเลย นอกจากรูปดังกล่าวแล้ว แต่ละคณะจะตัดรูปเบ็ดเตล็ดส่วนหนึ่ง เช่น สัตว์ต่างๆ ต้นไม้ ภูเขา ภูตผี ยานพาหนะ อาวุธ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนิยายที่ใช้แสดงรูปหนังจะจัดเก็บไว้ใน แผงหนัง โดยวางเรียงอย่างเป็นระเบียบและตามศักดิ์ของรูป นั่นคือ เอารูปเบ็ดเตล็ดและรูปตลกที่ไม่สำคัญซึ่งเรียกรวมกันว่า รูปกาก ไว้ล่าง ถัดขึ้นมาเป็นรูปยักษ์ พระ นาง เจ้าเมือง ตัวตลกสำคัญ รูปปรายหน้าบท พระอิศวร และฤาษี ตามลำดับ ถ้ามีรูปศักดิ์สิทธิ์สำหรับไว้บูชา ไม่ใช่ใช้เล่นด้วย รูปนี้จะเก็บแยกต่างหาก เช่น ใส่ในถุงผ้าซึ่งตัดเย็บขึ้นเฉพาะ เมื่อไปเล่นที่ไหนก็แขวนรูปไว้บนหัวเสาโรง
โอกาสที่เล่นหรือแสดงหนังตะลุง
สมัยก่อนหนังตะลุงไม่นิยมเล่นในงานมงคล
ส่วนใหญ่จะเล่นในงานนักขัตฤกษ์และงานสนุกทั่วไปหรือเล่นเพื่อประกอบพิธีกรรมสำหรับแก้บน
แต่ปัจจุบันเล่นได้ทุกงาน เวลาที่เล่นเริ่มตั้งแต่ประมาณ 21.00 นาฬิกา พักเที่ยงคืน
1 ชั่วโมง แล้วเล่นต่อไปจนรุ่งสาง แต่ถ้าในงานนั้นมีการละเล่นหลายอย่าง
หนังตะลุงมักจะเล่นตอนมหรสพอื่นเลิกแล้ว นั่นคือเล่นตั้งแต่เที่ยงคืนไปจนสว่าง
โอกาสและกำหนดเวลาในการแสดง
โอกาสที่จะแสดงหนังตะลุง คือ งานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลอง
ส่วนงานมงคลนั้นจะไม่นิยม แต่เดี๋ยวนี้คลายความเคร่งครัดลง สำหรับงานศพสดจะไม่นิยม
เพราะ เจ้าของงานอยู่ในอารมณ์เศร้า แต่ถ้าเป็นงานศพกระดูก มีบางท้องถิ่นที่นิยมกัน
ในปัจจุบันนี้การแสดงหนังตะลุงมักอยู่ในรูปการจัดหารายได้เป็นส่วนใหญ่
อาจจะหารายได้บำรุงวัด หรือ ไม่ก็เป็นธุรกิจการค้า
การแสดงหนังตะลุงจะแสดงเพียงครึ่งคืน หรือตลอดคืน มักเริ่มแสดงในเวลาประมาณ
20.30 21.30 น. ถ้าแสดงตลอดคืนจะมีการพักตอนเที่ยงคืน ไม่เกิน 1 ชั่วโมง
การคิดค่าจ้างขึ้นอยู่กับหนังว่ามีชื่อเสียงหรือไม่
ถ้าเป็นคณะที่มีชื่อเสียงราคาค่าจ้างอาจจะถึง 2,000 บาทต่อคืนก็ได้
ก่อนลงมือแสดงจะมีการโหมโรงก่อน หรือ ลงโรง หรือ ตีเครื่อง
เพื่อเริ่มเรียกคนดูแล้วเอารูปปักหน้าจอ อาจจะเป็นรูปปราสาท
ก่อนออกรูปหนังนายหนังจะไหว้ครูสวดมนต์คาถาคุ้มครองป้องกันตัว
เสร็จแล้วเอารูปปราสาทออกเอารูปฤาษี ออกเชิด ตั้งนโม สวดบทสัคเค ชุมนุมเทวดา
ต่อจากนี้ก็ออกรูปลิงดำลิงขาวให้มารบกัน
มาระยะหลังมักไม่ค่อยมีการออกรูปลิงดำลิงขาว แต่จะออกรูปฤาษีมาเป็นรูปแรกเลย
ฤาษีจะออกมาห้ามปราบสั่งสอน ต่อไปจะออกรูปพระอิศวร หรือรูปโค
หลังจากนั้นก็ออกรูปหน้าบท ออกมาขับบทไหว้ครูอาจารย์ บิดามารดา ผู้ที่เคารพนับถือ
ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายให้มาคุ้มครองป้องกัน
ต่อจากนั้นก็ออกรูปตัวตลกมาบอกเรื่องที่จะแสดงในคืนนั้น แล้วก็เริ่มแสดงเรื่อง
โดยออกรูปเจ้าเมือง นางเมือง
เรื่องที่แสดงถ้าเป็นในสมัยก่อนมักแสดงเรื่องรามเกียรติ์ แต่ในปัจจุบันนี้
เนื้อเรื่องมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับนิยายสมัยที่มีครบทุกรส