วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

สุภาษิตล้านนา

การให้ความหมายทางสังคมต่อความเป็นเพศ

อุษณีย์ เทพมณี

ความเป็นเพศที่สังคมมีให้มนุษย์
คาดหวังให้ผู้ชายเป็นผู้นำที่ดีของครอบครัว
คาดหวังให้ผู้ชายมีความขยันหมั่นเพียร
คาดหวังให้ผู้ชายมีความรู้ความสามารถ
คาดหวังให้ผู้หญิงมีความประพฤติดี ซื่อสัตย์
คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นภรรยาที่ดี
คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นมารดาที่ดี

คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นมารดาที่ดี

บทบาทของแม่เป็นบทบาทที่ยิ่งใหญ่ของเพศหญิง ที่ถูกทั้งธรรมชาติและสังคมเป็นผู้กำหนดให้ เนื่องจากเพศหญิงมีความอ่อนโยน มีความละเอียดอ่อนกว่าเพศชายสามารถให้ความอบอุ่นและความเข้าใจได้ดีกว่าเพศชาย สังคมเห็นว่าแม่ที่ดีจะต้องเห็นแก่ความสุขของลูกมากกว่าความสุขของตนแม่คือผู้ที่เสียสละมากที่สุด เป็นผู้อบรมสั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี ประพฤติและปฏิบัติตนอยู่ในความดีเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุข

แม่ที่ดีที่สังคมคาดหวังต้องยอมรับหน้าที่อันแสนหนักหน่วงในการเป็นแม่ และสามารถทำหน้าที่แม่ได้ตลอดไป ถือเป็นความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติตั้งแต่ลูกยังอยู่ในครรภ์ไปจนถึงวันที่ลูกมีครอบครัวเป็นของตนเอง และแม่ที่ดีจะต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีของลูกด้วย

ตัวอย่างสุภาษิตที่เป็นผลจากความคาดหวังนี้ คือ

  • จะมีผัวอย่ากลัวมีท้อง
    -การมีสามีก็ต้องเตรียมตัวยอมรับในการที่จะเป็นแม่ที่ดีของลูก

  • มีผัว มีลูกเหมือนเชือกผูกมัดแข้งมัดขา
    -การเป็นผู้หญิงต้องมีบทบาททั้งเป็นภรรยาและเป็นแม่ ซึ่งสองบทบาทนี้มีหน้าที่หนักไม่แพ้กัน มีแล้วก็เหมือนมีเชือกผูกติดขา

  • มีผัว มีลูกมีโซ่ผูกพันชั่วชีวิต
    -การเป็นผู้หญิงต้องมีบทบาททั้งเป็นภรรยาและเป็นแม่ ซึ่งสองบทบาทนี้มีหน้าที่หนักไม่แพ้กัน มีแล้วก็เหมือนมีโซ่ผูกพันไปชั่วชีวิต

 

การให้ความหมายทางสังคมต่อความเป็นเพศจากสุภาษิตล้านนาที่สอนเฉพาะชายและหญิงจำนวน 20 บท พบว่าสังคมมีความเชื่อเรื่องความเป็นเพศหญิง เพศชายและมีการมอบบทบาทหน้าที่ให้ทั้งสองเพศตามข้อเท็จจริงทางสรีระ การที่สังคมมีความเชื่อเช่นนี้

ทำให้เกิดการเข้าสู่กระบวนการขัดเกลาทางสังคมและวัฒนธรรม กล่าวคือ สังคมจะมีการคาดหวังและเป็นผู้บอกว่าเพศไหนควรปฏิบัติตัวอย่างไร คิดอย่างไร ซึ่งจากการศึกษาในครั้งนี้เราก็พบความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเพศชายและเพศหญิงดังนี้ คือ

1 . คาดหวังให้ผู้ชายมีความเป็นผู้นำ
2 . คาดหวังให้ผู้ชายมีความขยัน หมั่นเพียร
3 . คาดหวังให้ผู้ชายมีความรู้ความสามารถ
4 . คาดหวังให้ผู้หญิงประพฤติตัวดี ซื่อสัตย์
5 . คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นภรรยาที่ดี
6 . คาดหวังให้ผู้หญิงเป็นมารดาที่ดี

ความคาดหวังทั้ง 6 ประการที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้เป็นความคาดหวังที่สามารถนำไปสู่การกำหนดกฏเกณฑ์หรือคำสอนต่างๆต่อคนในเพศนั้นๆ โดยใช้เวลาเป็นตัวหล่อหลอม ซึมซับเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นตัวตนของคนในสังคม

อ้างอิง

  • ยุทธ เดชคำรณ .2531. ภาษิตล้านนา . เชียงใหม่ : วัดบุพพาราม .
  • สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .2539 . กำบ่าเก่าเล่าไว้ . เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง .
  • สิทธ์ บุตรอินทร์ .2523 . โลกทัศน์ชาวไทยล้านนา . กรุงเทพฯ : มิตรนราการพิมพ์ .
  • สมร เจนจิจะ . 2526 . วิเคราะห์ลานนาภาษิต วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ( ประสานมิตร ) .
  • คณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ . 2543 .
  • แนวคิดพื้นฐานทาง สังคมและวัฒนธรรม . เชียงใหม่ : ธาราทองการพิมพ์ .
  • นิตยา ภักดีบัณฑิต . 2532 . ปริญญานิพนธ์ผญาภาษิต : การศึกษาเชิงวิเคราะห์ . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม .
  • พงษ์สวัสดิ์สวัสดิพงษ์ . 2529 . จิตวิทยาสังคม . กรุงเทพฯ : คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยามหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ .
  • อุดมรุ่งเรืองศรี . 2527 . โวหารลานนา . มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่ .
  • วันวิสาห์ โกมลกระหนก . 2539 . ความเชื่อที่มีต่อบทบาททางสังคมของหญิงชายในชนบทภาคเหนือ .วิทยานิพนธ์ เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ : เชียงใหม่ .
  • บรรพต วีระสัย . 2517 . สังคมวิทยา มานุษยวิทยา . มหาวิทยาลัยรามคำแหง : กรุงเทพ ฯ .
  • สงวน โชติสุขรัตน์ . 2519 . ตำราพิธีส่งขึดและอุบาทว์ . เชียงใหม่ : ประเทืองวิทยา .
  • สนิท สมัครการ . 2521 . สังคมวัฒนธรรมของภาคเหนือประเทศไทย .กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ กรุงเทพ ฯ .

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย