ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
ฌอง ปอล ซาร์ตร์ (Jean-Paul Sartre, 21 มิถุนายน พ.ศ. 2448 กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส - 15 เมษายน พ.ศ. 2523 ที่กรุงปารีส) เป็นนักเขียนนวนิยาย บทละคร
นักปรัชญา
และผู้มีบทบาทสำคัญในแนวคิดทฤษฎีที่ว่าทุกคนนั้นอิสระและรับผิดชอบในการกระทำของตน
(Existentialism) เป็นนักปรัชญาผู้ประกาศเสรีภาพของมนุษย์ในแง่ปัจเจกชน
ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)
แต่ไม่ยอมรับรางวัลดังกล่าว
ฌอง ปอล ซาร์ตร์เข้ารับการศึกษาที่ École Normale Supérieure ระหว่างปี
1924 1929 เมื่อเรียนจบ ก็ได้เป็นอาจารย์สาขาปรัชญา ที่ Le Havre เมื่อปี 1931
ซาตร์สูญเสียบิดาตั้งแต่วัยเยาว์ และเติบโตในบ้านของตา ชื่อ คาร์ล ชไวทเซอร์
(ผู้เป็นลุงของอัลเบิร์ต ชไวทเซอร์)
ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนน์
ระหว่างปี 1931 - 45 ซาร์ตร์ได้สอนหนังสือหลายที่ รวมทั้งในอังกฤษ
และสุดท้ายก็กลับมาที่ปารีส มีสองครั้งที่อาชีพของเขาถูกขัดขวาง ครั้งหนึ่ง
เมื่อต้องศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ในกรุงเบอร์ลิน
และครั้งที่สองเมื่อต้องเป็นทหารในสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939
ครั้นปีต่อมาถูกจับเป็นเชลย และอีกปีถัดมาก็ได้รับการปลดปล่อย
ช่วงเวลาที่สอนหนังสือนั้น ซาร์ตร์ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง La Nausee, 1938
เป็นครั้งแรกที่ทำให้เขามีชื่อเสียง นวนิยายเรื่องนี้เขียนในรูปบันทึกประจำวัน
เล่าถึงความรู้สึกชิงชัง เมื่อเผชิญหน้ากับโลกของทางวัตถุ
ไม่เพียงแต่โลกของคนอื่นเท่านั้น แต่ยังเป็นการรับรู้ถึงตัวของเขาด้วย
ซาร์ตร์ได้รับอิทธิพลจากนักปรัชญาเยอรมัน ชื่อเอดมุนด์ ฮุสเซล
และนำมาใช้ด้วยทักษะอันเลิศในผลงานพิมพ์ 3 เล่ม คือ L'Imagination (1936;
จินตนาการ), Esquisse d'une theorie des emotions (1939; ร่างทฤษฎีแห่งอารมณ์) และ
L'Imaginaire : Psychologie pheomenologique de l'imagination (1940;
จิตวิทยาแห่งจินตนาการ) แต่ทว่าใน L'Etre et le neant (1943; ความมีอยู่
และความไม่มีอะไร)ซาร์ตร์กำหนดฐานะของจิตสำนึกมนุษย์ หรือความไม่มีอะไร (neant)
ไว้ตรงข้ามความมีอยู่ หรือความเป็นสิ่งของ (etre)
ซาร์ตร์เริ่มเขียนนวนิยายชุด 4 เล่ม เมื่อปี 1945 ชื่อ Les Chemins de la
liberte อีก 3 เล่ม คือ L'Age de raison (1945; ยุคแห่งเหตุผล), Le Sursis (1945; )
และ La Mort dans l'ame (1949;เหล็กในวิญญาณ) หลังพิมพ์ครั้งที่ 3
ซาร์ตร์ก็เปลี่ยนใจหันกลับไปสู่บทละครอีก
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซาร์ตร์เขียนโจมตีความยะโสของมนุษย์
และเสรีภาพของปัจเจกชน
ซาร์ตร์ได้เปลี่ยนความสดใสไปสู่แนวคิดของความรับผิดชอบของสังคมหลายปีแล้ว
ที่เขาแสดงความใสใจคนรวย และคนที่ไม่มีมรดกทุกชนิด
ขณะเป็นครูเขาปฏิเสธไม่ยอมผูกเน็คไท
ราวกับเขาจะเช็ดชนชั้นทางสังคมให้สลายไปด้วยเน็คไท
และเข้าใกล้พวกคนใช้แรงงานมากขึ้น ในงานเรื่อง L'Existentialism est un humanism
(1946;) ตอนนี้เสรีภาพแสดงนัยของความรับผิดชอบทางสังคม
ในนวนิยายและบทละครเรื่องต่างๆ ของเขา
ซาร์ตร์ได้พยายามแสดงความคิดเห็นในสื่อของเขาระหว่างช่วงสงคราม
และบทละครใหม่ ก็ตามติดมาเรื่อยๆ ได้แก่ Le Mouches (ออกแสดง 1943), Huis- clos
(1944) Les Mains Sales (1948) Le Diable et le bon dieu (1951) และ Les Sequestres
d'Altona (1959)บทละครทั้งหมด จะเน้นที่พฤติกรรมก้าวร้าวดั้งเดิมของมนุษย์ต่อมนุษย์
ซึ่งดูเหมือนมีแต่การมองโลกในแง่ร้าย แต่ตามคำสารภาพของซาตร์เอง
จุดมุ่งหมายนั้นไม่มีเรื่องศีลธรรมของการใช้ทาสเลย
กิจกรรมทางการเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ซาร์ตร์มีความสนใจอย่างกระตือรือร้นต่อชนวนการทางการเมืองในฝรั่งเศส
และโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย ก็ประกาศชัดมากขึ้น เขาเป็นผู้นิยมสภาพโซเวียตอย่างยิ่ง
แม้จะไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ก็ตาม
ในปี 1954 ซาตร์เดินทางไปโซเวียต ประเภทแถบสแกนดิเนเวีย แอฟริกา
สหรัฐอเมริกา และคิวบา เมื่อรัสเซียนำรถถังบุกกรุงบูดาเปส ในปี 1956
ความหวังของซาร์ตร์ที่มีต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ก็พังครืนอย่างน่าเศร้า
เขาเขียนบทความขนาดยาว ใน Les Temps Modernes เรื่อง Le Fantoms de Staline
ซึ่งตำหนิการแทรกแซงของรัสเซีย และการยอมรับพรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศส
ซาร์ตร์ได้ร่วมมือกับ ซิโมน เดอ โบวัวร์ (Simone de Beauvoir) เขียนเรื่อง
Memoires d'une jeune fille rangee,1958 และเรื่อง La Force de l'age, 1960-2
โดยได้เล่าถึงชีวิตของซาร์ตร์ จากสมัยนักเรียน จนถึงกลางศตวรรษที่ 50 ใน École
Normale Supérieure ในภายหลังเขาได้พบผู้คนมากมาย
ที่มีจุดมุ่งหมายจะเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียง ในจำนวนนี้ได้แก่ แรมง อารง (Raymond
Aron) โมรีก แมโล-ปงตี (Maurice Merleau-Ponty), ซิโมน แวยล์ (Simone Weil),
อองมานูล มูนีแยร์ (Emmanuel Mounier), ฌอง อีปโปลีต (Jean Hippolyte) และ เคลาด์
เลวี-สเตราส์ (Claude Levi-Strauss)
ผ่านไปหลายปี ทัศนคติเชิงวิจารณ์นี้เปิดทางสู่รูปแบบของสังคมนิยมแบบซาร์ตร์
ซึ่งจะพบการแสดงออกในผลงานใหญ่ชิ้นใหม่ ชื่อ Critique de la raison dialectique
(1960) ซาร์ตร์ได้ดำเนินการตรวจสอบเชิงวิจารณ์ถึงวิภาษวิธีแบบมาร์กซ์ และค้นพบว่า
ไม่มีความยั่งยืนในรูปแบบที่โซเวียตใช้
ปรัชญาของซาร์ตร์
ซาร์ตร์เป็นนักคิดกลุ่มอัตติภาวนิยมที่มีผู้รู้จักมากกว่านักคิดอื่นๆ
ในกลุ่มเดียวกัน ซาร์ตร์
สร้างปรัชญาโดยการเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ความเป็นคนในตัวเอง
แล้วนำออกมาปฏิบัติในชีวิตจริง
โดยมีจุดมุ่งหมายจะปรับปรุงระบบสังคมของมนุษย์ให้ดีขึ้น
เขาเริ่มต้นด้วยการศึกษาให้รู้จักตนเองแล้วยอมรับสภาพความเป็นจริงของตนเองของแต่ละคน
ปรัชญาของซาร์ตร์จัดอยู่ในประเภทอเทวนิยม เขาไม่ยอมรับคุณค่าทางศาสนาใดๆ
ทั้งสิ้น ไม่เชื่อเรื่องปรโลก เรื่องอมฤตภาพของวิญญาณ และความมีตัวตนของวิญญาณ
โดยถือว่าวิญญาณเป็นเพียงกระแสความสำนึก (Consciousness) ตายแล้วก็หมดเรื่องกัน
ซาร์ตร์เน้นในเรื่องการเผชิญหน้ากับปัญหาในปัจจุบัน
เขาสอนให้แก้ปัญหาและรับผิดชอบต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า ให้รู้จักใช้เสรีภาพ
และภูมิใจในเสรีภาพของตนเอง
ให้รู้จักชีวิตและรับผิดชอบต่อชีวิตในปัจจุบันเท่านั้นพอแล้ว
ไม่ต้องคิดอะไรไปมากกว่านี้
ซาร์ตร์เห็นว่าระบบปรัชญาเก่าๆ
มัวแต่จะพยายามค้นหาความจริงอันติมะหรือสารัตถะ (Essence)
จึงทำให้มนุษย์ให้ห่างจากความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น ระบบปรัชญาปรัชญาเก่า ๆ
ทั้งหลายจึงเป็นระบบปรัชญาที่ล้มเหลว คือไม่อาจจะให้ความจริงอะไรแก่มนุษย์ได้
ซาร์ตร์จึงหันมาใช้วิธีการปรากฏการณ์ (Phenomeolgy)
ของฮุสเชิร์ลในการวิเคราะห์ความจริงของชีวิต
แจ่ซาร์ตร์ก็มิได้ดำเนินตามแบบของฮุสเชิร์ลทั้งหมด
เพราะฮุสเชิร์ลยังหวังว่าจะใช้วิธีนี้ค้นหาสารัตถะได้
แต่ซาร์ตร์ไม่สนใจค้นหาสารัตถะ แต่สนใจเฉพาะสภาพความเป็นจริงในชีวิต
และวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงนั้นให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เท่านั้น
เนื่องจากประสบการณ์ในชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ผลของการวิเคราะห์จึงได้ไม่เหมือนกัน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ ประสบการณ์ต่างๆ
กัน แต่ละคนจึงมีปัญหาต่างๆ กัน เพราะฉะนั้น คำตอบปัญหาเหล่านี้จึงต่างกันไปด้วย
จึงกล่าวได้ว่าไม่มีคำตอบสากลสำหรับปัญหาเหล่านั้น
คือไม่มีคำตอบใดที่จะใช้ได้กับปัญหาหรือกับคนทุกคน
ซาร์ตร์เชื่อว่า สิ่งทั้งหลายจะเป็นอะไร มีความหมายอย่างไร
และมีคุณค่าหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับมนุษย์ทั้งนั้น มนุษย์เป็นผู้กำหนดชนิด
กำหนดการใช้ กำหนดคุณค่า ถ้าถอดเอาสมมติฐานเหล่านี้ออกเสียแล้ว สิ่งต่างๆ
ก็มีอยู่สักแต่ว่ามี ไม่มีความหมายอะไร แต่มีความว่างเปล่าหรือสูญตา
เพชรกับถ่านก็มีค่าเท่ากันเพราะต่างก็เป็นภาวะอันหนึ่ง (Being) เหมือนกัน
ความวุ่นวายทั้งหลายเกิดขึ้นเพราะการกำหนดของมนุษย์เองทั้งสิ้น
เพราะภาวะทุกอย่างไม่มีเหตุผลในตัวเองว่าจะมีหรือไม่มี
หรือว่าจะเป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรเลย ฉะนั้น ตามทรรศนะของซาร์ตร์ Being แบ่งเป็น 2
ประเภทคือ
- Being in itself คือสิ่งไร้สำนึกทั้งหลาย
- Being for itself คืออัตติภาวะที่มีความรู้สำนึกและสามารถกำหนดคุณค่าให้แก่ทุกสิ่งเพื่อประโยชน์ของตนเอง
- Being นี้เองที่เป็นเนื้อแท้ของสิ่งที่ Exist และ Existence ของทุกสิ่งที่เป็นปรากฏการณ์ของ Being
ซาร์ตร์ถือว่า ปรากฏการณ์เป็นสิ่งเป็นจริงโดยไม่มีอะไรหนุนอยู่เบื้องหลัง
วัตถุก็คือวัตถุ มิใช่เป็นการแสดงตัวของสิ่งอื่น
แต่เป็นการแสดงตัวของวัตถุเองโดยตรง
ทั้งนี้ไม่มีใครสร้างและทั้งไม่ได้สร้างตนเองด้วย
อัตถิภาวะในความหมายของซาร์ตร์นั้นคือ ความสำนึก อัตถิภาวะเป็นผู้ถาม
เป็นผู้ปฏิเสธ เป็นผู้มีอาเวค เป็นผู้มีจิตนาการ เป็นต้น อัตถิภาวะจึงไม่แน่นอน
มีสภาพได้ต่างๆ ตรงกันข้ามกับภาวะ (Being)
ซึ่งเป็นสิ่งคงตัวต่อการกระทำของอัตถิภาวะ
ความสำนึกนี้ ซาร์ตร์ถือว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับความรู้
การรู้ก็คือความสำนึก แต่ความสำนึกมิใช่เป็นวัตถุแห่งความรู้
ตามทรรศนะของซาร์ตร์ อัตตาหรือวิญญาณจึงไม่มี คงมีแต่ความสำนึกที่เกิดๆ
ดับ ๆ เท่านั้น ความคิดนี้ตรงกับทรรศนะทางพุทธศาสนาที่ถือว่า
วิญญาณเป็นสิ่งที่เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา เป็นภาวะที่เรียกอนัตตานั่นเอง
นี้หมายความว่า เมื่อไม่มีความสำนึกก็ไม่มีวิญญาณ เมื่อไม่มีวิญญาณก็ไม่มีสำนึก
ซาร์ตร์กล่าวว่า ความสำนึกถึงความเชื่อก็คือ ความเชื่อ
ความเชื่อก็คือความสำนึกถึงความเชื่อ
เพราะฉะนั้น ความสำนึกจึงเป็น Nothingness เพราะเป็น Nothigness
จึงเลือกที่จะเป็นอะไรก็ได้ การเลือกจึงเป็นการสร้างภาวะให้แก่ตนเอง
และการเลือกได้จึงหมายถึงเสรีภาพ
และสิ่งที่มนุษย์จะหลีกเลี่ยงเสียมิได้ก็คือการเลือก
ซึ่งจำเป็นต้องเลือกไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง การเลือกก็มิใช่เป็นไปตามอำเภอใจ
แต่เป็นไปตามเสรีภาพและความรับผิดชอบ ฉะนั้น คนจึงต้องเลือกสิ่งที่ดีกว่าเสมอ
และตามทรรศนะของซาร์ตร์นั้น ไม่มีสิ่งใดดีสำหรับตนเอง แล้วจะไม่ดีสำหรับคนอื่นด้วย
นี้ก็หมายความว่า
มนุษย์ต้องเลือกสิ่งที่ดีทั้งแก่ตนเองและแก่คนอื่นด้วยเสมอตามเสรีภาพที่ตนมีอยู่
เพราะฉะนั้น เสรีภาพจึงเป็นเนื้อแท้ของ Being และเพราะเหตุนี้เอง
ซาร์ตร์จึงกล่าวว่า มนุษย์คือเสรีภาพ และเพราะมนุษย์มีเสรีภาพ
มนุษย์จึงเป็นผู้สร้างตนเอง
เพราะมนุษย์มีเสรีภาพ มนุษย์จึงสงสัยอะไรได้
จึงเลือกที่จะเป็นอะไรได้ตามต้องการ เลือกที่จะอยู่หรือเลือกที่จะตายก็ได้
มนุษย์ไม่สามารถเปลี่ยนอดีตของตนได้
แต่มนุษย์สามารถเลือกได้ว่าจะให้อดีตมามีอิทธิพลเหนือตนหรือไม่
สิ่งแวดล้อมไม่เป็นอุปสรรคต่อเสรีภาพของมนุษย์แต่เปิดโอกาสให้มนุษย์ใช้เสรีภาพว่าจะเลือกเอาสิ่งแวดล้อมแบบไหน
แม้กฎหมายก็มีเพื่อการเลือกของมนุษย์เช่นกันคือ
เลือกเอาว่าจะทำตามกฎหมายหรือว่าจะเลือกเอาการฝาฝืนกฎหมาย
แต่ซาร์ตร์เห็นว่า มนุษย์ส่วนมากพยายามไม่ใช้เสรีภาพ
เพราะกลัวการรับผิดชอบหรือเพราะพยายามหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบ
เนื่องจากเมื่อเลือกแล้วจะต้องรับผิดชอบต่อผลของการเลือกด้วย
เพราะความไม่ยอมรับผิดชอบนี้เอง มนุษย์ส่วนมากจึงหันไปพึ่งหลักการบางอย่างแทนคือ
หลักการของลัทธิบางลัทธิ หลักการของศาสนาบางศาสนา หรือหลักการของปรัชญาบางสำนัก
เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้โยนความรับผิดชอบไปให้แก่หลักการนั้นๆ แทนตนนั่นเอง
ปรัชญาของซาร์ตร์เป็นแบบอเทวนิยม และถือว่าสาสนาเป็นหลักการส่วนเกิน
แม้ไม่มีศาสนามนุษย์ก็สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ นอกจากนี้
ศาสนายังอาจเป็นเครื่องมือของคนฉลาดใช้มอมเมาคนโง่ด้วยการเสนออุดมคติที่หรูหรา
ทำให้คนมีทางหลีกเลี่ยงจากความรับผิดชอบและไม่พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ซาร์ตร์ยังถือว่า หลักการ อุดมการณ์และลัทธิที่ตายตัว
เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์ไม่มีเสรีภาพที่ตนจะพึงมี ตราบใดที่มีชีวิตอยู่
มนุษย์จะต้องมีเสรีภาพ สิ้นเสรีภาพเมื่อใดก็เท่ากับสิ้นชีวิตเมื่อนั้น
เสรีภาพจึงเป็นสารัตถะของมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่รู้ตัวเองว่าคือเสรีภาพ
จึงพยายามหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ แล้วหันไปพึ่งหลักการ ลัทธิ ศาสนา เป็นต้น
เป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์บางคนแสวงหาผลประโยชน์เอาจากช่องโหว่อันนี้ได้
นี้แหละคือที่มาของปัญหาสังคมทุกอย่างตามทรรศนะของซาร์ตร์
ทางที่จะแก้ปัญหาอันนี้ได้ก็คือ พยายามทำให้ทุกคนรู้อัตถิภาวะของตนเอง
กระตุ้นให้กล้าเผชิญหน้ากับเหตุการณ์โดยไม่ยอมหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบทั้งต่อเสรีภาพของตนเองและเสรีภาพของผู้อื่น
ซาร์ตร์เชื่อว่า การขาดความรับผิดชอบมากๆ
เข้าจะทำให้เกิดความรู้สึกว่างเปล่าจนเกินความรู้สึกหงุดหงิด
และนี้แหละคือที่มาของโรคประสาทของคนในปัจจุบัน
ส่วนผู้ที่ผู้รู้จักใช้เสรีภาพด้วยความรับผิดชอบ
จะเกิดความมั่นใจในตนเองและไร้ความหงุดหงิดกังวลใจ และเนื่องจากมนุษย์มีเสรีภาพ
มนุษย์จึงเลือกจะเป็นอะไรก็ได้ ฉะนั้น มนุษย์จึงเป็นผู้สร้างชีวิตตนเองด้วยตนเอง
ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเอง
สำหรับเรื่องพระเจ้านั้น ซาร์ตร์ถือว่าเป็นสมมติฐานที่ไม่จำเป็น
เพราะเราไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามนุษย์มาจากไหน
เรารู้แต่เพียงว่ามนุษย์มีเสรีภาพและมีชีวิตอยู่ให้เหมาะสมกับเสรีภาพก็นับว่าเป็นการเพียงพอแล้ว
และถ้าพระเจ้ามี
ก็เป็นการขัดต่อความเป็นมนุษย์คือมนุษย์ก็จะไม่มีเสรีภาพในอันที่จะทำอะไรได้ตามเสรีภาพของตนเอง
อัตถิภาวนิยมไม่มีหน้าที่หรือไม่พยายามที่จะพิสูจน์ว่าพระเจ้ามีจริงหรือไม่
เพียงแต่ยืนยันว่าแม้พระเจ้ามีอยู่ ก็จะไม่ทำให้เกิดมีอะไรเป็นพิเศษขึ้นเลย
เพราะมนุษย์เป็นผู้สร้างชีวิตของตนเองด้วยตนเองอยู่แล้ว