ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

นักปรัชญา

ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์

อิมมานูเอิล คานท์

อิมมานูเอิล คานท์ (Immanuel Kant) (22 เมษายน ค.ศ. พ.ศ. 2267 - 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2347) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมัน จากแคว้นปรัสเซีย ได้รับการยกย่องโดยทั่วไปว่า เป็นนักคิดที่มีอิทธิพลมากที่สุดของยุโรป และเป็นนักปรัชญาคนสำคัญคนสุดท้ายของยุคแสงสว่าง เขาสร้างผลกระทบที่สำคัญไปถึงนักปรัชญาสายโรแมนติกและสายจิตนิยม ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 งานของเขาเป็นจุดเริ่มของ เฮเกิล

คานท์เป็นที่รู้จักเนื่องจากแนวคิดของเขา ที่เรียกว่าจิตนิยมอุตรวิสัย (transcendental idealism) ที่กล่าวว่ามนุษย์ใช้แนวคิดบางอย่างที่ติดตัวมาแต่กำเนิด (innate idea) ในการรับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวในโลก เรารับรู้โลกโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมานี้ ดังนั้นเราจึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้ ความรู้ต่อสรรพสิ่งที่เรามีนั้นจึงเป็นได้แค่เพียงภาพปรากฏ ที่เรารับรู้ได้ผ่านทางประสาทสัมผัสเท่านั้น (ดูเนื้อหาเกี่ยวกับ อุตรภาพ เพิ่มเติม)

ญาณวิทยา (epistemology) หรือทฤษฎีความรู้ของคานท์นั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ความขัดแย้งระหว่างปรัชญาสายเหตุผลนิยมที่กล่าวว่า ความรู้สามารถสร้างขึ้นได้ไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ กับปรัชญาสายประสบการณ์นิยมที่กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารู้มีที่มาจากประสบการณ์ คานท์ได้เชื่อมแนวคิดที่ขัดแย้งกันทั้งสอง ดังคำกล่าวที่เขาเองเปรียบเปรยว่าเป็นการปฏิวัติแบบโคเปอร์นิคัส (Copernical Revolution) โดยสรุปคร่าวๆ ได้เป็นประโยคขึ้นต้นของหนังสือ บทวิพากษ์ของการใช้เหตุผล (Critique of Pure Reason) ว่า "แม้ว่าความรู้ทั้งหมดที่เรามีจะมีจุดเริ่มต้นจากประสบการณ์ แต่นั่นมิได้หมายความว่าความรู้ทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นมาจากประสบการณ์"

ใน Critique of Pure Reason ยังได้นำเสนอเนื้อหาของหลักทางศีลธรรม (จริยศาสตร์) ที่ยังคงมีอิทธิพลต่อแนวความคิดด้านจริยธรรมของโลกตะวันตกมาจนถึงปัจจุบัน ตลอดจนอาจกล่าวได้ว่าเขาเป็นบิดาแห่งแนวคิดเรื่องสหประชาชาติ ดังที่ปรากฏในความเรียงว่าด้วยเรื่องสันติภาพถาวรของเขาได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศขึ้นเพื่อยุติความขัดแย้งและความโหดร้ายของสงคราม กระทั่งสันนิบาตชาติและตามด้วยสหประชาชาติได้เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน

เกร็ดประวัติชีวิตที่น่าสนใจของนักปรัชญาผู้นี้คือคานท์ เกิดและตายที่เมืองโคนิกสเบิร์ก (Konigsberg) ทางตะวันออกของปรัสเซีย และดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยโคนิกสเบิร์กที่นั่น ทั้งชีวิตของเขาไม่เคยออกนอกเมืองดังกล่าวเลย แนวคิดของเขาส่งผ่านไปทั่วโลกโดยทางจดหมาย หลักศีลธรรมของเขาไม่เพียงแต่ปรากฏในแผ่นกระดาษเท่านั้น แต่เขายังถือปฏิบัติอย่างจริงจังอีกด้วย เขาครองโสดตลอดชีวิต มีความเป็นอยู่อย่างสมถะ และไม่โอ้อวดในทางวิชาการ นอกจากนี้เขายังเป็นคนที่ตรงเวลามากอีกด้วย ทุกๆ วันเขาจะออกจากบ้านเวลาเดียวกันเสมอ กระทั่งมีคำกล่าวว่า หากเห็นคานท์ออกจากบ้านเมื่อใดก็สามารถนำเวลานั้นมาตั้งหน้าปัดนาฬิกาของตนเองได้

อิมมานูเอล คานท์ มีชีวิตอยู่ในระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ สมัยอยุธยา และรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยรัตนโกสินทร์ คานท์ ถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 80 ปี

เหตุผลนิยมของคานท์
เหตุผลนิยมของคานท์นี้ บางครั้งเรียกว่า Rigorist หมายถึงลัทธิที่ยึดมั่นในคุณธรรมหรือเหตุผลอย่างเคร่งครัดเคร่ง ในหนังสือบางเล่มใช้คำว่า Moral Purism หรือ Formal Ethics ลัทธิเหตุผลนิยมนี้ตรงข้ามกับลัทธิสุขนิยม (Hedonism) หรือนักปรัชญาบางท่านเรียกว่า รติวาท

สุขนิยมจะเน้นความสุขอันเกิดจากประสาทสัมผัส ส่วนเหตุผลนั้นจะตรงข้ามคือเน้นเหตุผลเป็นหลัก นักปรัชญาบางท่านให้นิยามของสุขนิยมว่าเป็นทฤษฎี “ความเพลิดเพลินเพื่อความเพลิดเพลิน” และนิยามเหตุผลนิยมว่าเป็นทฤษฎี “หน้าที่เพื่อหน้าที่” 1

สำหรับเหตุผลนิยมของคานท์ เป็นหลักการที่อยู่ในกลุ่มของมโนธรรมที่มีเหตุผล คานท์ถือว่ามโนธรรมเป็นเหตุผลภาคปฏิบัติ เพราะบ่งบอกถึงกฎศีลธรรมในตัวเอง คานท์มีความคิดว่า หลักศีลธรรมนั้นสามารถรู้ได้เอง เป็นสิ่งที่มีมาก่อนแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นมาภายหลังโดยอาศัยประสบการณ์ และเป็นแนวคิดที่มีประจักษ์พยานในตัวเอง ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกับจริยศาสตร์ของพุทธศาสนาที่ว่า “ตนนั่นแหละเป็นพยานแห่งตนว่าตนได้ทำดีหรือชั่ว” ดังนั้น ความลับจึงไม่มีในโลก เพราะแม้ว่าในป่าอันว่างจากคนอื่นก็ไม่ว่างจากตนคือ ยังมีตนอยู่ ตนนั่นแหละเป็นผู้รู้ผู้เห็น ความบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์เป็นของเฉพาะตน คนอื่นไม่สามารถมาทำให้ตนบริสุทธิ์ได้ หลักการของเหตุผลของค้านนี้มีบทบาทสำคัญต่อทฤษฎีทางศีลธรรมของค้าน ทั้งนี้เพราะคานท์เชื่อว่า การใช้เหตุผลทางศีลธรรมของเราเป็นการใช้เหตุผลเพื่อตัดสินว่า เราควรจะปฏิบัติตนอย่างไรให้อยู่ในกรอบหรือกฎเกณฑ์ที่เป็นอุดมคติ หรือกฎที่มีลักษณะสมบูรณ์ไม่มีเงื่อนไข คานท์กล่าวว่ากฎดังกล่าวนั้นไม่สามารถที่จะมาจากประสบการณ์ได้ แต่มาจาก “Idea of reason” ของเรา 2 นั่นคือ “หลักจริยธรรมนั้น เราจะต้องถือเป็นข้อเท็จจริงแห่งเหตุผลอันบริสุทธิ์ ที่เรามีความสำนึกมาแต่เริ่มแรก และเป็นสิ่งแน่นอนอยู่เหนือความขัดแย้งใด ๆ ทั้งสิ้น” 3

จากแนวความคิดทางเหตุผลนิยมนี้เอง ทำให้คานท์สรุปว่า “การพูดโกหกไม่เคยเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่าจะมีใครบางคนต้องการจะฆ่าเพื่อนของคุณ” เช่น “การโกหกฆาตกรผู้ซึ่งกำลังตามล่าตัวเพื่อนเราอยู่ว่า เขาได้หลบอยู่ในบ้านของเราอาจนำมาซึ่งการฆาตกรรมได้”

จริยศาสตร์แนวคานท์
ในด้านจริยศาสตร์นั้นคานท์กล่าวว่า “จริยศาสตร์ คือ ความนึกในจริยธรรมหรือความสำนึกถึงความผูกพันทางศีลธรรมอันชวนให้มนุษย์ประพฤติชอบต่อกัน” จากจริยพันธะนี้เองเราสามารถอธิบายได้ดังนี้ว่า

เราทุกคนมีจริยพันธะทางใจในอันที่จะต้องปฏิบัติตามธรรมะ เพราะว่าเรามีความสำนึกในศีลธรรมอันเป็นข้อเท็จจริงอันบริสุทธิ์ จริยะพันธะนี้เกิดขึ้นมาเอง โดยที่ไม่ต้องได้รับการกระตุ้น เป็นกฎที่ไม่มีผู้ใดกำหนดขึ้น แต่เป็นกฎธรรมชาติซึ่งต่างจากกิเลสตัณหา หรือความใคร่ความอยาก จริยะพันธะเป็นสิ่งที่ลึกลับ ซ่อนเร้น และจริงจังยิ่งกว่าประสบการณ์ต่าง ๆ ดังนั้นจึงสามารถแสดงออกมาในด้านคุณธรรมของตนเอง โดยอาศัยหลักศีลธรรมเท่านั้นเป็นกฎในการอธิบาย

เจตนาดี (Good Will) : สิ่งดีอย่างไม่มีเงื่อนไข
หนังสือบางเล่มอาจใช้คำว่า เจตจำนงดี คานท์มีความคิดว่า “เป็นไปไม่ได้ที่เราจะเข้าใจทุกอย่างในโลกนี้และนอกโลกที่เป็นความดีซึ่งปราศจากเงื่อนไข นอกจากเจตนาดี”2 สติปัญญาก็ดี ไหวพริบก็ดี การตัดสินใจอย่างแน่วแน่ก็ดี รวมทั้งพรสวรรค์อื่น ๆ ของจิตซึ่งจะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ หรือความกล้าหาญ ความเด็ดเดี่ยว และความบากบั่นเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ดี และน่าพึงปรารถนาในหลาย ๆ แง่ แต่ทั้งหมดนี้อาจกลายเป็นสิ่งไม่ดีและอันตรายที่สุดได้ ถ้าเราใช้พรสวรรค์ที่ได้รับนี้โดยเจตนาที่ไม่ดี คานท์เชื่อว่า “เจตนาดี” เป็นคุณลักษณะทางศีลธรรม คือ เมื่อบุคคลคนหนึ่งทำสิ่งที่เขาเชื่อว่าถูกต้องหรือสิ่งที่เป็นหน้าที่ที่ต้องทำ ไม่ว่าบุคคลนั้นจะปราศจากความรู้สึกเมตตาสงสาร หรือแม้แต่ปราศจากความสนใจที่จะใฝ่หาประโยชน์ส่วนตนหรือของส่วนรวม เราก็ยังถือว่าเขามีความดีที่เป็นลักษณะพื้นฐานทางศีลธรรมอยู่นั่นคือ เขามีเจตนาดีอยู่ 3

ให้สังเกตว่าคุณค่าของคนที่มีเจตนาดี หรือคนที่มีศีลธรรมดีนั้น ไม่จำเป็นจะต้องขึ้นอยู่กับการที่ว่าเขาจะประสบความสำเร็จในการทำตามเจตนาดีของเขาหรือไม่ แต่คุณค่าของบุคคลนั้นขึ้นอยู่กับหลักการที่ทำให้เกิดเจตนาที่จะกระทำนั้น ๆ ต่างหาก คานท์เชื่อว่าบุคคลที่มีเจตนาดีจะกระทำสิ่งต่าง ๆ จากสาเหตุของแรงจูงใจเดียวเท่านั้น ซึ่งนั่นคือการเคารพในศีลธรรมหรือเคารพในความถูกต้อง แต่หากว่าเขาจงใจที่จะกระทำดีแล้วไม่สำเร็จ ซึ่งอาจเนื่องมาจากสาเหตุบางประการ คือ สถานการณ์แวดล้อมที่บังคับเขา เช่น เขาเห็นคนกำลังจะจมน้ำ เขาตัดสินใจลงไปช่วยคนนั้นเพราะเขาเชื่อว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่เนื่องด้วยเขาว่ายน้ำไม่แข็งพอจึงทำให้เขาช่วยคนนั้นไม่ได้ ซึ่งคานท์กล่าวว่า คุณค่าความดีของเขามิได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใด

เราพอสรุปได้ว่า “เจตนาดีไม่ได้ดีเพราะว่าผลของมันที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะสำเร็จตามที่ตั้งใจเอาไว้ แต่ว่าความดีอยู่ที่ความจงใจเพียงอย่างเดียว อันเป็นความดีในตัวของมันเอง” ซึ่งเป็นความดีที่ครบถ้วน ไม่มีความจำกัดทางสภาวะแวดล้อม เป็นความดีที่ปราศจากเงื่อนไข 1

ถึงแม้ว่าคานท์จะเชื่อว่ามีแต่เจตนาดีเท่านั้นที่ดีอย่างไม่มีเงื่อนไข แต่คานท์ก็มีความคิดว่าการอ้างเหตุผลเพื่อสนับสนุนความเชื่อนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็น ค้านเห็นว่า การสร้างเหตุผลมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่การสร้างเจตนาที่ดีในตัวเองเท่านั้น

การที่เราทำตามพันธะหน้าที่หรือกฎศีลธรรมเพราะเรารู้ก่อนว่ามันเป็นสิ่งที่ดี แลเมื่อเรารู้ว่าเป็นสิ่งดี เราก็เกิดความปรารถนาที่จะกระทำ แน่นอนทีเดียวว่าหากไม่มีความปรารถนาที่จะกระทำตามกฎศีลธรรม หรือปราศจากเจตนาดีนั่นเอง ก็จะไม่มีการทำตามกฎศีลธรรม คานท์เชื่อว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่มีพันธะอะไรที่จะต้องมีความปรารถนาหรือเจตนาดีเช่นนี้ แต่คานท์ก็เชื่อว่าเราสามารถที่จะสำนึกรู้ถึงกฎศีลธรรม (หรือเรามี Ideas of reason) ความปรารถนาหรือเจตนาที่จะกระทำตามกฎดังกล่าวก็จะเกิดขึ้น แม้ว่าในคนที่เลวที่สุดก็จะต้องรู้สึกถึงความปรารถนานั้น เพียงแต่ว่าความเข้มข้นจะมีอยู่ในระดับใดเท่านั้น

“ศีลธรรม” กับ “ความรอบคอบ”
ตามที่กล่าวข้างต้น เราเห็นความคิดของคานท์ในเรื่องเจตนาดี เจตนาดี คือการจะทำตามกฎ

ศีลธรรม โดยคานท์มักใช้คำว่า “หน้าที่” แทนคำว่า “กฎศีลธรรม” คุณค่าทางศีลธรรมของมนุษย์อยู่ที่เจตนาดี ก่อนที่จะเข้าใจคุณค่าของมนุษย์จำเป็นจะต้องเข้าใจภาพรวมของ “หน้าที่”

หน้าที่คืออะไร? จาก Glossary of Kant’s Technical Terms “หน้าที่” หมายถึง การกระทำซึ่งเราถูกกำหนดให้ปฏิบัติตามกฎศีลธรรม 2 เราต้องกระทำด้วยความรู้สึกว่าเรามีความผูกพันอยู่กับอะไร เช่น ทุกคนมีหน้าที่ หน้าที่ของพ่อแม่ หน้าที่ของลูก หน้าที่ของครูบาอาจารย์ หน้าที่ของศิษย์ ซึ่งการจะกระทำหน้าที่ทุกอย่างให้สมบูรณ์นั้นเป็นการยาก และคนที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์นั้นก็หาได้ยากทีเดียว เมื่อบุคคลสำนึกได้ว่าตนเองได้ทำหน้าที่ของตนอย่างสมบูรณ์แล้ว บุคคลนั้นย่อมเป็นคนดีเสมอ แต่ว่าต้องทำหน้าที่นั้นอย่างเฉลียวฉลาดรอบคอบด้วย คานท์ถือว่า ความรู้สึกในหน้าที่เป็นแรงจูงใจอันสำคัญยิ่งทางศีลธรรม ความถูกต้องและความรับผิดชอบมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนความดีและจุดมุ่งหมายเป็นสิ่งสำคัญรองลงมา “มนุษย์ที่ดีที่สุด คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ดีที่สุด ถูกต้องครบถ้วนที่สุด”

การกระทำที่ถือว่าดีทางศีลธรรมจะต้องมิได้เกิดจากแรงโน้มหรือความปรารถนาที่ถูกกำหนดด้วยปัจจัยภายนอกเหตุผลบริสุทธิ์ แต่จะต้องเป็นการกระทำที่มีสาเหตุมาจากความปรารถนาที่จะทำตามกฎศีลธรรม หรือเป็นการกระทำเพราะว่าเป็นหน้าที่นั่นเอง

ศีลธรรม มีความแตกต่างจากความรอบคอบ เพราะว่ากฎศีลธรรมจะต้องมาจากเหตุผล ส่วนกฎความรอบคอบนั้นเป็นกฎที่ถูกกำหนดด้วยประสบการณ์ คือ ทั้งจุดหมายและวิถีที่จะไปสู่จุดหมายนั้นได้ถูกกำหนดด้วยประสบการณ์ไม่ใช่เหตุผล เราเรียนรู้จากประสบการณ์ว่าอะไรที่ทำให้เราสุขและอะไรที่ทำให้เราทุกข์ เรารู้ว่าเราควรทำอะไรเพื่อให้เราเป็นสุขและไม่ควรทำอะไรที่จะนำเราสู่ความทุกข์ ความรื่นรมย์บางอย่างอาจเป็นอุปสรรคต่อเราในการมีความสุขในระยะยาวของเรา ทำให้การตอบสนองความปรารถนาบางอย่างของเราอาจขัดแย้งกัน นั่นคือ หากเราเอาอีกอย่างหนึ่งก็จำต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป เราต้องตัดความปรารถนาบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งความสุขระยะยาวของเรา ดังนั้น กฎของความรอบคอบจึงเป็นกฎที่เราเรียนรู้จากประสบการณ์ที่จะทำอย่างไรให้ได้สิ่งที่ต้องการ ความถูกต้องของกฎขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการนำมาซึ่งสิ่งที่เราต้องการ และประสิทธิภาพก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลทางประสบการณ์เกี่ยวกับโลก และข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถที่จะช่วยให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าคุณค่าของเจตนาดีจึงตรงข้ามกับกฎความรอบคอบ คุณค่าของเจตนาดีมิได้อยู่ที่เราจะประสบความสำเร็จในการกระทำตามเจตนาดีหรือไม่ แต่กฎความรอบคอบมีคุณน่าอยู่ที่ความสำเร็จในการได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นจุดหมาย จึงเห็นว่ากฎความรอบคอบเป็นกฎที่มีเงื่อนไขในความหมายที่ว่า ถ้าเราอยากได้อะไรเราก็ควรใช้วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดเพื่อนำมาซึ่งที่ต้องการ ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า “ถ้าท่านต้องการ ก (จุดหมาย) ท่านก็ควรทำ ข (วิถีหรือวิธีการให้ได้มาซึ่ง ก)” คำว่า “ควร” มิใช่ควรในทางศีลธรรมแต่เป็น “ควร”ในแง่ความรอบคอบ 3

ผู้ที่กระทำตามกฎความรอบคอบอาจมีคุณลักษณะ เป็นคนฉลาด มีทักษะ เมตตา กล้าหาญ หรือมีชื่อเสียง ร่ำรวย ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้สามารถนำไปสู่ความสุขได้ทั้งสิ้น แต่เราต้องเข้าใจว่า คุณลักษณะเหล่านี้มีคุณค่าภายนอก ไม่ได้มีค่าในตัวเอง ทำนองเดียวกัน ความสุขหรือจุดหมายที่เราปรารถนาก็ไม่ได้มีคุณค่าในตัวเอง หรือมีค่าทางศีลธรรมด้วยเช่นกัน เนื่องจากจุดหมายดังกล่าวได้ถูกกำหนดประสบการณ์ ไม่ใช่จากเหตุผล



กฎศีลธรรม
กฎศีลธรรม (Moral law) หมายถึง ความเป็นจริงของเหตุผลปฏิบัติ (practical reason) ที่มีอยู่ในบุคคลผู้มีเหตุผล ซึ่งบางคนได้ตระหนักมากกว่าสิ่งอื่น สาระสำคัญของกฎศีลธรรมก็คือ การที่เรารู้ว่าสิ่งไหนดีและสิ่งไหนชั่ว และการตัดสินภายในของเรามาจาก อะไรที่เราควรทำสิ่งนั้นเป็นสิ่งดี 1

กฎศีลธรรมเป็นข้อบังคับอย่างเด็ดขาด กฎศีลธรรมย่อมจะไม่กล่าวว่าจงทำอย่างนี้ ถ้าท่านต้องการจะมีความสุข มีความสำเร็จ แต่จะกล่าวว่าจงไปทำเพราะว่ามันเป็นหน้าที่ของท่านที่จะต้องทำ โดยคานท์เองยกย่องการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ของหน้าที่เองซึ่งเหมือนกับลัทธิสโตอิค กฎศีลธรรมยังเป็นกฎสากลและจำเป็น เป็นสิ่งดั้งเดิมและมีอยู่ในเหตุผลนั่นเอง กฎสากลนี้ควบคุมการตัดสินทางศีลธรรมด้วย นั่นคือเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินความถูกและความผิด

คานท์ได้พยายามสร้างกฎศีลธรรมขึ้น โดยได้วางหลักสำคัญไว้ 3 ประการ ดังนี้

  1. จงทำเฉพาะสิ่งที่เมื่อท่านทำแล้วเป็นกฎสากล หมายความว่า สิ่งที่ถูกนั้นคือสิ่งที่เป็นสากล และจงทำสิ่งที่คนอื่นอาจทำตามได้โดยไม่ก่อความเดือดร้อนแก่สังคม
  2. ทำเหมือนกับว่าได้ปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ในฐานะเป็นจุดมุ่งหมายไม่ใช่เป็นวิถีทาง คือ จงปฏิบัติต่อคนอื่นเช่นเดียวกับที่เราอยากให้เขาปฏิบัติต่อตัวเรา และอย่าทำให้คนอื่นเป็นเครื่องมือ แต่ให้เราคำนึงถึงจุดมุ่งหมายร่วมกัน
  3. ทำเหมือนกับว่าเราเป็นส่วนหนึ่งแห่งอาณาจักรแห่งจุดมุ่งหมาย คือ ให้ปฏิบัติต่อตนเองและคนอื่นในฐานะที่เป็นบุคคลผู้มีคุณค่าภายในเสมอกัน จงประพฤติตนในฐานะเป็นสมาชิกของประชาคมที่มีอุดมคติ ซึ่งทุกคนในประชาคมนี้เป็นทั้งผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง

กฎข้อแรก เป็นวิธีการหลีกเลี่ยงความมีอคติ โดยให้เราพิจารณาว่าการกระทำอย่างใดอย่าง

หนึ่งไม่ว่าถูกหรือว่าผิดศีลธรรม เราควรถามตัวเองว่าต้องการให้ทุกคนทำเช่นนั้นหรือไม่ คานท์เสนอความคิดที่ว่า จงกระทำเสมือนหนึ่งว่าเรากำลังวางกฎทั่วไปของธรรมชาติ เท่ากับเป็นการบอกเราให้มีจินตนาการว่าการตัดสินใจของเราเป็นการกระทำที่มาจากพระเจ้าซึ่งมีผลต่อทุกคน เราควรจะถือว่าการตัดสินใจของเรานั้นเป็นดั่งกฎหมายที่ทุกคนต้องทำตาม

กฎข้อนี้แสดงถึงการตัดสินทางศีลธรรมซึ่งใช้คำว่า “ควร” ในแง่ทางศีลธรรม มีรูปแบบที่เป็นคำสั่งทั่วไป “ข้าพเจ้าควร” หรือ “ท่านควร” “มีศีลธรรมที่จะทำ X” ไม่ได้เป็นลักษณะของคำเตือนอย่างตรงไปตรงมาหรือเป็นคำสั่งแก่คนใดคนหนึ่งว่า “ขอข้าพเจ้าทำ X” หรือ “ทำ X” แต่หมายถึงการบ่งชี้ว่าใครก็ตามหรือทุกคนที่ตกอยู่ในสถานการณ์นี้จะต้องทำ X 1

กฎข้อที่ 2 การปฏิบัติต่อผู้อื่นเหมือนกับว่าเป็นจุดหมาย คือ การกระทำที่ยอมรับว่าเขาก็มีจุดมุ่งหมายเหมือนกันกับเรา ซึ่งอาจแยกเป็น 2 ส่วนคือ

ความปรารถนา

ทางเลือก
การปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนเป็นจุดหมาย คือ การทำให้จุดหมายของเขาเป็นของเราเอง มันเป็นการช่วยให้เขาบรรลุเป้าหมาย เมื่อเราได้จ้างคนงานมาและเราจ่ายเงินให้เขาตามที่ได้ตกลงกัน เราก็ได้กระทำให้ความปรารถนาทั้งของเขาและของเราบรรลุผล ซึ่งจะไม่เหมือนความสัมพันธ์ระหว่างเจ้านายและทาสของเขา เราได้เคารพทางเลือกของเขาด้วยการปล่อยให้เขามีอิสระที่จะกระทำให้สำเร็จด้วยตัวเขาเอง ดังนั้นเราก็ได้ปฏิบัติต่อคนอื่นเหมือนเป็นจุดมุ่งหมาย เพราะว่าเราได้ช่วยให้เขาบรรลุสิ่งที่ปรารถนาและยอมหรือช่วยให้เขาสามารถทำตามการตัดสินใจของเขา จากข้อความข้างต้นทำให้เรารู้ว่า ลักษณะของการผิดศีลธรรมไม่เพียงแต่ทำให้คนอื่นตกเป็นทาสเท่านั้น แต่ยังเป็นการใช้อิทธิพลครอบงำ ซึ่งเป็นการไม่เปิดหนทางให้ผู้อื่นที่ถูกครอบงำนั้นได้มีพลังตัดสินด้วยตัวเอง

สำหรับกฎข้อที่ 3 เป็นการเชื่อมกฎข้อแรกกับข้อที่ 2 เข้าด้วยกัน เป็นกฎที่ให้เราแสดงว่าเราเป็น “ส่วนหนึ่งของอาณาจักรจุดมุ่งหมาย” นั่นคือเราต้องแสดงตนว่าเราเป็นสมาชิกของกลุ่มสังคม ซึ่งทุกคนต้องตัดสินใจทางศีลธรรม โดยที่สมาชิกแต่ละคนต้องปฏิบัติต่อคนอื่น ๆ เหมือนเป็นบุคคลผู้มีศีลธรรม โดยมีความเคารพต่อความปรารถนาของผู้อื่น และยอมรับว่าทุกคนสามารถและควรตัดสินใจเหมือนกับว่าเป็นกฎหมายสำหรับทุกคน เราต้องยอมรับว่าใคร ๆ ก็มีความสามารถตัดสินกฎสากลทั่ว ๆ ไปได้เท่ากับท่าน สิ่งนี้จะช่วยเชื่อมความเป็นสากลของการตัดสินทางศีลธรรมไปสู่ความจริงที่ว่า การกระทำที่มีศีลธรรมนั้นจะปฏิบัติต่อคนทั้งปวงในฐานะเป็นจุดหมาย ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความเท่าเทียมกันของทุกคนในสังคม รวมทั้งกำหนดให้เราต้องยอมรับว่ามนุษย์ทุกคนมีอำนาจที่จะเลือกและตัดสินใจเท่าเทียมกัน รวมถึงการตัดสินใจทางศีลธรรมเกี่ยวกับสิ่งที่ถูกต้องสำหรับทุกคน

ศีลธรรมของคานท์มีความเกี่ยวโยงกับการแบ่งแยกโลกปรากฏ กับโลกความจริงแท้ในตัวเอง คานท์มองว่า ความมีศักดิ์ศรีของมนุษย์อยู่ที่ความสามารถในการรู้กฎศีลธรรม และยอมให้กฎนั้นมากำหนดหลักการการกระทำของตน กฎศีลธรรมของคานท์เป็นกฎที่เด็ดขาดไม่มีเงื่อนไข คุณค่าทางศีลธรรมของมนุษย์มิได้อยู่ที่การกระทำภายนอกแต่อยู่ที่เจตนาอันทำให้เกิดการกระทำ และเจตนาที่ว่านั้นต้องเป็นเจตนาที่ดีด้วย เป็นเจตนาที่เป็นอิสระจากปัจจัยทางจักรกล ซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดจากพลังของเหตุผล

คานท์เองมองว่ามนุษย์จะเป็นอิสระก็ต่อเมื่อมนุษย์ใช้เหตุผลซึ่งต่อต้านแรงโน้ม และถ้าเมื่อใดที่มนุษย์ปฏิบัติตนตามแรงโน้มมนุษย์ก็จะไม่มีอิสระ กฎศีลธรรมหรือหน้าที่มีคุณค่าที่แตกต่างจากกฎความรอบคอบ เพราะว่ากฎศีลธรรมมาจากเหตุผลภายในที่ปราศจากเงื่อนไข ส่วนกฎความรอบคอบมาจากปัจจัยภายนอกคือ ประสบการณ์ หน้าที่เป็นตัวกำหนดคุณค่าทางศีลธรรม หากว่าเราปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้วถือว่าเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด เป็นที่หน้าสังเกตว่าการทำความดีหรือการปฏิบัติตามศีลธรรมนั้น ไม่ได้นำเราไปสู่ความสุขเสมอ แต่เราก็จำเป็นต้องทำความดีเพราะว่าสิ่งนั้นเป็นความดี และเป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องกระทำไม่ว่าเราจะได้รับความสุขหรือไม่ก็ตาม ดังนั้นความสุขจึงไม่ใช่แรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่ของเรา แต่เราปฏิบัติหน้าที่เพื่อหน้าที่ เราไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มาซึ่งความสุข

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย

🍁 "บ้าน" มรดกทางวัฒนธรรม
"บ้าน" คือการบอกเล่าความเป็นมา คือการบอกล่าวถึงพัฒนาการในการดำรงชีพของมนุษย์ "บ้าน" ที่อยู่อาศัยหนึ่งในปัจจัยสี่ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับมนุษย์ และบ่งบอกถึงความั่นคง

🍁 ภูมิปัญญากีฬาไทย
กีฬาไทยที่บรรพชนไทยค้นคิด และถ่ายทอดมาสู่ลูกหลาน บางชนิดกลายเป็นตำนานและความทรงจำ และบางชนิดยังคงมีการเล่นกันอยู่

🍁 สะพานสู่ฟ้าใหม่
สะพานข้ามน้ำเป็นสัญลักษณ์การข้ามอุปสรรคขวางกั้นไปสู่จุดหมาย และการเชื่อมโยงสิ่งตรงข้ามมา เพื่อสร้างเอกภาพอันกลมกลืนมั่นคง

🍁 ทิวธงมงคลชัย
สิ่งสะท้อนความคิด และสืบทอดคติความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ของชนรุ่นแล้วรุ่นเล่า จากยุคสมัยหนึ่งสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง ดุจตัวแทนที่น้อมนำสู่มงคลแห่งชีวิต

🍁 พระราชลัญจกรประจำรัชกาล
ตราประจำพระมหากษัตริย์ แต่ละรัชกาล ซึ่งจะทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อเริ่มต้นรัชกาล เพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆของชาติ ที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

🍁 สามล้อไทย
วิถีหนึ่งของสายทาง ซึ่งแม้เวลาจะหมุนเวียนเปลี่ยนไป หากสายทางของสามล้อยังคงผูกพัน เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย

🍁 กีฬาสัตว์
ด้วยนิสัยช่างสังเกตของคนไทย จึงเป็นที่มาของกีฬาซึ่งใช้สัตว์เป็นผู้แข่งขัน จนกลายเป็นกิจกรรมบันเทิงพื้นบ้าน ยามว่างนับแต่อดีต

🍁 ตาลปัตร พัดรอง
พัดที่ทำจากใบตาลมีหลายรูปแบบ สำหรับใช้โบกให้ความเย็น และใช้เป็นการบ่งบอกถึงฐานะ บรรดาศักดิ์ของผู้ใช้

🍁 ทฤษฎีแห่งการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา
ผู้เรียนเป็นฝ่ายสร้างความรู้ขึ้นด้วยตนเอง มิใช่ได้มาจากครูและในการสร้างความรู้นั้น ผู้เรียนจะต้องลงมือสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา

🍁 ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน
มิติทางวิชาการหลายมิติที่ซ้อนทับ เคลื่อนไหว และมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน รวมทั้งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจในทุกบริบทที่เกี่ยวข้อง

🍁 การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมทุกสังคมย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเสมอ ตราบใดที่สังคมนั้นยังต้องมีการติดต่อและสัมพันธ์กับสังคมอื่น การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง

🍁 ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ
เมื่อบุคคลปรารถนาที่จะได้รับความพึงพอใจและเมื่อบุคคลได้รับความพึงพอใจในสิ่งหนึ่งแล้วก็จะยังคงเรียกร้องความพึงพอใจสิ่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งถือเป็นคุณลักษณะของมนุษย์

🍁 กำเนิดโลกและสิ่งมีชีวิต
ทำไมโลกซึ่งแต่เดิมเป็นลูกไฟดวงหนึ่ง ไม่ได้ต่างจากดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตได้มากมายเช่นนี้

🍁 โรคสัตว์สู่คน

🍁 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

🍁 โรคอารมณ์สองขั้ว

🍁 คู่มือ อสม.กับการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน

🍁 การจัดการกับอารมณ์และความเครียด

🍁 ทฤษฎีการสร้างพลังอำนาจ

🍁 การจูงใจ

🍁 การแกว่งแขน รักษาโรค

🍁 ประวัติขนมไทย

🍁 กัญชา

🐍 โปรดระวังงูฉก

ความดีงามในความเป็นมนุษย์เริ่มถดถอย
เมื่อเราใช้ความคิดมากขึ้นแต่ใช้ความรู้สึกน้อยลง

ความรักและมนุษยธรรมกลายเป็นเรื่องไร้สาระ
เมื่อความรู้มีไว้ใช้คุยข่ม
ความฉลาดปราดเปรื่องคือความได้เปรียบ

จากสังคมแห่งการแบ่งปัน
สู่สังคมความแห่งการแย่งชิง

ระบบทุนนิยมเต็มรูปแบบ
ขยายอิทธิพลมาถึงหัวบันไดบ้าน

ความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำ
กินพื้นที่ชีวิตทุกภาคส่วน

ไม่มีช่องว่างให้โอดโอย.

🐍 งูเขียว หางบอบช้ำ : เขียน

เชิญแวะอ่านสักนิดสักหน่อยก็ยังดี...

🌿 ปายฝน ต้นรัก ปางอุ๋ง แม่ละนา 1864 โค้ง
บนทางหลวง 1864 โค้ง หมายเลข 1095 เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน ฝันค้างกลางฤดูหนาวหนึ่ง ได้กลายเป็นความจริงตอนปลายฤดูฝน ปายที่เคยได้แต่ฝันถึง ปางอุ๋งที่ไม่มีวันจะเป็นจริง แม่ละนาที่ไกลเกินเอื้อม ด้วยปีกคู่นั้นกับชีวิตเสรีในแบบฉบับของตัวเอง

🌿 ตะลุยเมืองจำลอง
ฝนจะตกแดดจะออกก็ไม่เป็นปัญหา ไม่ต้องเตรียมแผนที่หรือข้อมูลอะไรให้ยุ่งยาก เสื้อยืดตัว ขอใช้ส่วนตัวเท่าที่จำเป็น เป้ใบ กล้อง จองโรงแรมคืนหนึ่งล่วงหน้า 3 วัน ก่อนเดินทางแถวจอมเทียน ขอลงรถหน้าเมืองจำลองได้เลย ก่อนรถเลี้ยวเข้าสถานีตรงพัทยาเหนือ (10.30 น. ถึง) พร้อมลุย

🌿 จากจังหวัดที่เล็กที่สุดถึงเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุด
ถึงอัมพวา แต่ไม่เห็นหิ่งห้อยสักตัว ทั้งที่นอนอยู่ใต้ต้นลำพู ถึงค่ายบางกุ้ง แต่ไม่ถึงวัดบางกุ้งทั้งที่อยู่ห่างกันแค่ข้ามฝั่งถนน

ยังมีอีก »


ชีวิตเริ่มต้นอีกครั้งหลังเกษียณ
ภูจอมยุทธ | Podcast

ชีวิตในแบบฉบับของตัวเอง หิวก็กินง่วงก็นอน อยากทำอะไรก็ทำ เบียดเบียนสภาพแวดล้อมแต่พองาม ประสบการณ์แบ่งปันผู้คน มากบ้างน้อยบ้าง วัดกับร้านเหล้าถือเป็นสถานอโคจร ที่ต้องรักษาระยะห่าง คลิกดู👆