ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

นักปรัชญา

ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์

เดวิด ฮิวส์

1711 – 1776

เดวิด ฮิวส์ เป็นนักปรัชญาชาวสก็อต เกินในเอดินเบอเรอ เมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1711 ครอบครัวของเขาเป็นคนชั้นสูง แต่ฐานะไม่สู่ดีนัก ฮิวม์มีนิสัยรักการเรียนอย่างยิ่ง ได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอดินเบอเรอ ครอบครัวของเขาสนับสนุนให้เรียนกฎหมาย ตัวเขาเองไม่ชอบ เขาสนใจวิชาปรัชญาและวรรณคดีมากกว่า เขาเสียชีวิต เมื่อ ค.ศ. 1776

ผลงาน ได้แก่

  1. A Treatise of Human Nature
  2. Philosophical Essays Concernings Human Understanding or An Enquiry Concerning Human Undestanding

พื้นฐานทางความคิดของฮิวส์
ฮิวส์เป็นนักปรัชญาประจักษ์นิยมที่สำคัญมากคนหนึ่ง ฮิวส์ยอมปรับปรุงวิธีการในปรัชญาให้มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ยิ่งขึ้น เขาต้องการสร้างศาสตร์เกี่ยวกับมนุษย์ เพื่อศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นวิธีที่จะแก้ปัญหาทั้งปวงของเอกภพ

เบิร์คเลย์ปฏิเสธสารที่เป็นวัตถุด้วยเหตุผลที่เราไม่เคยรับรู้มันมาก่อนจึงยืนยันความมีอยู่ของมันไม่ได้ เหลือเพียงสารที่เป็นวัตถุด้วยเหตุผลที่เราไม่เคยบอกให้เราทราบเลยว่ามีสารสองชนิดนี้อยู่ ฮิวส์โต้แย้งความคิดแบบเก่าอยู่ 3 เรื่องหลักคือ โต้แย้งความคิดติดตัว (innate idea) ความเข้าใจเรื่องความเป็นสาเหตุ (causality) ความสัมพันธ์ทางสาเหตุและผลสิ่งต่างๆ มันไม่ได้เกิดขึ้นในวัตถุจริงๆ แต่มันเกิดขึ้นในความคิดของเรา

เรื่องทางศาสนาการปฏิเสธความมีอยู่ของสารทั่งที่เป็นวัตถุและจิต และการปฏิเสธความสัมพันธ์ทางสาเหตุและผล นำไปสู่การปฏิเสธความมีอยู่ของพระเจ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เขาจึงถูกโจมตีว่าเป็นอเทวนิยม คือ คิดว่าพระเจ้าอาจจะมีอยู่หรือไม่ก็ได้ แต่ความรู้ของเราเข้าไปไม่ถึง

ทฤษฎีความรู้

ฮิวส์สนใจและพยายามวิเคราะห์คือเรื่องต้นกำเนิดของความรู้ ความรู้ได้มาโดยวิธีใดมีขอบเขตเพียงใด แบ่งออกได้ดังนี้

ต้นกำเนิดของความรู้
ความรู้ทุกอย่างมีต้นกำเนิดมาจากประสบการณ์ การรับรู้ (perception) แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับที่เป็นภาพประทับใจ (impression) กับระดับที่เป็นความคิด หรือมโนคติ (ideas) ความคิดที่เกิดจากการประสมประสานกันของสองความคิดขึ้นไปเรียกว่า ความคิดเชิงซ้อน (complex ideas) และความคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากภาพประทับใจนั้นเรียกว่า ความคิดเชิงเดี่ยว (simple ideas)

  • ความรู้เชิงเดี่ยว เช่น ม้าบิน ความคิดเชิงเดี่ยวจะมอง ม้า กับ ปีก
  • ความรู้เชิงซ้อน เช่น ม้าบิน ความคิดเชิงซ้อนจะมองแบบรวมเข้าด้วยกัน คือ ม้า กับ ปีก รวมเข้ากันเป็นม้าบิน หรือม้าติดปีก

การรวมกันอย่างเป็นระเบียบของความคิด เรียกว่า การจับกลุ่มของความคิด (association of ideas) ความคิดจะจับกลุ่มกันภายใต้กฎแห่งการรวมกัน 3 กฎ คือ

  1. กฎแห่งความคล้ายคลึงกัน (Law of resemblance)
  2. กฎแห่งความใกล้เคียงกันในเวลาและอวกาศ (Law of contiguity in time and space)
  3. กฎแห่งความเป็นสาเหตุ (Law of causality)

กฎเหล่านี้ตั้งอยู่บนฐานของการสังเกต อุปนิสัย และประเพณี คือเป็นสิ่งที่เราสังเกตได้ หรือเราคุ้นเคยจนเป็นนิสัย หรือประเพณี



ความแน่นอนของความรู้
ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. ความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางความคิด เป็นปฏิบัติภายในของจิต ความสัมพันธ์ที่เราคิดขึ้น ความรู้ประเภทนี้ได้แก่ ความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ เรขาคณิต ซึ่งอยู่ในความคิดของเรา ความสัมพันธ์อันนี้เป็นไปอย่างแน่นอนเสมอ
  2. ความรู้เกี่ยวกับข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ในธรรมชาติเป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์และเป็นความรู้ที่จะทำให้เราเข้าใจความเป็นไปของปรากฎการณ์ต่างๆ ในธรรมชาติ

การวิเคราะห์ความเป็นสาเหตุ
เบิร์คเลย์เป็นคนแรกที่กล่าวว่า เราไม่สามารถค้นพบสาเหตุ ประสิทธิภาพในวัตถุใดๆ เลย ฮิวส์เห็นด้วยเต็มที่และพยายามทำความเข้าใจปัญหานี้ โดยตั้งคำถามว่า อะไรเป็นต้นกำเนิดของความคิดเกี่ยวกับความเป็นสาเหตุ เนื่องจากความคิด เป็นสิ่งจำลองมาจากภาพประทับใจ แล้วเรามีภาพประทับใจเกี่ยวกับสาเหตุโดยตรงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่ นั่นคือ เราไม่เคยมีประสบการณ์โดยตรงเกี่ยวกับสาเหตุ แล้วความคิดเรื่องนี้เกิดขึ้นในจิตของเราได้อย่างไร

ฮิวส์กับวิธีการอุปนัย
ความจริงสากลเป็นสิ่งที่เชื่อถือไม่ได้ เพราะยืนยันไม่ได้ด้วยประสบการณ์ เรายืนยันได้ก็แต่ความจริงเฉพาะที่ผ่านการสังเกตของเรามาแล้วเท่านั้น ความรู้สากลจึงไม่มี มีแต่ความรู้เฉพาะ คือว่า การอุปนัยนั้นเป็นการสรุปที่ด่วนสรุปเกินไปโดยไม่ได้อยู่ที่ฐานของความจริงว่าเป็นเช่นนั้นหรือไม่ เช่น มีส้มอยู่กองหนึ่ง ชิมส้มหนึ่งลูกแล้วเหมารวมว่าส้มกองนี้หวาน หรือต้องมีลักษณะเหมือนลูกที่ชิมไป วิธีการอุปนัยจึงขาดความน่าเชื่อถือและขาดความสมเหตุสมผลทางตรรกวิทยา แต่ในทางปฏิบัติในชีวิตประจำวัน มันเป็นสิ่งที่ยังมีใช้กันอยู่อย่างขาดเสียมิได้

ความหมายของจิต
จิต (mind) และความสามารถทางจิต เป็นผลของการรวมกันของความคิดทั้งหลาย จิตเป็นคำที่ใช้หมายถึง ผลรวมของประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสหรือเป็นผลรวมของผัสสะทั้งหลาย ผัสสะถูกมัดรวมกัน โดยกฎแห่งการจับกลุ่ม 3 กฎ คือ กฎแห่งความคล้ายคลึง กฎแห่งความใกล้เคียงกันในเวลาและอวกาศ และกฎแห่งความเป็นสาเหตุ จึงจึงไม่ใช่สาร หรือตัวตน

ความรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก
ประสบการณ์ของเราเชื่อว่าสิ่งนอกตัวเรานั้นมีอยู่จริงๆ ความคิด (ideas) ของเราจำลองแบบมาจากภาพประทับใจ ข้อสรุปคือ ทุกอย่างที่เรารู้นั้นคือภาพประทับใจ และภาพประทับใจมีสภาวะเป็นอัตนัย คือความรู้ส่วนตัว สิ่งที่เรารู้ ภาพประทับใจจึงไม่อาจจะเป็นสิ่งที่นำมาเป็นข้อพิสูจน์ความเป็นจริงของสิ่งภายนอก ฮิวส์ยอมรับหลักการของเบิร์คเลย์ที่ว่า การมีอยู่คือการถูกรับรู้ แต่ฮิวส์ได้ตัดสิ่งที่เรียกว่า จิตอันเป็นนิรันดร ซึ่งคอยรับรู้สรรพสิ่งอยู่ตลอดเวลานั้นออกไป

ความมีอยู่ของพระเจ้า
ความคิดของเราจะไม่เกินเลยประสบการณ์ของเราเอง ทำให้ต้องสงสัยความมีอยู่ของพระเจ้า ฮิวส์คิดว่า การพยายามอ้างเหตุผลเพื่อพิสูจน์ว่าพระเจ้ามีอยู่นั้น มีพื้นฐานมาจากความเข้าใจเรื่องความเป็นสาเหตุ เช่น ข้อพิสูจน์จากการออกแบบ (argunent from design) ซึ่งมีอิทธิพลมากต่อพวกเทวนิยม คือ พวกที่เชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง ทรงเป็นผู้สร้างโลก

ข้อพิสูจน์จากการออกแบบนั้นเริ่มต้น จากการสังเกตของเราเกี่ยวกับระเบียบหรือกฎเกณฑ์ในธรรมชาติ จิต จัดให้เกิดขึ้นกับวัตถุ วัตถุไร้ความคิด (unthinking materials) ไม่สามารถจัดระเบียบให้ตัวเองได้

ระเบียบเป็นสิ่งที่ต้องการจิตเข้ามาจัดการ จิตที่ทำเช่นนี้เราเรียกว่าผู้จัดระเบียบประสบการณ์ของเราบอกเราว่า ไม่มีนาฬิกาเรือนใดหรือบ้านหลังใดที่เกิดขึ้นได้โดยไม่มีผู้สร้างมัน อนุมานไปยังการเกิดขึ้นของระเบียบในธรรมชาติ โดยเปรียบเทียบกับระเบียบที่มนุษย์สร้างขึ้น นั่นคือระเบียบในธรรมชาติก็จำเป็นต้องมีผู้จัดระเบียบในธรรมชาติก็คือพระเจ้า สำหรับฮิวส์ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน เพราะเรื่องราวการเปรียบเทียบทั้งหมดอยู่นอกประสบการณ์ หรือประสบการณ์ของมนุษย์เข้าไปไม่ถึง

จริยศาสตร์
พยายามทำให้วิชาจริยศาสตร์มีความแน่นอนเหมือนกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่กาลิเลโอ และนิวตันได้พัฒนาขึ้น คือจะต้องเป็นศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการสังเกตและการทดลอง

สิ่งที่ฮิวส์เห็นว่า สำคัญในจริยศาสตร์มาวิเคราะห์ให้เข้าใจ คือ ข้อตัดสินทางจริยธรรม (moral judgment) สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจากเหตุผลและข้อเท็จจริงจากอารมณ์ ได้แก่ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ (sympathy) ความรู้สึกพอใจไม่พอใจนี้เองเป็นตัวชี้ว่าการกระทำนั้นดีหรือเลว เป็นการสร้างข้อตัดสินจากอารมณ์หรือความรู้สึกซึ่งฮิวส์เรียกว่า ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ

ความยุติธรรม (justice) คือ การควบคุมตัวเองให้พอเหมาะกับการแทรกแซงจากคนอื่น หมายถึงการสร้างกรอบของความยุติธรรมบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทั้งของส่วนตัวและของสังคม และสร้างกรอบของความยุติธรรมขึ้น ความยุติธรรมจึงมีความหมายต่อเมื่อมีสังคมเท่านั้น

ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ ทำให้ความยุติธรรมมีคุณสมบัติเป็นคุณธรรม และความยุติธรรมมีคุณสมบัติเป็นความชั่วร้าย ไม่ใช่ผลประโยชน์ส่วนตัว แต่คือความรู้สึกเห็นอกเห็นใจมากกว่า

ฮิวส์ ข้อตัดสินทางจริยธรรม ต้องขึ้นอยู่กับอารมณ์และเหตุผล คือข้อเท็จจริงทั้งภายนอกและภายในตัวเรา ส่วนความยุติธรรม เป็นการผสมผสานกันระหว่าง ผลประโยชน์ส่วนตัวและความรู้สึกเห็นอกเห็นใจผู้อื่นเป็นสำคัญ

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย