ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์
ยอร์ช เบร์คเลย์
1685 1753
เป็นนักปรัชญาชาวไอร์แลนด์ที่มีอิทธิพลสูงคนหนึ่ง
โดยผลงานด้านปรัชญาของเขาที่สำคัญได้แก่แนวคิดจิตนิยมอัตวิสัย
ซึ่งสามารถสรุปได้ด้วยประโยคของเบิร์คเลย์ที่ว่า "Esse est percipi"
("การเป็นอยู่คือการถูกรับรู้") โดยพื้นฐานแล้ว
ทฤษฎีดังกล่าวอธิบายว่าสสารนั้นไม่มีจริง
ทุกอย่างนั้นล้วนแต่เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในจิตเท่านั้น.
เขาเขียนผลงานออกมาหลายชิ้น ชิ้นที่มีผู้อ่านอย่างกว้างขวางคือ
บทความว่าด้วยหลักการพื้นฐานของความรู้ของมนุษย์ และ บทสนทนาสามบทระหว่างเฮลาส
และฟิโลนูอัส (ฟิโลนูอัส ผู้รักในจิต เป็นตัวแทนของเบิร์คเลย์). ในปี ค.ศ. 1734
เขาได้ตีพิมพ์ บทวิเคราะห์ ซึ่งเป็นบทวิพากษ์รากฐานของวิทยาศาสตร์
ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของคณิตศาสตร์ในเวลาต่อมา
พื้นฐานทางความคิด
นักปรัชญาที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเบิร์คเลย์คือ จอห์น ล็อค
ปรัชญาของล็อคมีลักษณะใกล้เคียงกับความเชื่อความสามัญสำนึก
เบิร์คเลย์พยายามแก้ปัญหาบางประการของล็อค โดยเน้นความเป็นประจักษ์ให้มากขึ้น
จนกระทั่งปรัชญาของเบิร์คเลย์เอง ได้ผันแปรไปจากสามัญสำนึกเป็นอย่างมาก
ระบบปรัชญาของเบิร์คเลยส่วนหนึ่งมุ่งที่จะลบล้างความคิดของลัทธิวัตถุนิยมหรือสสารนิยม
ซึ่งนำสู่การไม่ยอมรับศาสนาขึ้น
การปฏิเสธความมีอยู่ของสาร
เบิร์คเลย์เสนอปรัชญาว่า
ไม่มีความเป็นจริงที่เป็นสสารซึ่งอยู่นอกการรับรู้ของเรา
โลกภายนอกเป็นโลกที่มีสภาพเป็นจิตเหมือนกับจิตของเรา ความจริงจึงประกอบด้วยจิต
และสภาวะของจิตเท่านั้น โลกภายนอกเป็นโลกที่เรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น
ไม่ได้มีอยู่ด้วยตัวมันเอง แต่มีอยู่ในฐานะที่เป็นความคิด
การมีอยู่คือการถูกรับรู้ (to be is to be perceived) ความมีอยู่ของวัตถุหรือสสาร ขึ้นอยู่กับการถูกการรับรู้ ถูกรับรู้โดยจิต มันจึงจะมีอยู่ได้ ความมีอยู่ของมันก็มีอยู่ในฐานะที่เป็นจิตของผู้รับรู้ เบิร์คเลย์ให้พิจารณาถึงความมีอยู่ มันมีอยู่ นั่นคือ พระเจ้า คำว่า มีอยู่ ไม่ได้มีความหมายอย่างอื่น นอกจากความที่ว่า ถูกรับรู้ เราไม่สามารถจะรู้ว่าสิ่งมีอยู่ ขณะที่จิตของเราไม่ได้รับรู้สิ่งนั้น
เบิร์คเลย์คิดว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะคิดถึงสิ่งใด ๆ โดยไม่ให้มีความสัมพันธ์กับจิตของผู้คิด เราไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความคิดของเราเอง ความคิดของเบิร์คเลย์ได้รับการวิจารณ์อย่างรุนแรงโดยดอกเตอร์แซมวล จอห์นสัน เบิร์คเลย์กล่าวว่า การมีอยู่คือการรับรู้ สาร (substance) วัตถุหรือสสารนั้น เบิร์ดเลย์เรียกว่า ความคิด (ideas)
วิทยาศาสตร์กับความคิดนามธรรม
วิทยาศาสตร์มีสมมุติฐานว่า เราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างปรากฏการณ์กับความเป็นจริงออกจากกัน ทะเลปรากฏเป็นสีฟ้าแต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่สีฟ้า
นักฟิสิกส์ทำให้วิทยาศาสตร์สับสน โดยนำเอาอภิปรัชญา เข้ามาปนกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้คำจำพวก แรง แรงดึงดูด แรงโน้มถ่วง และคิดว่าคำเหล่านี้แทนคุณสมบัติทางกายภาพที่มีอยู่จริงๆ บางอย่าง เช่นการพูดถึงอนุภาคขนาดเล็กว่าการเคลื่อนไหวของมัน ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของมัน ทำให้เกิดคุณสมบัติที่เป็นสีก็เป็นการดึงเข้าสู่การวิเคราะห์เชิงเหตุผล สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ทำให้เบิร์คเลย์ยุ่งยากก็คือ นักวิทยาศาสตร์ใช้คำที่เป็นนามธรรมหรือ คำทั่วไปราวกับว่าคำเหล่านั้น มันแสดงถึงสิ่งที่มีอยู่จริงๆ นอกความคิด
เบิร์คเลย์ไม่ได้ทำลายวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ปฏิเสธความมีอยู่ของสิ่งนอกจิต และต้องการให้นักวิทยาศาสตร์ใช้ภาษาให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
พระเจ้าและความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ
เบิร์คเลย์ก็ไม่ได้ปฏิเสธความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ และกฎเกณฑ์ของสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ จิต คือ พระเจ้า สิ่งต่างๆ จึงมีอยู่ในฐานะเป็นสิ่งถูกรู้โดยพระเจ้า สิ่งต่างๆ มีอยู่ในสภาพที่เป็นความคิดของพระเจ้า ความมีอยู่ของสิ่งทั้งหลายขึ้นอยู่กับความมีอยู่ของพระเจ้า พระเจ้าเป็นสาเหตุของกฎเกณฑ์ต่างๆ ในธรรมชาติ
เบิร์คเลย์ เชื่อมั่นว่า หลักการของเขาที่ว่า การมีอยู่คือ การรับรู้ (esse est percipi) ได้ทำลายฐานะของปรัชญาสสารนิยมและวิมัตินิยมทางศาสนา ลงอย่างได้ผล