ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์
บารุค สปิโนซา
เบเนดิคตัส เดอ สปิโนซา (24 พ.ย. ค.ศ. 1632 (พ.ศ. 2175) - 21 ก.พ. ค.ศ. 1677
(พ.ศ. 2220) ได้ชื่อว่า บารุค สปิโนซา (หรือชื่อในภาษาลาตินของเขาคือ เบเนดิก)
จากผู้อาวุโสชาวยิว และเป็นที่รู้จักในชื่อ เบนโต เดอ สปิโนซา หรือ เบนโต เอสปิโนซา
ในชุมชนที่เขาได้เติบโตขึ้น เรอเน เดส์การตส์ กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ และสปิโนซา
เป็นนักเหตุผลนิยมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปรัชญาคริสต์ศตวรรษที่ 17
เขาได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้ริเริ่มการวิพากษ์เกี่ยวกับไบเบิล
ผลงานชิ้นสำคัญของเขาคือหนังสือ จริยศาสตร์
สปิโนซา เกิดที่เมืองอัมสเตอร์ดัม ในปี 1632
พ่อแม่เป็นชาวฮอลแลนด์ที่มีเชื้อสายยิว
เข้าเรียนที่โรงเรียนของชาวยิวที่เมืองอัมสเตอร์ดัม
ที่ซึ่งท่านได้เรียนรู้ข้อคำสอนต่าง ๆ ของชาวยิว รวมไปถึงปรัชญาของชาวยิวอีกด้วย
การที่ท่านได้เรียนปรัชญาของชาวยิวนี้เอง ทำให้ท่านปฏิเสธความคิดของกลุ่มชาวยิว
ท่านได้เรียนและให้ความสนใจกับลัทธิเหตุผลนิยมและวิธีการทางคณิตศาสตร์มากเป็นพิเศษ
ทำให้ความคิดของท่านแตกต่างไปจากนักเรียนชาวยิวคนอื่น ๆ
และในที่สุดท่านก็ไม่ได้รับการยอมรับจากบรรดาชาวยิว
และถูกขับไล่ในจากศาลาธรรมของชาวยิวในปี 1965 โดยข้อหาสอนคำสอนที่ผิดไปจากศาสนายิว
หลังจากที่ถูกขับไล่ ท่านได้ย้ายไปอยู่ทางตอนใต้ของฮอลแลนด์
ที่นั่นเองที่ท่านได้ตั้งระบบความคิดของท่าน
และในที่สุดท่านก็สิ้นชีวิตที่เมืองแห่งนี้เอง ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1677
อย่างสงบและเรียบง่าย
- ผลงานที่สำคัญได้แก่ Tractatus theologico-politicus พิมพ์ในปี 1670
- Ethica ordine geomtrioo demonstrate เรียกสั้นๆ ว่า Ethice
วิธีการคิดของสปิโนซา
สปิโนซาได้รับอิทธิพลมาจากปรัชญาเหตุผลนิยมของเดส์การ์ตส์
โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิธีการ และปัญหาสำคัญบางประการในปรัชญาและได้เสนอแนวคิดใหม่ๆ
หลายอย่างแก่ปรัชญาเหตุผลนิยม
สปิโนซาคิดว่าเราสามารถรู้ความเป็นจริงได้อย่างแน่นอนชัดเจน
โดยวิธีการเดียวกับวิธีการทางเรขาคณิต เดส์การ์ตส์ได้สร้างแบบแผนการคิดในปรัชญา
โดยเริ่มจากหลักการที่ชัดเจ้งแน่นอน แล้วทำการนิรนัยจากหลักการไปสู่ความรู้อื่นๆ
สปิโนซาจัดระบบให้สมบูรณ์โดยอาศัยหลักการและสัจพจน์จำนวนหนึ่ง
มีลักษณะเหมือนเรขาคณิต เขาสร้างระบบเรขาคณิตให้แก่ปรัชญา คือ
มีกลุ่มของสัจพจน์และทฤษฎีบท สามารถอธิบายความเป็นจริงทั้งหมดได้อย่างเป็นระบบ
เหมือนกับที่เรขาคณิตอธิบายความสัมพันธ์ของมโนภาพ
ในเรขาคณิตนั้นข้อสรุปสามารถพิสูจน์ได้ด้วยเหตุผล
สปิโนซาคิดว่าทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของความจริงก็สามารถพิสูจน์ได้
สปิโนซาไม่เห็นด้วยที่ว่านิยายของเขาเป็นเพียงคำพูด เขาเชื่อว่าอำนาจแห่งเหตุผลของเราสามารถสร้างความคิดสะท้อนให้เห็นความจริงของสิ่งต่างๆ ได้
สปิโนซาเริ่มต้นวิธีการของเขาต่างจากเดส์การ์ตส์และนักปรัชญาสมัยหกลาง ซึ่งเรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสแล้วโยงไปถึงการพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า ขณะที่เดส์การ์ตส์เริ่มจากการพิจารณาความมีอยู่ของตัวเอง แล้วอ้างเหตุผลต่อไปถึงความมีอยู่ของพระเจ้าและโลกภายนอกตามลำดับ
ความคิดเกี่ยวกับพระเจ้า
สปิโนซา เสนอความคิดเกี่ยวกับพระเจ้าแตกต่างจากนักปรัชญาอื่นๆ คือคิดว่าพระเจ้าคือจักรวาลทั้งจักรวาล พระเจ้าเป็นทุกสิ่งหรือทุกสิ่งคือพระเจ้านี่เป็นความคิดแบบสรรพเทวนิยม
สปิโนซาด้ให้ความคิดที่เป็นสรรพเทวนิยมที่ต่างออกไป คือเขาไม่ได้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ในลักษณะดังกล่าวในไบเบิล เขาถือว่า พระเจ้ากับมนุษย์เป็นเอกภาพหรือความเป็นหนึ่งเดียว อะไรก็ตามที่ดำรงอยู่ ต้องดำรงอยู่ในพระเจ้า และไม่มีอะไรจะอยู่ได้หรือถูกคิดถึงได้โดยปราศจากพระเจ้า
พระเจ้าและโลกในฐานะที่เป็นอัญรูป
สปิโนซาไม่ได้คิดว่าพระเจ้ากับโลกเป็นสิ่งที่แตกต่างกันและแยกกัน สิ่งหนึ่งเป็นสาเหตุ สิ่งหนึ่งเป็นผล ไม่ได้อธิบายว่าพระเจ้าเป็นสาเหตุที่เป็นอสสารและโลกเป็นผลที่เป็นสสาร เขาคิดว่าสารมีเพียงหนึ่งเดียว เรียกว่าพระเจ้าหรือธรรมชาติ แต่สปิโนซาก็ได้แยกธรรมชาติออกเป็นสองลักษณะ nuture naturans หมายถึง สารและคุณลักษณ์ของสาร หมายถึงพระเจ้าในลักษณะที่พระองค์ทรงกระทำตามพระประสงค์โดยธรรมชาติของพระองค์ nutura naturata หมายถึง ทุกสิ่งที่เกิดจากความจำเป็นของธรรมชาติของพระเจ้าเอง เป็นการแสดงตัวออกมาของคุณลักษณ์ของพระเจ้า และถ้าปราศจากพระเจ้าก็อยู่ไม่ได้
โลกประกอบด้วย อัญรูป ของคุณลักษณ์ของพระเจ้า คือ สิ่งต่างๆ ที่ปรากฏอยู่นั่นเอง สิ่งเหล่านั้นจะดำเนินไปด้วยความจำเป็น คือมันถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว ความคิดและการกินที่จึงเป็นสิ่งที่ถูกกำหนดไว้แล้วโดยพระเจ้า
มนุษย์ไม่มีอิสรภาพ เพราะมนุษย์คือรูปลักษณ์ของคุณลักษณ์ของพระเจ้า คือเป็นอัญรูปหนึ่งของพระเจ้า มนุษย์จึงถูกกำหนดให้ดำรงอยู่และประพฤติโดยพระเจ้า สิ่งที่เป็นอัญรูปของพระเจ้านั้นล้วนถูกกำหนดไว้แล้วอย่างเป็นนิรันดร์
ทฤษฎีความรู้
ทฤษฎีความรู้ก็คือปัญหาที่ว่า จะรู้ธรรมชาติของความเป็นจริงสูงสุดได้อย่างไร สปิโนซา อธิบายว่า ความรู้ของมนุษย์นั้นมีอยู่ 3 ระดับ คือ
- ความรู้จากจินตนาการ เป็นความรู้ขั้นธรรมดาที่ความคิดของคนเราได้มาจากประสาทสัมผัส เช่น การมองเห็น การได้ยิน
- ความรู้จากเหตุผล เป็นการก้าวพ้นไปจากจินตนาการไปสู่เหตุผลความรู้ระดับนี้กล่าวได้ว่าเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มนุษย์ทุกคนสามารถรู้ร่วมกันเป็นการรู้จักสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ อย่างเป็นระบบ
- ความรู้จากอัชฌัตติกญาณ คือความรู้สามารถเข้าถึงระบบของธรรมชาติได้ทั้งหมด ความรู้ระดับนี้ทำให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ได้โยความเข้าใจเองโดยความคิดของเราเอง
ความสัมพันธ์ระหว่างจิตกับร่างกาย
เดส์การ์ตส์ได้เสนอความคิดว่า
จิตกับร่างกายเป็นสารคนละชนิดและมีความสัมพันธ์กัน
ความคิดของเดส์การ์ตส์เป็นแบบทวินิยม สำหรับสปิโนซาแล้ว ทวินิยมแบบเดส์การ์ตส์หมดไป
เพราะเห็นว่าจิตและร่างกายต่างก็เป็นผลของการแสดงออกของสารสูงสุดอันเดียว
สารสูงสุดหรือพระเจ้าจะแสดงตัวออกเป็นจิตทางหนึ่งและแสดงออกเป็นร่างกายอีกทางหนึ่ง
มนุษย์เป็นอัญรูปอย่างหนึ่งของพระเจ้า
พระองค์แสดงคุณลักษณ์ออกมาเป็นมนุษย์ที่มีสองลักษณะ คือ ความคิด เรียกว่า จิต และ
การกินที่ ซึ่งเรียกว่าร่างกาย ไม่สามารถแยกจิตกับร่างกายออกจากกันได้
สำหรับสปิโนซา
ไม่มีความจำเป็นที่จะอธิบายว่าจิตกับร่างกายมีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่เดส์การ์ตส์อธิบาย
เพียงชี้ให้เห็นว่าจิตกับร่างกายเป็นการแสดงออกสองลักษณะของสารอันเดียว เรียกว่า
ทฤษฎีสองลักษณะ (Double-Aspects Theory)
จริยศาสตร์
มองพฤติกรรมของมนุษย์ว่า เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ
พฤติกรรมของมนุษย์นั้น สามารถอธิบายในรูปที่เป็นสาเหตุและผล
สาเหตุทุกการกระทำถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้วมนุษย์จึงไม่มีอิสระในการเลือกพฤติกรรมของตน
ความคิดแบบนี้เรียกว่า นิยตนิยม (Determinism) สปิโนซา อธิบายว่า
มนุษย์มักจะหลงผิดคิดไปว่า ตัวเองมีเสรีภาพ สามารถเลือกทำสิ่งใดๆ ได้ตามใจปรารถนา
ความคิดนี้เกิดจาก การตกเป็นเหยื่อของความไม่รู้ และเป็นทาสของอารมณ์ คือ ความรัก
โกรธ เกลียด เป็นต้น พฤติกรรมต่างๆ
ของมนุษย์จะถูกกำหนดไว้แล้วและมนุษย์ไม่สามารถควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆ ได้
มนุษย์จะตกเป็นทาสของกิเลสได้เมื่อความต้องการของเราไปยึดติดอยู่กับสิ่งที่ไม่ยั่งยืน
และเราไม่เข้าใจอารมณ์ของเราเอง สปิโนซาคิดว่า เรายิ่งเข้าใจอารมณ์ของเรามากเท่าไร
ตัณหาหรือความต้องการของเรายิ่งลดน้อยลงเท่านั้น
จิตของเรามีอำนาจยิ่งใหญ่เหนืออารมณ์
ตราบใดที่เรารู้ว่าสรรพสิ่งดำเนินไปอย่างจำเป็น
กิเลสจะเอาชนะเราได้ก็ต่อเมื่อเราขาดความรู้ โดยเฉพาะความรู้อัชฌัตติกญาณ
สปิโนซา อธิบายเรื่องความดีความชั่วว่า เป็นเพียงความพอใจและไม่พอใจ
หรือความเจ็บปวด สิ่งที่ดีก็คือสิ่งที่เราพอใจ หรือเป็นสิ่งที่เราชอบ เราต้องการ
สิ่งที่เลวคือสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่มีอะไรดี-เลวในตัวมันเอง
ค่าของความดีความเลวจึงเป็นค่าแบบอัตนัย
ความคิดทางจริยศาสตร์ของสปิโนซามีลักษณะใกล้เคียงกับศาสน