ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ฟรานซิส เบคอน
เรอเน เดสการ์ตส์
บารุค สปิโนซา
กอทฟริด วิลเฮล์ม ไลบ์นิส
ยอร์ช เบร์คเลย์
เดวิด ฮิวส์
โธมัส ฮอบส์
จอห์น ล็อก
อิมมานูเอิล คานท์
ย็อช วิลเฮลม ฟริดริช เฮเกล
ฟริดริค นิตเช่
ฌอง ปอล ซาร์ตร์
เซอเรน เคียร์เคอกอร์
ฟรานซิส เบคอน
ฟรานซิส เบคอน เกิดวันที่ 22 มกราคม ค.ศ.1561 ที่ยอร์ค เฮาร์ กรุงลอนดอน
ประเทศอังกฤษ เกิดในตระกูลผู้ดีมีตำแหน่งทางการเมือง เข้าศึกษาที่ Trinity College
แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่ออายุ 12 ปี เรียนอยู่ได้ 3 ปี
แล้วออกไปเพราไม่ชอบวิธีการเรียนและหนังสือเรียน
ได้แสดงความคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออริสเติล และปรัชญาอัสมาจารย์
เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะทูตอังกฤษประจำประเทศฝรั่งเศสเมื่ออายุได้ 16 ปี
ปี ค.ศ.1583 ขณะนั้นอายุได้ 23 ปี เขาก็ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา
และได้รับเลือกอีกหลายสมัย
เบคอนเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลมและมีความคมคาบทางการพูดมาก ค.ศ.1617
ได้รีบตำแหน่งผู้เก็บรักษาดวงตราสืบแทนบิดา และในปี ค.ศ.1618 ได้รับแต่งตั้งเป็น
อัครมหาเสนาบดี ปี ค.ศ.1621 เขาถูกกล้าวหาว่ารับสินบนจากคู่ความ
เขาแก้ว่าเป็นของกำนัล จำคุกและปลดออกจากตำแหน่ง เสียชีวิตลงขณะทำการทดลอง ในปี
ค.ศ.1626 เมื่ออายุได้ 65 ปี
งานเขียนที่สำคัญของเบคอน ได้แก่
- The Advancement of Learning
- Novam Organum
- New Atlantis
ข้อวิจารณ์ปรัชญาและวิธีการศึกษาแบบเก่า
เบคอนเป็นนักปรัชญาผู้บุกเบิกความคิดแบบประจักษ์นิยมในอังกฤษ
มีความเห็นขัดแย้งกับนักปรัชญารุ่นก่อนๆ เป็นส่วนมาก เห็นว่า
ปรัชญาในอดีตไม่ได้ให้อะไรที่เป็นประโยชน์แก่เรามากนัก
วิธีการของอริสโตเติลครอบงำความคิดของนักปรัชญารุ่นหลังเสียเป็นส่วนใหญ่
เบคอนโจมตีความคิดและวิธีการทางปรัชญาแบบเก่าๆ
ที่ครอบงำระบบความรู้ของคนในสมัยนั้นได้ 3 ประเด็นสำคัญคือ
- วิธีการตรรกวิทยาที่พวกอัสสมาจารย์ใช้ เป็นตรรกวิทยานิรนัย
- ศาสนาและเทววิทยาที่ได้แนวคิดและเหตุผลต่างๆ มาจากปรัชญาของเพลโต้และอริสโตเติลมาสนับสนุน
- อภิปรัชญาของพวกเล่นเวทมนตร์ และพวกเล่นแร่แปรธาตุ ตลอดจนนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์สมัยฟื้นฟู
เขาเห็นว่าความคิดและวิธีการเหล่านี้จะต้องถูกขจัดออกไป แล้วฟื้นฟูปรัชญาขึ้นมาใหม่ โดยเริ่มจากจิตที่ไร้สิ่งครอบงำ ทำการชำระล้างสติปัญญาให้สะอาด ความรู้จะไม่ถูกบิดเบือน
- ประเด็นที่หนึ่ง เขาเสนอตรรกวิทยาอุปนัย วิธีการอุปนัยจะช่วยให้สามารถขยายขอบเขตของความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ซึ่งวิธีการนิรนัยไม่เคยช่วยได้เลยในเรื่องนี้
- ประเด็นที่สอง ควรแยกปรัชญาออกจากศาสนาและเทววิทยาไม่ใช่ปนกันอย่างแยกไม่ออก
เบคอนเห็นว่าความจริงมีสองระดับ คือ
ความจริงจากเหตุผลกับความจริงจากการเปิดเผยของพระเจ้า
เรื่องราวในศาสนาและเทววิทยาจะรู้ได้ก็โดยอาศัยการเปิดเผยของพระเจ้า
ส่วนปรัชญาตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล ปรัชญาแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนทฤษฎี
ซึ่งศึกษาเรื่องของสสารที่ปรากฏในธรรมชาติ และอภิปรัชญา
ส่วนที่เป็นปฏิบัติคือการนำความรู้จากทฤษฎีมาใช้ให้เป็นประโยชน์
เรื่องศาสนา ศาสนาแบ่งเป็นสองชนิดคือ ศาสนาธรรมชาติ
และศาสนาจากการเปิดเผยของพระเจ้า ศาสนาธรรมชาติ ศึกษาความรู้แขนงอื่นๆ องมนุษย์
ศาสนาจากากรเปิดเผย เป็นเรื่องของศรัทธาซึ่งอยู่เหนือเหตุผล
เบคอนพยายามจะแยกเหตุผลออกจากศรัทธา
เบคอน ถือว่า ความรู้คืออำนาจ
คือเราสามารถนำความรู้มาปรับปรุงภาวะความเป็นอยู่ของมนุษย์ให้ดีขึ้น
โดยอาศัยวิทยาศาสตร์ มนุษย์สามารถควบคุมธรรมชาติมีอำนาจเหนือธรรมชาติ
เชื่อว่าการจะทำเช่นนี้ให้เป็นผลสำเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือกัน
มีการก่อตั้งสถาบัน และแถลงผลงานให้ง่ายและชัดเจน
การศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ เน้นเรื่องการสังเกตและการทดลอง
วิธีการศึกษามีอยู่ 3 แบบ คือ การศึกษาแบบเพ้อฝัน
เป็นการผูกมัดตัวเองกับถ้อยคำสำนวน ยึดตำราเน้นเรื่องภาษาและลีลา
เป็นการติดตามคำพูดและเลือกสำนวนมากกว่าน้ำหนักของเนื้อหา การศึกษาแบบโต้เถียง
คือการเริ่มต้นจากทัศนะที่ตายตัวที่ได้มาจากนักคิดรุ่นก่อนๆ
ท้ายสุดการศึกษาแบบละเอียด เป็นการติดตามความรู้ของนักเขียนรุ่นก่อนๆ
ซึ่งประกาศความรู้ไว้
อคติ 4 ประการ ที่ครอบงำจิตมนุษย์
วิธีการศึกษาที่ได้ผลต้องอาศัยการสังเกตและทดลองเป็นหลัก
โดยตรรกวิทยาแบบอุปนัยเป็นเครื่องมือ จิตมนุษย์มีสมรรถภาพหลักอยู่ 3 ประการคือ
ความจำ จินตนาการ และความสามารถในการใช้เหตุผล
สมรรถภาพเหล่านี้จะเสื่อมลงเมื่ออคติเข้าครอบงำ
อคติทั้งหลายที่มีอิทธิพลทำให้ความรู้ของมนุษย์ผิดพลาดได้นั้น เบคอนเรียกว่า เทวรูป
ซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท
- เทวรูปแห่งเผ่าพันธุ์ อคติที่ฝังลึกในธรรมชาติของมนุษย์ เป็นอคติประจำเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ได้รับการถ่ายทอดสืบกันมาช้านาน เกิดจากการยึดมั่นในประสาทสัมผัส คือยึดมั่นจนเกินไปว่าประสาทสัมผัสจะช่วยให้รับรู้ความจริงอย่างตรงไปตรงมา เกิดจากความเชื่อมั่นในการตัดสินแบบอัตนัย การตัดสินอะไรเรามักเอาความรู้สึก ความชอบ ความพอใจเข้ามาตัดสิน “มนุษย์เป็นเครื่องวัดสรรพสิ่ง”
- เทวรูปแห่งถ่ำ เป็นอคติส่วนตัวของแต่ละบุคล ซึ่งแตกต่างกันไปตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม อันได้แก่ การศึกษา การอ่าน การสนทนา
- เทวรูปแห่งตลาด เกิดจากการใช้ภาษาเพื่อที่ติดต่อสื่อสารกัน ภาษาเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อใช้สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
- เทวรูปแห่งโรงละคร เกิดขึ้นจากการยอมรับเอาระบบความคิดมาจากระบบปรัชญาเก่าๆ ที่ไม่ถูกต้องและการรับมาก็เป็นการรับมาแบบง่ายๆ ไม่ใส่ใจจะไตร่ตรองให้ถ้วนถี่
วิธีการอุปนัย
สาเหตุที่ทำให้ความรู้ของมนุษย์ไม่ก้าวหน้า
เกิดจากการใช้วิธีการแสวงหาความรู้ที่ไม่ถูกต้อง นั้นคือ
การนิรนัยหรือตรรกวิทยานิรนัย
- วิธีการนิรนัย เป็นวิธีการอ้างเหตุผลโดยการดึงเอาความจริงที่แฝงอยู่ในความรู้เดิม ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ให้ปรากฏออกมาอย่างชัดเจน
- วิธีการอุปนัย เป็นการอ้างเหตุผลโดยอาศัยประสบการณ์จากการสังเกต หรือทดลองปรากฏการณ์หลายๆ ครั้ง ผลที่ได้ซ้ำ ๆ กันก็สรุปเป็นกฎทั่วไป